มาดู พระศาสดาตรัส รายละเอียดของปฏิจสมุปบาทไว้อย่างไร?
พระโสดาบัน คือ ผู้เห็นชัดรายละเอียด
แต่ละสายของปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย
โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
(เห็นตลอดสาย นัยที่หนึ่ง)
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้น
พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความแก่ ความคร่ำ คร่า ความมีฟันหลุด ความมี
ผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุ ความ
แก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา. การจุติ ความเคลื่อน
การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำ กาละ
การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่ง
อินทรีย์ คือ ชีวิตจากสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย
ย่อมมีอยู่ ดังนี้; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชรามรณะ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะ
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ; ความดับไม่เหลือแห่ง
ชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
การเกิด การกำ เนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การ
บังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้ง
หลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกาย
นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ; ความดับไม่เหลือ
แห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น
ปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ, ได้แก่สิ่ง
เหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ การพูดจา
ชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความ
พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
กามภพ รูปภพ อรูปภพ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม
แห่งอุปาทาน; ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะ
ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; มรรคอันประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ
ไม่เหลือแห่งภพ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ
ความดำ ริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง
เหล่านี้ คือ ความยึดมั่นในกาม ความยึดมั่นในความเห็น
ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติทางกายและวาจา (ศีลพรต) ความ
ยึดมั่นในความเป็นตัวตน : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า
อุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา; ความดับไม่เหลือ
แห่งอุปาทาน ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น
ปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน, ได้แก่
สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่
เหล่านี้คือ ความอยากในรูป ความอยากในเสียง ...ในกลิ่น
...ในรส ...ในสัมผัสทางกาย ความอยากในธรรมารมณ์:
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ตัณหา. ความก่อขึ้นพร้อม
แห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา;
ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งเวทนา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่
เหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา ...ทางห ู...ทางจมูก
...ทางลิ้น ...ทางกาย และเวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางใจ :
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อม
แห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งผัสสะ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่
เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา ...ทางหู ...ทางจมูก ...ทางลิ้น
...ทางกาย สัมผัสทางใจ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ผัสสะ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น
พร้อมแห่งสฬายตนะ; ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; มรรคอันประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ
ไม่เหลือแห่งผัสสะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ
ความดำ ริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
จักข๎วายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ
กายายตนะ มนายตนะ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า
สฬายตนะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป; ความดับไม่เหลือแห่ง
สฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ : นี้เรียกว่า
นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย :
นี้เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่อย่างนี้: ภิกษุ
ทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า นามรูป. ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง
นามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ;
ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความดับ
ไม่เหลือแห่งวิญญาณ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอัน
ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง
นามรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่
เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ (ผู้รู้แจ้งทางตา) โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
(ผู้รู้แจ้งทางใจ) : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า วิญญาณ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น
พร้อมแห่งสังขาร; ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; มรรคอันประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ
ไม่เหลือแห่งวิญญาณ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ
ความดำ ริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้
คือ กายสังขาร (ความปรุงแต่งทางกาย) วจีสังขาร (ความปรุงแต่ง
ทางวาจา) จิตตสังขาร (ความปรุงแต่งทางใจ) : ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อม
แห่งสังขารย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา;
ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งอวิชชา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำ ริชอบ
การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวก
ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งธรรม อันเป็นปัจจัย (เหตุ)
ว่าเป็นอย่างนี้ๆ; มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุแห่งธรรม อันเป็นปัจจัย
ว่าเป็นอย่างนี้ๆ; มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งธรรม
อันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ; มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ
เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็น
ปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้;
ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า :-
“ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง;
“ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง;
“ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำ�แรกกิเลส” ดังนี้บ้าง;
“ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง, ดังนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๕๐-๕๑/๘๘-๙๐.