“ยาแก้กรดไหลย้อน” ต้องรู้จักและใช้ให้เป็น
พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ไม่มี วินัยของคนยุคปัจจุบันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่นเดียวกับ GERD หรือโรคกรดไหลย้อน โรคสุดฮิตของหนุ่มสาวสมัยใหม่ ซึ่งจากผลสำรวจพบว่าประชากรชาวไทยป่วยเป็นโรคนี้สูงถึง 1 ใน 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวและติดบุหรี่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเมื่อสงสัยว่าตนเองเป็นโรคนี้ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำ การรักษาให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจก่อปัญหาร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็นโรคปอดอักเสบและโรคมะเร็งหลอด อาหารได้
สาเหตุ
โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ส่วนปลายของหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ
- ความดันในหูรูดหลอดอาหารลดต่ำลง
- กระเพาะและบริเวณหลอดอาหารมีการบีบตัวผิดปกติ
- กรรมพันธุ์
- พฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะบางประการ เช่น นอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เป็นต้น
อาการของโรค
- ท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากการไหลของกรด
- หากเกิดการไหลย้อนมาก อาจส่งผลกระทบถึงลำคอ กล่องเสียง และปอด ทำให้เกิดอาการไอ เสียงแหบผิดปกติ
- รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือหน้าอก (อาการ Heart Burn)
- หลอดอาหารอักเสบ เจ็บคอ แสบบริเวณลิ้น กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้
- ได้กลิ่นและรสของกรดเปรี้ยวติดลำคอ มีเสมหะและระคายคอตลอดเวลา
การรักษา
การรักษาภาวะกรดไหลย้อนมี 3 แนวทางด้วยกัน ดังนี้
- การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เลี่ยงอาหารประเภทของทอดของมัน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ
- การผ่าตัด ผู้ ป่วยรายใดที่เลือกรักษาด้วยวิธีนี้หรือแพทย์ประเมินแล้วว่าต้องผ่าตัด สามารถทำได้โดยการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะไหลย้อนไปสู่ทางเดินทาหารส่วนบนและระบบทาง เดินหายใจ การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือผู้ป่วยไม่สามารถทานยาได้
- การรักษาด้วยยา เป็น การรักษาที่สะดวก ง่าย และครอบคลุมทุกระดับความรุนแรงมากที่สุด หากได้รับยาที่เหมาะสมกับภาวะและหมั่นรับประทานเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ อาการก็จะทุเลาลงอย่างต่อเนื่องและหายเป็นปกติในที่สุด ยาแก้กรดไหลย้อน สามารถแบ่งได้ตามกลุ่มการออกฤทธิ์ คือ
– ยาประเภทลดกรด : มีคุณสมบัติลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมาก
– ยาประเภทกระตุ้นการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร : ช่วยเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เป็นตัวช่วยเร่งให้อาหารต่างๆ เคลื่อนตัวออกจากกระเพาะเร็วขึ้น
– ยาประเภทยับยั้งฮิสตามีน : เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีนเพื่อลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะ
– ยาประเภทยับยั้งโปรตอนปั๊ม : โปรตอนปั๊มคือกระบวนการสุดท้ายก่อนหลั่งกรด เมื่อทานยาชนิดนี้จึงช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
หากคุณรู้ตัวว่าเกิดอาการกรดไหลย้อน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาที่ตรงกับระดับอาการอย่างทัน ท่วงที ไม่ควรปล่อยไว้จนอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัด