ประเภทของความงมงาย
.
ความงมงายสามารถจัดเป็นประเภทได้หลายแบบ
ก. แบ่งตามขนาดจำนวนคน
1) ความงมงายระดับรัฐ เช่น ผู้ปกครองของรัฐโฆษณาชวนเชื่อจนทำให้ทั้งรัฐเชื่อว่าชาติเรามีเทพประจำชาติคุ้มครอง เราเป็นชาติที่สูงส่งเหนือชาติใด เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ของเรามีเอกลักษณ์พิเศษต่างจากเชื้อสายมนุษย์อื่นๆ เป็นชาติที่เป็นเชื้อสายหรือลูกหลานของเทพบางองค์ หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาติเราเหนือกว่าใครหรือช่วยปกป้องชาติไว้ได้ ฯลฯ
2) ความงมงายระดับกลุ่มคน - เป็นความเชื่อของกลุ่มคนบางกลุ่มหรือกลุ่มความเชื่อ เช่น กลุ่มศาสนา นิกาย กลุ่มลัทธิ ตัวอย่างเช่น กลุ่มความเชื่อไสยศาสตร์ กลุ่มความเชื่อทางโหราศาสตร์ กลุ่มความเชื่อเรื่องการถอดจิตขึ้นสวรรค์ ถอดจิตระลึกชาติ กลุ่มความเชื่อเรื่องเข้าทรง
3) ความงมงายส่วนบุคคล - เป็นความเชื่อส่วนตัวของศาสนิกบางคน แม้ว่าศาสนาของตนไม่ได้สอนเช่นนั้น คนรอบตัวก็ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น แต่ส่วนตัวเขาเชื่อ เช่น เชื่อว่าชาติก่อนของตนเองเป็นคนนั้นคนนี้ หรือว่าเชื่อว่าตนเองมีองค์(เทพ)อยู่ในตัว เป็นต้น
4) ความงมงายระดับข้ามรัฐ เป็นความงมงายร่วมของหลายๆรัฐ และหลายๆชาติพันธุ์ร่วมกัน เช่น ความเชื่อในศาสนาใหญ่ๆที่แพร่ไปทั่วโลก ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลายชาตินับถือร่วมกัน ความเชื่อโชคลางบางอย่างที่หลายชาตินับถือร่วมกัน เช่น ถือเรื่องอาถรรพ์เลข 13
.
ข. แบ่งตามระดับความอันตราย
1) ความงมงายที่มีอันตรายร้ายแรงทันที เช่น เชื่อว่าถ้าฆ่าตัวตาย(รวมทั้งฆ่าคนอื่น) จะได้ไปอยู่กับเทพ เชื่อว่าถ้ามีของขลังจะไม่เป็นอันตรายยิงไม่เข้า เชือในบุคคลที่อ้างตัวว่ามีอิทธิฤทธิ์แล้วเรียกเงินทองมากหรือเรียกให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย เชื่อว่าถ้าตั้งจิตอธิษฐานเพ่งดวงอาทิตย์จะทำให้สิ่งที่หวังสัมฤทธิ์ผล ฯลฯ
2) ความงมงายที่จะมีอันตรายร้ายแรงในระยะยาว เช่น เชื่อว่าศาสนาของเราจะต้องมีอำนาจครอบครองประเทศ ประเทศของเราต้องเปลี่ยนเป็นรัฐศาสนา หรือเชื่อว่าถ้าเราทุ่มเทศึกษาแต่คัมภีร์ศาสนาหรือนั่งสมาธิภาวนาอธิษฐานอย่างจริงจังเพียงอย่างเดียว ชีวิตก็จะดีไปเอง เป็นต้น
3) ความงมงายที่อันตรายไม่มาก หรือไม่เป็นอันตราย เช่น เชื่อว่าถ้าเราบูชานางกวักไว้ในร้าน จะช่วยให้ค้าขายดีขึ้น (แม้ว่าอาจต้องเสียเงินซื้อนางกวักบ้างแต่ถ้าราคาไม่สูงก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร) หรือเชื่อว่าถ้าแบ่งอาหารใส่ถ้วยเล็กถวายให้ศาลพระภูมิแล้วจะได้พร หรือชาวประมงเชื่อว่าเวลากินปลาอย่าพลิกปลาเดี๋ยว เรือจะพลิก เป็นต้น
4) ความงมงายที่สามารถกลายเป็นประโยชน์ เช่น เชื่อว่า ถ้าทำดีแล้วก็จะได้ดี (ซึ่งบางทีก็ได้ชั่ว หรือไม่ก็ไม่ได้อะไร ก็แล้วแต่ตีความ) หรือทำดีแล้วจะได้ไปสวรรค์ (ซึ่งก็ยังไม่อาจพิสูจน์ทราบ) กินเจสิบวันแล้วจะช่วยให้ลบบาปได้บุญ (แต่กินเนื้อวันอื่นได้)
.
ค. แบ่งตามรูปแบบความเชื่อ
1) ความงมงายที่อิงความเชื่อทางศาสนา เช่น เชื่อว่าชาติก่อนตัวเองเป็นอะไรบางอย่าง หรือเชื่อว่าเทพทำอะไรให้ หรือเชื่อว่าจนเพราะกรรมแต่ชาติก่อน
2) ความงมงายที่อิงความเชื่อทางสังคม-การเมือง เช่น ความเชื่อเชิงชาตินิยมจัด-คลั่งชาติ เชื่อว่าชาติของตนเป็นชาติทีมีสายเลือดสูงส่งกว่าชาติอื่น ฯลฯ
3) ความงมงายที่อิงปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น แนวโน้มการให้ความหวังตัวเอง การเข้าข้างตนเอง
4) ความงมงายที่อิงความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ หรือความรู้ปลอม เช่น เชื่อเพราะเข้าใจว่าเป็นวิทยาศาสตร์ แต่แท้จริงเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience)
ความงมงายยังจัดประเภทได้อีกหลายรูปแบบ แต่โดยรวมแล้วสิ่งที่คล้ายกันคือส่วนใหญ่เป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์แต่ละคน โดยเขาไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถทำได้ด้วยตนเอง
.
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
.
(Credit: ภาพจาก Clipmass)
https://www.facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat/photos/pcb.989408461104670/989408347771348/?type=1&theater
(Credit: ภาพจาก google)