เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับต้นสาละ
สาละอินเดีย (ซาล) vs สาละลังกา (ลูกปืนใหญ่)
http://kom-ranad-ake.blogspot.com/
ซาล, สาละ (สาละอินเดีย)
ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ : Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
ชื่ออื่น ๆ : สาละใหญ่ มหาสาละ สาละอินเดีย
วงศ์ : Dipterocarpaceae (วงศ์ต้นยาง)
http://travel.webshots.com/photo/2043647970047837447xfKwZo
Sal flowers in bloom (Shorea robusta), Bhandhavgarh NP, India
สาละที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติคือ สาละใหญ่ หรือ มหาสาละ หรือ สาละอินเดีย ...
สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียก ต้นสาละใหญ่ ว่า "Sal"
เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
http://www.payer.de/amarakosa/amara205b.htm
Sal fruit
มีลักษณะคล้ายต้นยาง ลูกคล้ายลูกยาง ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน
เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย
http://www.payer.de/amarakosa/amara205b.htm
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้าง
จะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม
http://www.payer.de/amarakosa/amara205b.htm
ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้นตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป
เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่ง
แหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก
มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น
http://www.intania82.com/lofiversion/index.php?t2216-50.html
สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน
รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ด
นำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
http://www.intania82.com/lofiversion/index.php?t2216-50.html
สรรพคุณด้านสมุนไพร ของต้นสาละ พบว่า ยาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง
โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/296511
เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ
ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกใน
ช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก
มีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่สามารถนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ โดยต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๓ พบในชินกาลมาลีปกรณ์
และต้นได้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ถึงองค์ที่ ๒๙ พบในพุทธวงศ์อันมีความดังต่อไปนี้
๑. พระตัณหังกร ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว)
๒. พระเมธังกร ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว)
๓. พระสรณังกร ไม้ปาตลี (แคฝอย)
๔. พระที่ปังกร ไม้ปิปผลิ (เลียบ)
๕. พระโกณฑ์ญญะ ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง)
๖. พระมังคละ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๗. พระสุมนะไม้นาคะ (กากะทิง)
๘. พระเรวตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๙. พระโสภิตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๑๐. พระอโนมทัสสี ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว)
๑๑. พระปทุมะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)
๑๒. พระนารทะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)
๑๓. พระปทุมุทตระ ไม้สลฬะ (สน)
๑๔. พระสุเมธะ ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า)
๑๕. พระสุชาตะ ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่)
๑๖. พระปิยทัสสี ไม้กกุธะ (กุ่ม)
๑๗. พระอัตถทัสสี ไม้จัมปกะ (จำปาป่า)
๑๘. พระธัมมทัสสี ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ,ซ้องแมว)
๑๙. พระสิทธัตถะ ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์)
๒๐. พระติสสะ ไม้อสนะ (ประดู่ลาย)
๒๑. พระปุสสะ ไม้อาลมกะ (มะขามป้อม)
๒๒. พระวิปัสสี ไม้ปาตลิ (แคฝอย)
๒๓. พระสิขี ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า)
๒๔. พระเวสสภู ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่)
๒๕. พระกะกุสันธะ ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่)
๒๖. พระโกนาคมนะ ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ)
๒๗. พระกัสสปะ ไม้นิโครธ (ไทร,กร่าง)
๒๘. พระโคตมะ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ไม้อัสสตถะ (พระศรีมหาโพธิ)
๒๙. พระเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า ไม้นาคะ (กากะทิง)
http://www.thaigoodview.com/node/119568
สาละลังกา หรือ ลูกปืนใหญ่
ชื่อสามัญเรียก : Cannon Ball Tree
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ : Lecythidaceae (วงศ์ต้นจิก, ต้นกระโดน)
สาละลังกา หรือ ลูกปืนใหญ่[1] (Cannon Ball Tree) เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 15-25 เมตร เรือนยอดทรงกลม
หรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกขรุขระสีน้ำตาลแกมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12385
ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักตื้น กว้าง 5-8 เซนติเมตร
ยาว 12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ใบหนา
http://www.premierfanclub.com/php/archive/index.php/thread-19962.html
ผลมีขนาดกลมใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ ขนาด 10-20 เซนติเมตร สีน้ำตาลปนแดง
มีเมล็ดจำนวนมาก ผลสุกมีกลิ่นเหม็น มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=629552
ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามลำต้น
ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ดอกโน้มลง กลีบดอกแข็งหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน ขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง
เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่
กว้าง 5-10 เซนติเมตร ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน
ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกมักดกมากในช่วงหน้าฝน ดอกบานและร่วงตอนเย็นในวันเดียว ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง
http://www.boringdays.net/cannonball-tree/
ความสับสนระหว่างต้นไม้ 2 ชนิด คือ ลูกปืนใหญ่ (Cannon Ball Tree; Couroupita guianensis Aubl.) บางครั้ง
เรียกว่า สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำไปปลูกในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งประเทศศรีลังกา
กระทั่งมีการนำจากศรีลังกาเข้ามาปลูกในประเทศไทย เราสามารถพบเห็นปลูกตามวัดต่างๆ ในประเทศไทย
ต้นสาละลังกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2424
สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าต้นลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกา
กลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของต้นลูกปืนใหญ่ส่วนมากอ้างว่า
นำมาจากอินเดีย เนื่องจากมีดอกตลอดปี ประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ
http://bangkrod.blogspot.com/2011_04_01_archive.html
ต้นสาละลังกา หรือตันลูกปืนใหญ่ มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากต้นสาละอย่างสิ้นเชิง
ทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าต้นสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย
(Sal of India) และต้นลูกปืนใหญ่ (Cannon Ball Tree) หรือสาละลังกา (เรียกเฉพาะในไทย) แต่ด้วยความไม่รู้
ความเป็นมาและชื่อเดิม ชาวไทยจึงนิยมเรียกสาละอินเดียกับสาละลังกา
อนึ่ง ต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากต้นลูกปืนใหญ่มีดอก
และผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของต้นสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ
ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้
ความรู้เรื่องต้นสาละ กับพระพุทธเจ้า
โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือ สาละ
ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือ ป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง
ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลาย ๆ บทความที่อ่านพบ หรือนำ
เผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่าง ๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta)
แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่
ขัดแย้งกับความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของ
ต้นลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกา แต่ประการใด
แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้
สรุปว่า ความเข้าใจผิดเรื่องต้นสาละของชาวพุทธไทยมีอยู่ 2 เรื่อง
1. ต้นสาละ = ต้นรัง http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4391.0
2. ต้นสาละ = ต้นลูกปืนใหญ่ (สาละลังกา)
ซ้ำขออภัยค่ะ
อ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12385http://watnamprai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41974514http://www.watsai.net/sal_tree.phphttp://www.intania82.com/lofiversion/index.php?t2216-50.html http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4391.0 http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=7&t=1280