พลังงานทดแทนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ตัวอย่างเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานสิ้นเปลืองที่ต้องซื้อหาจากภายนอก และลดภาวะโลกร้อน
เฉกเช่น "หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน" โดย ทีมวิทยากรจาก อบต.คลองน้ำไหล อาสาสมัครพลังงานชุมชน พลังงานจังหวัดกำแพงเพชร สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สำนักปลัดกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) จัดอบรมและสนับสนุนอุปกรณ์ ผ่านฐานการเรียนรู้พลังงานทดแทน ชีวภาพ ชีวมวล โซล่าเซล และแนวทางการบริการจัดการอย่างยั่งยืน โดยนำชุมชนต้นแบบที่ได้คัดเลือกจากทั่วประเทศมาเรียนรู้กับชุมชนต้นแบบของกระทรวงพลังงาน คือ คลองน้ำไหล ชุมชนต้นแบบพลังงานยั่งยืน รางวัล อบต. Energy Awards
โดยจากการศึกษาโครงการดังกล่าวพบว่า
1. การเผาเผาถ่านด้วยเตา 200 ลิตร ควบคู่กับการใช้เตาซุปเปอร์อั่งโล่ ผู้ใช้จะประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานเมื่อเทียบกับเตาอั่งโล่ปกติได้กว่า 30% หรือปีละกว่า 10,95 บาท *คิดที่ถ่านกิโลละ 5 บาท แต่ถ้าหากเผาถ่านใช้เองจากหัวไร่ปลายนานอกจากจะไม่เสียค่าใช้จ่ายซื้อถ่านแล้ว ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายน้ำส้มควันไม้ราคาปัจจุบันลิตรละกว่า 50 บาท หรือหากมีฝีมือสามารถปั้นเตาซุปเปอร์อั่งโล่เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อีกต่างหาก *การปล่อย CO2 จากการใช้ ฟืน แกลบ ถ่าน = O เพราะมีการ ดูดซับในวงจรการเติบโตของต้นไม้ แต่ต้องมีการปลูกไม้โตเร็วทดแทนด้วย
2. เตาเศรษฐกิจประยุกต์แบบมีปล่อง ที่สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด เศษกิ่งไม้จากการตัดแต่ง หากผู้ใช้เป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวในชุมชนที่ต้องใช้เตาชนิดนี้จะทดแทนแก๊ส LPG ในการอุ่นน้ำซุปนานกว่า 10 ชม./วัน หากเปลี่ยนมาใช้เตาเศรษฐกิจแบบมีปล่องจะสามารถลดค่าใชจ่ายแก๊ส LPG ที่ต้องใช้ในร้านตกเดือนละ 3 ถัง หรือ 1,260 บาท/เดือน 15,120 บาท/ปี เรียกได้ว่าสามารถทดแทนได้ 100% เลยทีเดียว ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,458 กก.CO2/ปี*คิดที่ LPG ถัง 15 kg.ราคา 420 บาท *คิดที่ LPG1 กก. = 2.7 กก.CO2
3. แก๊สชีวภาพชุมชน ปัจจุบันมีชุมชนใช้กันอย่างแพร่หลาย ในที่นี้จะยกตัวอย่างระดับครัวเรือน หากหันมาใช้แก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ผสมเศษอาหาร ขนาดบ่อตั้งแต่ 4 ลบ.ม. ขึ้นไปจะสามารถทดแทน LPG 100% เดือนละครึ่งถังเท่ากับ 210 บาท หรือ 2,520 บาท/ปี *คิดที่ LPG ถัง 15 kg.ราคา 420 บาท ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 243 กก.CO2/ปี*คิดที่ LPG 1 กก. = 2.7 กก.CO2*ยังไม่นับผลพลอยได้จากบ่อแก๊สชีวภาพ ที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชได้อีกด้วยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
4. การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซล ในพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าสายส่งเข้าไม่ถึง เราสามารถนำโซล่าเซลมาผลิตไฟฟ้าให้แสงสว่าง พัดลม โทรทัศน์ ปั๊มน้ำ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นการเก็บไฟฟ้าจากดวงตะวันมาใช้ฟรีๆ หรือเกษตรกรที่ต้องเสียค่าน้ำมันในการเดินเครื่องสูบน้ำ หากเปลี่ยนมาใช้โซล่าเซลสูบน้ำอย่างน้อยจะสามารถลดค่าน้ำมันสูบน้ำได้กว่าวันละ 104 บาท เดือนละ 1,560 บาท หรือปีละกว่า 18,720 บาท *คิดที่น้ำมันดีเซลลิตรละ 26 บาท ใช้วันละ 4 ลิตร เดือนละ 15 วัน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,944 กก.CO2/ปี*คิดที่น้ำมันดีเซล 1 ลิตร = 2.7 กก.CO2
CR. Phirat Inphanich