ที่ยืนของกะเทยบนแผ่นดินอินเดีย มีน้อยหรือมาก ลำบากแค่ไหนที่เป็นกะเทยในอินเดีย
กะเทยหรือฮิจรา (Hijra)
ซึ่งมีสถานะพิเศษในศาสนาฮินดู ชุมนุมกันในวันเพ็ญของเดือนนี้ที่รัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย เพื่อร่วมพิธีกรรมซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการแต่งงานระหว่างเทพอรวันกับนางโมหินี ซึ่งตำนานพื้นถิ่นทมิฬเชื่อว่า เทพอรวันแต่งงานและพลีชีพในวันเดียวกันเพื่อให้ความดีมีชัยเหนือความชั่วในการสู้รบตามตำนานมหาภารตะ
กะเทยเหล่านี้ซึ่งเชื่อว่าตนคือนางโมหินี ได้ประกอบพิธีกรรมแสดงความเป็นหม้าย เช่น ตัดกำไลข้อมือ สวมผ้าขาว สยายผม และร้องไห้คร่ำครวญ
เกิดมาเป็นชายไม่สมบูรณ์ต้องขับไล่ออกจากบ้าน
ในสังคมอินเดียนั้น สามีจะดีใจเมื่อภรรยาคลอดบุตรออกมาเป็นชาย เนื่องจากในคัมภีร์ มนู ของศาสนาฮินดูนั้นเชื่อว่าผู้ที่แต่งงานแล้วมีบุตรชาย เมื่อตายไปแล้ว พ่อ-แม่ จะไม่ตกนรกขุมปุตะ แต่คนอินเดียนั้นจะไม่ยอมรับเมื่อบุตรชายของเขานั้น เป็นชายไม่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะทั้งร่างกายและจิตใจ เด็กคนนั้นจะถูกขับออกจากบ้าน หรือไม่ก็หนีไปอยู่ยังกลุ่มของ ฮิจร่า ให้ได้รับการดูแล เขาจะถูกตัดขาดจากทางบ้านและจะไม่มีใครรู้จักเขาอีกต่อไป นี่เป็นวัฒนธรรมอินเดียที่สืบทอดกันมาหลายพันปีแล้ว
ลักษณะการอยู่ร่วมกันของชาวฮิจร่า
ชาวฮิจร่าจึงมักจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเกื้อกูลช่วยเหลือกัน กลุ่มหนึ่งมีราว 5 คนหรือมากกว่านั้น โดยมี “กูรู” เป็นผู้นำ และมีกฏเกณฑ์ภายในกลุ่มของตนเอง และมีการสอนร้องเพลง เต้นรำ และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ
อาชีพของชาวฮิจร่า
ฮิจร่าส่วนใหญ่แล้วไม่ได้รับการศึกษา ไม่สามารถหางานทำได้เพราะสังคมไม่ยอมรับ งานที่สามารถทำได้ คือ การอวยพรในวันเกิดของเด็กเกิดใหม่
การเต้นรำในงานแต่งงาน ซึ่งเป็นงานที่เป็นที่ยอมรับและให้เกียรติชาวฮิจระ อีกทั้งการรวมตัวเป็นกลุ่มไปขอเงินตามที่ต่างๆ ร้านค้า หรือแม้แต่บนรถไฟ ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย เพราะเป็นการขู่กรรโชกทรัพย์
อีกประเภทหนึ่งนอกจากนั้นก็คือ การขายบริการทางเพศ ซึ่งฮิจร่ามักถูกกระทำรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ในสถานีตำรวจ ในคุก อยู่เสมอ ทั้งยังขาดไร้ซึ่งสิทธิในด้านสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย อาชีพ กฎหมาย และระบอบการปกครองอื่นที่ไม่สามารถระบุพวกเขาได้ว่าเป็นเพศใด
เรามักพบเห็นฮิจร่าได้ทั่วไปตามท้องถนน สถานีรถไฟ และที่สาธารณะต่างๆ ที่ทำการขอเงินจากผู้คนที่สัญจรไปมา
โดยเฉพาะผู้ชาย ถ้าถูกปฏิเสธ ฮิจร่าก็จะพยายามทำให้ผู้ชายที่ตนขอเงินนั้นรู้สึกขวยอายต่อหน้าคนอื่นๆ โดยกระทำการลามกต่างๆ
อย่างเช่น การใช้มือล้วงจับอวัยวะเพศของตนแล้วเอามาป้ายที่หน้าคนคนนั้น
หรือ ใช้ภาษาที่หยาบคาย หรือล่วงล้ำทางเพศ บ้างก็ข่มขู่ที่จะโชว์ของลับให้ดูต่อหน้าถ้าไม่บริจาคเงินให้
และมีข้อมูลเพิ่มเติมจาก Napat Offy Junnamsai ว่า
ไปอินเดียมาสี่รอบ กะเทยที่อินเดีย น่าสงสารมาก หลายนางขอทานตามถนน แบ่งวรรณะชัดเจน สวยๆ ก็มีแบบเหมือนผู้หญิง ซึ่งคนฮินดูมีความเชื่อว่า กะเทยสาปแช่งแล้วจะเป็นจริง เค้าจะกัวคำสาปหรือกัวกะเทยด่ามากค่ะ พวกนางเชื่อว่าตนเป็นลูกของพระมาตาในสายฮินดู ปากศักดิ์สิทธิ์ ก็เป็นเสน่ห์ของเมืองเขาอย่างนึง
ทำไมเพศที่สามบูชาพระแม่พหุชระ หรือ พระแม่มาตากี
ตำนานในคัมภีร์ รามายณะ ได้กล่าวถึงกลุ่มของ ฮีจร่า ว่าในขณะที่กลุ่มชนได้เดินทางไปส่งพระราม เนื่องจากพระรามต้องเดินทางไปอยู่บำเพ็ญพรตในป่าเป็นเวลานาน จนถึงชายป่า พระรามได้ตรัสกับกลุ่มชนว่า “ผู้ชาย ผู้หญิงทั้งหลาย ให้กลับไปบ้านของเจ้าเถิด” กลุ่มชนเหล่านั้นก็เดินทางกลับบ้านของตนอย่างเชื่อฟัง จนถึงเวลา ๑๔ ปี พระรามเดินทางกลับออกจากป่า พระรามได้พบกับกลุ่มของ ฮีจร่า รอพระองค์อยู่ เนื่องจากพระรามมิได้บอกให้กลุ่มของ ฮีจร่า เดินทางกลับ (เพราะไม่ใช่เพศชายหรือเพศหญิง) พวกเขาเฝ้ารอพระรามอย่างเชื่อฟัง จึงทำให้พระรามเกิดความดีใจที่กลุ่ม ฮีจาร่า มีความเคารพศรัทธาในคำพูดของพระองค์ จึงประสาทพรให้ ฮีจร่า สามารถให้พรใครก็ได้ และสามารถสาปแช่งใครก็ได้ ให้เป็นไปตามคำพูดของตน
ชีวิตรันทดจริงหรือ
ชีวิตพวกนางอาจจะไม่รันทดไปทุกคนและอีกอย่าง ที่หาอ่านข้อมูลต่าง ๆบ้างก็ว่าในสังคมคนอินเดียนั้น ฮิจร่า มิได้เป็นที่เคารพ หรือ รังเกียจแก่พวกเขาแต่อย่างใดเพราะ คนอินเดียก็เชื่อว่าถ้าบุคคลกลุ่มนี้เป็นคนดี เขาก็ติดต่อคบค้ากันตามปกติ
การเป็นอยู่ของกลุ่มฮิจร่า พวกเขามีอาชีพสร้างสีสันและความสนุกสนาน โดยการเต้นรำ ร้องเพลง และแต่งกายด้วยชุดส่าหรีสีสันสดใส ใส่เครื่องประดับอย่างสวยงาม เราจะพบเห็นพวกเขาตามงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานบูชาประจำปี งานแต่งงาน งานโกนจุก ตลอดจนถึงงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยจะมีเจ้าภาพว่าจ้างให้ไปสร้างสีสันให้กับงานอย่างเป็นทางการ
แต่ส่วนหนึ่งของกลุ่มฮิจร่านั้น ในบางงานก็ไปเป็นส่วนเกินของงาน คือจะไปร้องเพลง เต้นรำกันอย่างสนุกสนาน และจะส่งตัวแทนเข้าไปขอรางวัลกับเจ้าภาพทั้งที่เจ้าภาพไม่ได้เชิญมา นี่คือความเกรงใจของคนอินเดียที่มีต่อ ฮิจร่า
เนื่องจากฮิจร่านั้น บูชาเจ้าแม่ Bahuchara Mata เขาจึงมีความสามารถพิเศษ ที่ให้พรผู้คนต่าง ๆ ได้ และคนอินเดียเชื่อกันว่า กลุ่มฮิจร่าได้รับการประสาทพรจาก "พระราม" ที่ให้ "ฮิจร่า สามารถให้พรใครก็ได้ และสามารถสาปแช่งใครก็ได้ ให้เป็นไปตามคำพูดของตน"
ฮิจร่าในอินเดียจึงมีภาพลักษณ์ในสองด้านที่ตรงกันข้ามกัน
1 .ด้านหนึ่งก็ถูกสังคมรังเกียจ ไม่ยอมรับ และสบประมาทด้วยคำเรียกต่างๆ
2. อีกด้านกลับได้รับการยกย่องให้เกียรติเชิญมาอวยพรในวันเกิดทารกเพศชาย หรือมาแสดงดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ ในงานแต่งงาน
ซึ่งเชื่อว่าจะนำโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์มาสู่ครอบครัวนั้น เนื่องจากฮีจาร่านั้น บูชาเจ้าแม่ Bahuchara Mata(พระแม่พหุชระ) เขาจึงมีความสามารถพิเศษ ที่ให้พรผู้คนต่าง ๆ ได้ โดยการกล่าวว่า “มีลูกชายเยอะ ๆ” ในบทเพลงอวยพรงานแต่งงานของ ฮีจาร่า เป็นบทเพลงแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาวให้มีความรักกันยืนยาว และมีลูกชายลูกสาวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
มีฮิจร่าหลายๆคนประสบความสำเร็จร่ำรวยได้เหมือนกัน อาจจะเเตกต่างกับกะเทยไทย ในเรื่องของการยอมรับจากครอบครัวเเละที่ยืนในสังคมที่แตกต่างกัน
ฮิจร่าที่สวยๆ ก็สามารถเข้าประกวดสาวประเภท 2 ที่จัดขึ้น และเข้าประกวดระดับนานาชาติ