หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทาน (การให้) เป็นอย่างไร?(ตามพุทธพจน์)

โพสท์โดย Ahom

บทนำ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้
ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ)
ให้ทานโดยคิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้”
เขาให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น
อย่างนี้...
ปุถุชนผู้ได้สดับและได้ศึกษาในธรรมวินัยที่ตถาคต
ได้บัญญัติไว้ จึงจะทราบว่า การวางจิตเมื่อให้ทาน ดังที่กล่าวมา
ข้างต้น เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคน
ในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก
ปุถุชนผู้ได้สดับ จึงจะทราบว่า ศีลห้าเป็นมหาทาน
ปุถุชนผู้ได้สดับ พึงให้ทานในเขตที่ให้แล้วมีผลมาก
คือ ในพระอริยบุคคลทั้งหลายตามกาลอันควร อันเป็นการ
บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต (ปาริจริยานุตตริยะ)

ที่สุดของทาน คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
อันประเสริฐยิ่ง คือ ความสละคืนอุปธิทั้งปวง เพื่อถึง
ความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไป เป็นธรรมดา
นั้นคือ นิพพาน.

 

''ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำาแนกทาน
เหมือนอย่างเรารู้ไซร้หากสัตว์เหล่านั้น ยังไม่ได้ให้ทานเสียก่อนก็จะไม่พึง
บริโภค อนึ่ง มลทินคือความตระหนี่จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น

 

แม้คำข้าวคือก้อนข้าวของสัตว์เหล่านั้น
จะพึงเหลืออยู่คำสุดท้ายก็ตาม 
ถ้าปฏิคาหกของพวกเขายังมีอยู่
หากสัตว์เหล่านั้นยังไม่ได้แบ่งคำข้าวคำสุดท้ายแม้นั้น
ก็จะไม่บริโภค.

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทาน
เหมือนอย่างเรารู้ฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงไม่ได้ให้ทานก่อนบริโภค อนึ่ง มลทิน
คือความตระหนี่จึงยังครอบบำจิตของสัตว์เหล่านั้น.''
-บาลี ขุ. ขุ. ๒๕/๒๔๓/๒๐๔

 

ความหมายของทาน

ทาน (การให้) เป็นอย่างไร

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.

 

มาณพ !  บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม
บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
โคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ-
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน
ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น
มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก.

จาคะ (การบริจาค) เป็นอย่างไร

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑. 

 

คหบดี!  ก็จาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
เป็นอย่างไร
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทินคือ
ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็น
ประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ
ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

 

ทำไมจึงให้ทาน

 

ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ

-บาลี ปฺ จก. อํ. ๒๒/๔๑/๓๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!  พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติ
ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ.
สามารถ สีหะ!  
สีหะ!  ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจ
ของชนเป็นอันมาก แม้ข้อนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก
ผู้เป็นทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็น
ทานบดีย่อมขจร แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่
ประชุมใดๆ คือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ
ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่ง
ทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะ
พึงได้ในสัมปรายะ.

อานิสงส์แห่งการให้ทาน

-บาลี ปฺ จก. อํ. ๒๒/๔๓/๓๕

ภิกษุทั้งหลาย!  อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการ
นี้มีอยู่ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก

(2)สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
(3) กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป
(4) ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์
(5) ผู้ให้ทานเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย!  นี้แล อานิสงส์แห่งการให้ทาน
๕ ประการ.
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่า
ดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์
ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษ
เหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพาน
ในโลกนี้.

 

ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่า
ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๔/๕๙.
-บาลี ปฺ จก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗

ภิกษุทั้งหลาย!  ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ
๔ อย่างแก่ปฏิคาหก ๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ ให้อายุ ให้
วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน
แห่งอายุอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้วรรณะ
แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของ
มนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
พละอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย!  ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ
๔ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้ใดย่อมให้โภชนะโดยเคารพ ตามกาลอันควร แก่
ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้
ฐานะทั้ง ๔ อย่าง คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ.

 

ผู้ให้ข้าวยาคู ก็ชื่อว่า
ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

-บาลี มหา. วิ. ๕/๗๖/๖๑.

พราหมณ์!  ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่าง
เป็นอย่างไร คือ ผู้ให้ข้าวยาคู ชื่อว่าให้อายุ ให้วรรณะ ให้
สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว
บรรเทาความระหาย ทำลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ ย่อย
อาหารที่เหลืออยู่.
พราหมณ์!  เหล่านี้แล คือคุณของข้าวยาคู ๑๐ อย่าง.
จากนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำ อนุโมทนา ดังนี้
ทายกใดถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาลแก่ปฏิคาหก
ผู้สำรวมแล้ว ผู้บริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้นชื่อว่า
ตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหกนั้น
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ย่อมเกิดแก่
ปฏิคาหกนั้น แต่นั้นข้าวยาคูย่อมกำจัดความหิว ความระหาย
ทำลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ข้าวยาคูนั้น
พระสุคตตรัสสรรเสริญว่าเป็นเภสัช
เพราะเหตุนั้นแล มนุษย์ชนที่ต้องการสุขเป็นนิจ
ปรารถนาสุขที่เลิศ หรืออยากได้ความงามอันเพริศพริ้งใน
มนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู.

ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ 
-บาลี ปฺ จก. อํ. ๒๒/๕๓/๔๔.

... ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ใดย่อม
ให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ
ด้วยความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของที่ให้ไปแล้ว
นั้นย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว สละแล้วไม่คิดเอาคืน ผู้นั้น
เป็นสัปบุรุษ ทราบชัดว่าพระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้ของที่พอใจ ย่อมได้
ของที่พอใจ ดังนี้.
...ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ
ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของ
ที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ
ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด ณ
ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้.

 

การให้ทานเป็นเหตุให้เกิดทรัพย์
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๘/๑๙๗.

มัลลิกา!  มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง
ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่
แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ
และเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
โคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ถ้ามาตุคามนั้นจุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติ
มากและสูงศักดิ์.
มาณพ !  ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคทรัพย์
มากนี้ คือ การให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
แก่สมณะหรือพราหมณ์.

 

ความตระหนี่
ขวางกั้นการทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล
-บาลี ปฺ จก. อํ. ๒๒/๓๐๒/๒๕๖–๒๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย!  เพราะไม่ละธรรม ๕ อย่าง บุคคล
จึงไม่ควรเข้าอยู่ ซึ่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อรหัตตผล ธรรม ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ความตระหนี่อาวาส
(2) ความตระหนี่ตระกูล
(3) ความตระหนี่ลาภ
(4) ความตระหนี่วรรณะ (ความดี)
(5) ความตระหนี่ธรรม (เครื่องให้บรรลุมรรคผล)


(ต่อจากนี้ ได้ตรัสโดยนัยตรงกันข้ามถึงการละธรรม ๕ อย่าง
นั้นแล้ว ควรเพื่อเข้าอยู่ในฌานและกระทำ ให้แจ้งซึ่งมรรคผล)

 

เหตุให้ไปนรก-สวรรค์ 
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๑๓๒/๔๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย!  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการ และไม่ละมลทิน ๓ ประการ ย่อมจะถูกเก็บไว้ใน
นรก เหมือนถูกขังฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) เป็นผู้ทุศีลและไม่ละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล
(2) เป็นผู้ริษยาและไม่ละมลทินแห่งความริษยา
(3) เป็นผู้ตระหนี่และไม่ละมลทินแห่งความตระหนี่
ภิกษุทั้งหลาย !  บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้และไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้แล จะต้องตกนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย!  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการ ละมลทิน ๓ ประการ ย่อมจะประดิษฐานบนสวรรค์
เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเป็น
อย่างไร คือ
(1) เป็นผู้มีศีลและละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล
(2) เป็นผู้ไม่ริษยาและละมลทินแห่งความริษยา
(3) เป็นผู้ไม่ตระหนี่และละมลทินแห่งความตระหนี

ภิกษุทั้งหลาย!  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้และละมลทิน ๓ ประการนี้แล ย่อมจะต้องได้
ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญไปวางไว้ฉะนั้น.

 

ผลแห่งทาน 
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๐๕/๒๒๔

 

คหบดี!  เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ
พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้
ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วย
ทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด
ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธง
ทองคลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนัง
ราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มี
เครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง
ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงิน
รองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณี

และแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์
ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้
มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดาน มี
หมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้
ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยการกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ
ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่ให้ดุจไหลไป
เหมือนแม่น้ำ.
คหบดี!  ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่น
เป็นเวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น.
คหบดี!  แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เรา
เป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทาน
นั้น ไม่มีใครเป็นทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้น
ให้หมดจด.
คหบดี!  ทานที่บุคคลถวายให้ผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ (โสดาบัน) ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่เวลาม-
พราหมณ์ให้แล้ว.
ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามี ๑๐๐ ท่าน
บริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามี ๑๐๐ ท่าน
บริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียว
บริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ ๑๐๐
รูปบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้า
๑๐๐ รูปบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค.
การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
มีผลมากกว่าทาน ที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขบริโภค.

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลสร้าง
วิหารถวายสงฆ์ อันมาจากทิศทั้ง ๔.
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ
งดเว้นจากปาณาติบาต ... จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคล
มีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ.
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลา
สูดดมของหอม มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส
สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ...
และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลา
ลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต
โดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

 

 

สิ่งที่ประเสริฐกว่าทาน 
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๐/๑๐๑

ก็การให้ทานด้วยศรัทธา
อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมาก
ก็แต่บทแห่งธรรม (นิพพาน) นั้นแหละ
ประเสริฐกว่าการให้ทานทั้งหลาย
เพราะว่าสัปบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา
ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดี
บรรลุซึ่งนิพพานแล้ว.

เจริญเมตตาจิตมีผลมากกว่าให้ทาน
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๘/๖๖๗.

ภิกษุทั้งหลาย!  ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อ
ใหญ่ในเวลาเช้า ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่
ในเวลาเที่ยง ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ใน
เวลาเย็น
ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียง
ชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตใน
เวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียง
ชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผล
มากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น
เพราะเหตุนั้นในเรื่ิองนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็น
ดุจยานที่เทียมดีแล้ว กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ กระทำให้
มั่นคง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอด้วยดี.
ภิกษุทั้งหลาย!  เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

ที่มา: http://file:///C:/Users/pp/Downloads/13_buddhavacana_dana-20141029%20(1).pdf
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Ahom's profile


โพสท์โดย: Ahom
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
36 VOTES (4/5 จาก 9 คน)
VOTED: ธนาคม, คุณกินไง จะใครละ, ginger bread, แจ๋วยูนิเวอร์ส, บูเก้จัง, meltxxx, riddle, ลูกเสี่ยขอ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เลขเด็ด "แม่นมาก ขั้นเทพ" งวดวันที่ 2 มกราคม 68 มาแล้ว!..อยากรวย มาส่องกันเลย!!ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!
ตั้งกระทู้ใหม่