ความรู้ดีๆ กับเฝือกอ่อน อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษาผู้ป่วย
เฝือกเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่จะช่วยสมานแผล จากภาวะกระดูกหัก กระดูกเคลื่อน การผ่าตัดกระดูกที่แตก ไปจนถึงการช่วยประครองให้กระดูกเข้ารูปรวดเร็วขึ้น หน้าที่ของเฝือกจึงมีความสำคัญกับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยสมานกล้ามเนื้อที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ และอื่นๆ ได้ด้วย
ประโยชน์ของเฝือกจะช่วยให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกที่มีปัญหาถูกควบคุมให้อยู่ นิ่งๆ เป็นการช่วยพักฟื้นชั่วคราว ป้องกันไม่ให้ส่วนที่เสียหายและเกิดการเคลื่อนที่จนเสียรูป เฝือกที่ออกแบบมาในปัจจุบันมีหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ ตั้งแต่เฝือกแบบปูนปลาสเตอร์ไปจนถึง เฝือกอ่อน ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักเบา ไม่เกะกะและช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากกว่าเฝือกแบบปูน ปลาสเตอร์
เมื่อไหร่ที่เราจำเป็นต้องใส่เฝือก
การ ใส่เฝือก แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยลักษณะความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น เฝือกที่ใช้จึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ เพราะแต่ละชนิดมีความสามารถในการช่วยประครองบาดแผลได้แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เราจะถูกเข้าเฝือกก็ต่อเมื่อมีภาวะกระดูกหัก มีส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะเกิดการเคลื่อนที่ไปจากจุดเดิม และต้องการแก้ไขไม่ให้อวัยวะส่วนนั้นเกิดการผิดรูป อักเสบและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากขึ้น ทั้งนี้ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อเกิดการหดตัว ช่วยรั้งกล้ามเนื้อให้สมานกันในทิศทางที่ถูกต้อง ลดอาการบวม และภาวะอักเสบ ให้แผลหายสนิทได้เร็วขึ้น และกลับมาใช้งานได้ตามปกติดังเดิม
ลักษณะของการเฝือกอ่อนที่เราควรรู้จัก
สำหรับ เฝือกอ่อนในปัจจุบันก็มาจากส่วนประกอบที่ทำจากปูนปลาสเตอร์เช่นเดียวกับ เฝือกแข็งๆ แต่สำหรับเฝือกอ่อนจะเป็นการช่วยประครองอวัยวะด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีแผ่นผ้าแบบยืดหยุ่นคอยพันประครองเอาไว้ และมักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่จะมีความแตกต่างจากเฝือกแข็ง เนื่องจากในช่วงใส่เฝือกแข็งจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการเคลื่อนไหว ร่างกายก่อนที่เฝือกจะแห้งสนิท
ความเหมาะสมในการใส่เฝือกอ่อน
โดย ทั่วไปแพทย์จะให้ใส่ ก็ต่อเมื่อเป็นอาการที่ไม่มีอันตรายมากจนเกินไป อย่างการหักของท่อนแขนช่วงบน การหลุดของข้อต่อแขน ข้อมือ หรือส่วนของนิ้วมือต่างๆ รวมไปถึงส่วนของขาลงไป อย่างอาการข้อเท้าพลิกเล็กน้อยเพื่อลดอาการบวมและป้องกันการฉีกขาดของกล้าม เนื้อ การใส่เฝือกจะนานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผลที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยเองก็จะต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอทุก ครั้ง
คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเอง
คนที่ใส่ เฝือกอ่อน จะต้องรู้จักดูแลตัวเองไม่ต่างจากการใส่เฝือกแข็ง ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นให้น้อยมากที่สุด ในช่วงแรกของการใส่ ไม่ว่าจะเป็นแขนหรือขาจะต้องถูกยกให้สูงจากระดับหัวใจในวันแรกเพื่อลดอาการ บวมและอักเสบ หลีกเลี่ยงไม่ให้เฝือกเปียกน้ำ เพราะอาจจะทำให้น้ำเข้าเฝือกและเกิดความชื้น เกิดแผลกดทับและติดเชื้อได้
สังเกต อาการที่เกิดขึ้นขณะใส่ด้วยว่ามีอาการคันหรือความผิดปกติอื่นๆ ด้วยหรือไม่ หากพบอาการห้ามใช้วัสดุใดๆ สอดเข้าไปในช่องว่าง เพราะหากเกิดบาดแผลขึ้นมาหรือมีวัสดุส่วนใดส่วนหนึ่งของเฝือกร่วงหล่นลงไป จะทำให้เกิดภาวะอักเสบตามมา
เพราะฉะนั้นหากจำเป็นต้องใส่ เฝือกอ่อน ควรรู้จักการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เพื่อให้แผลที่เกิดขึ้นสมานตัวได้ดี และกลับมาใช้งานตามปกติได้ดังเดิมในเร็ววันค่ะ