เป็นกรดไหลย้อนกินยาเท่าไรก็ไม่หาย ทำไมนะ
วันก่อนดิฉันได้อ่านบันทึกการบรรยายพิเศษเรื่อง บทบาทของยารักษาโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ใช่ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ(proton pump inhibitor ย่อว่าPPI) ที่บรรยายโดย รศ.ดร.นพ.รัตถกร วิไลชนม์ โดยเนื่อหาจะพยายามอธิบายว่าทำไมคนเป็นกรดไหลย้อนหลายๆราย พอกินยาที่ดีที่สุดก็ยังไม่หาย ไม่บรรเทาเลย โดยสาเหตหลักที่การรักษาไม่ได้ผลก็มาจากสามประการ (ไม่นับเรื่องการปฎิบัตตัวของผู้ป่วย) โดยมีข้อปฎิบัตคือใน โรงพยาบาลใหญ่เช่น โรงเรียนแพทย์จะมีเครื่องมือในการตรวจทางเดินอาหารผู้ป่วยครบท่วน(ค่าใช้จ่ายสูง) ก็จะให้ผู้ป่วยทำการกลืนเครื่องมือและหาสาเหต แต่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ไม่สามารถทำการทดลอง และตรวจกับผู้ป่วยทุกคนและในทุกๆโรงพยาบาล และทุกๆคลินิกได้ ดังนั้นในทางปฎิบัตแพทย์ก็จะจ่ายยาไปเลย โดยอาศัยการซักประวัติจากผู้ป่วยเป็นหลัก แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยหลายรายไม่ตอบสนองต่อาการรักษาเลย การบรรยายนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถจ่ายยาได้ดีขึ้นนั่นเองค๊ะ
Link download ต้นฉบับรายงานการประชุม
อาจต้องเท้าความซักนิดว่ายา PPIคืออะไรสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบนะคะ ยา PPI คือชื่อกลุ่มยา(มีหลายชนิด)ที่มีความสามารถในการยับยั้งไม่ให้เครื่องปั้มน้ำกรดในกระเพาะทำงาน ดังนั้นกรดในกระเพาะ(โดยเฉพาะค่า pH) ของคนที่กินยากลุ่มนี้สูงกว่าเดิม หมายถึงความเป็นกรดลดลง ตัวอย่างยาที่มีขายในไทยชื่อการค้า miracid, nexium, prevacid ฯลฯ ซึ่งยากลุ่มนี้ในปัจจุบันจัดว่าเป็นกลุ่มยาที่ดีที่สุดสำหรับรักษาโรคกระเพาะ และกรดไหลย้อน
ประการที่1.กรดในกระเพาะไม่ได้ต่ำลงตลอดทั้งกระเพาะ...............เดิมนั้นการรักษาโรคกกรดไหลย้อนจะรักษากันบนพื้นฐานความเชื่อว่า ความเป็นกรดที่สูง(ค่าpHต่ำ ยิ่งต่ำจะยิ่งเป็นกรดสูง) ในกระเพาะอาหารคืนต้นเหตที่ไปกัดกร่อนเนื้อเยื้อหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หลังรับประทานอาหาร หรือบางคนเป็นหนักก็จะมีอาการดังกล่าวตลอดวัน หรือบางคนต้องตื่นมาตอนกลางคืนเพราะอาการดังกล่าว ทำให้ชีวิตขาดคุณภาพเอามากๆ ดังนั้นแพทย์จะให้มีการรักษาโดยการใช้ยาที่ชื่อว่า proton pump inhibitor เพื่อไปลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็พบว่าผู้ป่วยหลายๆรายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่ดีที่สุด แพทย์จึงได้ทำการทดลองวัดค่าความเป็นกรดในกระเพาะในส่วนต่างๆของกระเพาะคะ โดยวัดหลังกินยา PPI 30 นาทีแล้วทานอาหารตาม
1.ส่วนบนสุดของกระเพาะที่ใกล้กับหลอดอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีอาหารอยู่
2.ส่วนกลางของกระเพาะ เป็นส่วนที่มีอาหาร
3.ส่วนล่างของกระเพาะที่ติดกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่มีอาหาร
โดยพบว่าในส่วนที่ 2และ3 นั้นค่า pH เพิ่มสูงขึ้นมาก(เป็นกรดลดลง) อันเนื่องจากยา PPI และอาหารไปเจือจางกรด
แต่ในส่วนที่ 1 นั้นกลับตรงข้าม แม้จะทานยา PPI กลับพบว่าความเป็นกรด ยังสูงซึ่งสาเหตคือ(นึกภาพตามนะคะ) พออาหารลงไปอยู่ในกระเพาะน้ำในกระเพาะก็ต้องเพิ่มสูงขึ้นเพราะถูกแทนที่ด้วยอาหาร ทีนี้ไอ้น้ำส่วนบนสุดจะมีอาหารน้อยที่สุดถูกต้องใหมคะ ดังนั้นความเป็นกรดจึงไม่ได้ถูกเจือจางลงไปมากเท่าส่วนอื่นๆ
ประการที่ 2 มีน้ำย่อยโปรตีน(pepsin) และน้ำดีไหลย้อนมาที่หลอดอาหารด้วย...............ในคนที่กินยา PPI ยับยั้งกรดไปแล้วก็จริงบางคนวัดค่า pH ในกระเพาะปกติหมด แต่ในระบบทางเดินอาหารยังมีน้ำย้อยอื่นๆเช่น น้ำย่อยโปรตีน และน้ำดีที่สามารถกัดกร่อน หลอดอาหารได้อีกทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้โดยที่ไม่เกี่ยวกับความเป็นกรดในกระเพาะเลย โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการเรอขมปาก(น้ำดี) เรอเปรี้ยวได้ด้วย
ประการที่3ผู้ป่วยมีการรับความเจ็บปวดที่หลอดอาหารไวกว่าคนทั่วๆไป...........ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติทางกายภาพใดๆเลย แผลไม่มี ค่าpHก็ปกติ ยาที่ใช้รักษาก็จะเป็นยาที่ไปกดความรู้สึกปวดที่ไวเกินไปค๊ะ
จากสาเหตทั้งสามประการดังกล่าวทำให้ต้องเพิ่มยาในการรักษาผู้ป่วยกรดไหลย้อนนั่นคือยาที่มีส่วนประกอบของสาร alginate ซึ่งเป็นสารที่สกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาลสารนี้จะมีคุณสมบัติจับตัวกันเป็นชั้นเจลเมื่อลงสู่กระเพาะอาหาร และลอยเป็นแพอยู่เหนือน้ำในกระเพาะ ส่งผลดีคือทุกครั้งที่มีการไหลย้อนของกรดก็ดี น้ำย่อยก็ดี ยาตัวนี้จะไปถึงหลอดอาหารก่อนเสมอ ดังรูปข่างล่างนี้ค๊ะ ชั้นเจลดังกล่าวคือชั้นขาวๆที่อยู่บนสุดในน้ำในกระเพาะอะ
อีกอย่างนึงคือเมื่อกินไปซัก15นาที สาร alginate ในตำรับจะเริ่มก่อเป็นแพที่แน่นขึ้นและป้องกันไม่ให้น้ำในกระเพาะไหลย้อนออกจากกระเพาะได้(ไม่ว่าผู้ป่วยจะห้อยหัวอยู่ก็ตาม) ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกแสบที่หลอดอาหารได้อย่างรวดเร็ว ดังรูปข่างล่างนี้ซึ่งเค้าทดลองให้ดูในขวดรูปชมพู่ซึ่เป็นตัวแทนของกระเพาะอาหารค๊ะ จะเห็นว่าแม้ว่าจะคว่ำแก้วก็ไม่มีน้ำไหลออกมา
และข้อดีอีกข้อคะสารalginateไม่มีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีความปลอดภัยสูงมากๆ คนท้องยังสามารถทานได้เลยนะคะ
พูดมาทั้งหมดก็เหมือนจะเป็นยาเทวดา แต่ก็มีข้อเสียอยู่ข้อนึงคะที่ต้องระวังในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องควบคุมปริมาณการรับประทานเกลือ เช่นเกลือโซเดียม(Na) เพราะในบางยี้ห้อจะมีปริมาณเกลือโซเดียมสูงมากทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องระวังและนำค่าเกลือนี้ไปคำนวนด้วยเมื่อจะรับประทานอาหารเพิ่ม
ผู้่ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้แก่ โรคไต โรคหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันไม่ได้
(ปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้คือ วันละ ๖ กรัม ซึ่งมีโซเดียม อยู่ ๒,๔๐๐ มิลลิกรัม)
ซึ่งในท้องตลาดบ้านเรามียาที่มีส่วนผสมของ alginate อยู่สองยีห้อด้วยกันคะ คือ algycon และ gaviscon
โดย algycon จะอยู่ในรูปแบบยาเคี้ยวมีส่วนประกอบดังนี้คะ(มีโซเดียมประมาณ 9.2มิลลิกรัม/เม็ด)
Alginic acid 200 mg
Al(OH)3 gel 30 mg
Mg carbonate (light) 40 mg equiv to Mg 0.8 mEq
gaviscon จะมีส่วนปรกอบดังนี้ (มีโซเดียมในตำรับสูงกว่ามาก)
Na alginate 250 mg,
Na hydrogen carbonate 133.5 mg,
Ca carbonate 80 mg.
Per 10 mL Na alginate 500 mg, Na bicarbonate 267 mg
สรุปสุดท้ายคะ ในรายงานฉบันนี้ยังบอกอีกว่า การใช้ยาร่วมกันระหว่างยาที่มีส่วนประกอบของ alginate และ PPI จะสามารถลดอาการกรดไหลย้อนได้ดีกว่าใช้ PPI อย่างเดียว
ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนๆจะหาหมอหรือ หายารักษาตัวเอง(เพราะกรดไหลย้อนรักษาเองได้หากไม่รุนแรง)ก็ควรจะเพิ่มยาที่มีส่วนประกอบของสาร alginate นะคะ