เจ๋งสุดๆ นศ.วิศวะฯ บางมด ประดิษฐ์ 'ทางเดินแม่เหล็กเพื่อคนตาบอด' จากถ่านไฟฉายเก่า
นศ.วิศวะฯ บางมด ประดิษฐ์ 'ทางเดินแม่เหล็กเพื่อคนตาบอด' จากถ่านไฟฉายเก่า ทำงานคู่กับไม้เท้า บอกจุดเสี่ยงบนทางเท้าได้ -@tonkumchoke
นางสาวแพรวา ฐานนันทน์, นายสาธิต ประทีปธีรานันต์ และนายสิริวัช ทนงศักดิ์
3 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เกิดแนวคิดในการหาวิธีใช้ประโยชน์จากถ่านไฟฉายที่เสื่อมสภาพมาผลิตสารแม่เหล็ก หรือ เฟอโรแมกเนติกขึ้น แล้วนำสารดังกล่าวมาฉาบหรือเคลือบลงบนผิวอิฐทางเท้าเพื่อใช้เป็น “ทางเดินแม่เหล็ก” ให้กับผู้พิการทางสายตา ซึ่งประโยชน์ต่อสังคมแทนการปล่อยให้ทิ้งเป็นขยะพิษ
นายสิริวัช ทนงศักดิ์
กล่าวเสริมว่า ทางกลุ่มฯได้จำลองอิฐบล็อก และไม้เท้าขึ้น เพื่อทดสอบแรงดูด โดยได้จำลองอิฐบล็อคในขนาดความกว้าง 10 ซม. ยาว 20 ซม. และหนา 3 ซม.ซึ่งเป็นขนาดใกล้เคียงกับอิฐมาตรฐานทางเท้า โดยนำอิฐที่จำลองมาฉาบผิวหน้าด้วยสารแม่เหล็กที่พัฒนาขึ้นเคลือบลงบางๆในปริมาณ 3 กรัม ส่วนแม่เหล็กที่ติดปลายไม้เท้าจะมีสนามแม่เหล็กที่อยู่ระดับสูงกว่าอิฐแม่เหล็ก เมื่อสัมผัสกับผิวอิฐ ไม้เท้าจะถูกดูดด้วยสารแม่เหล็กที่พัฒนาขึ้นบนแผ่นอิฐทางเท้า ในระดับที่ผู้พิการทางสายตารับรู้ได้ แต่อิฐแม่เหล็กจะไม่ดูดแผ่นแม่เหล็กที่มีสนามแม่เหล็กต่ำๆ ไม่ว่าจะเป็นแมคเน็ทหรือที่ติดตู้เย็น บัตร
ผศ.ดร.ธิดารัตน์ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา ยังได้กล่าวถึงประโยชน์ของผลงานชิ้นนี้ว่า
ถ่านไฟฉายนั้นเป็นแหล่งจ่ายพลังงาน แต่เมื่อเสื่อมสภาพแล้ว ถ่านไฟฉายยังคงมีสารที่มีประโยชน์ เช่น ออกไซต์ของซิงค์ และแมงกานิส หากเติมออกไซต์ของเหล็กเข้าไปเพิ่ม จะสามารถสังเคราะห์สารที่เรียกว่า “เฟอรร์โรแมกเนติก” หรือสารแม่เหล็ก จึงมีแนวคิดในเรื่องของการกำจัดถ่ายไฟฉายที่เสื่อมสภาพ ผนวกเข้ากับเรื่องของผู้พิการทางสายตา ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้ได้ประยุกต์ใช้สารแม่เหล็กดังกล่าวมาทำทางเดินแม่เหล็ก ที่สามารถนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อให้เขาสามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได้โดยไม่สะดุด
การทำโครงงานของนักศึกษาด้วยโจทย์ดังกล่าวนอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้การฝึกทักษะการเป็นวิศวกรแล้วจะต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะหัวใจหลักของวิศวกรสิ่งแวดล้อม คือ ต้องมองหาส่วนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในของเสียแล้วแยกส่วนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ออกมา พร้อมกับลดความเป็นพิษของส่วนที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งก็จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาดังเช่นผลงานทางเดินแม่เหล็กจากถ่านไฟฉายที่เสื่อมสภาพดังกล่าว
สำหรับผลงานชิ้นนี้ได้มีการนำไปทดสอบกับผู้พิการทางสายตาที่โรงเรียนสอนคนพิการตาบอดกรุงเทพซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นี้เป็นประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตาและสนใจจะนำมาทดสอบกับพื้นทางเดินภายในโรงเรียนโดยรอบต่อไปเมื่อผลงานแล้วเสร็จสมบูรณ์
ผลงานชิ้นนี้ยังได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เข้าร่วมประกวดนวัตกรรมในงาน Taipei International Invention Show and Technomart หรือ INST 2015ที่ไต้หวัน ระหว่างวันที่ 30 ก.ย.- 4 ต.ค.2558
เครดิต บัตรเอทีเอ็ม ในกรณีที่บัตรอิเลคโทรนิกส์ตกลงบนพื้นทางเดินที่เคลือบสารดังกล่าว จะไม่ทำให้ข้อมูลในบัตรสูญหายแต่อย่างใด นอกจากนี้สนามแม่เหล็กของทางเดินแม่เหล็กจะไม่รบกวนคลื่นโทรศัพท์