5 อันดับ "ไสยศาสตร์" สุดสะพรึง!
ในแต่ละประเทศแต่ละท้องถิ่นผู้คนย่อมมีความเชื่อในกลุ่มของตนเองที่อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งท้างด้านของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ทางด้านเหนือนธรรมชาติ อีกทั้งรูปแบบหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือรูปแบบของ "ไสยศาสตร์" โดยขอจัดอันดับตามความรุนแรงไว้ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
อันดับที่ ๕ ไสยศาสตร์ไทย
ไสยศาสตร์อันดับที่ ๕ ต้องยกให้เป็นของไทย คุณไสยไทยทำนี้อ่อนวิชาที่สุด เพราะไปยืมวิชาเขามาใช้ ตัววิชาไทยจริงๆนั้นส่วนใหญ่มีไว้รักษาและป้องกันมากกว่าการทำร้ายคน เนื่องมาจากคนสมัยก่อนชอบเข้าวัดทำบุญ เลยปฏิบัติธรรมกันเยอะ แต่ที่โหดที่สุดคงยกให้เป็นการสู้รบ ก็น่ากลัวอยู่หรอกนะ แต่ถ้าสู้กับเขมร ขอม พม่า อันนี้ก็อ่อนวิชาไสยกว่าเขาเยอะ ต้องใช้ความสามารถทางการทหารและกลอุบายสู้ล้วนๆ เหนื่อยหน่อย แต่พระสงฆ์ไทยสมัยก่อนก็มีวิชาเขมรอยู่บ้าง เอามาปรับเป็นพุทธคุณ กลายเป็นยันต์ทางพุทธคุณ พลังป้องกันมีอานุภาพสูงสุดในหมู่คุณไสยทั้งหมด เรายังมีการรวมอาณาจักรล้านนาเข้ากับไทยทำให้มีไสยศาสตร์ของล้านนาด้วย แล้วก็ยังดัดแปลงวิชาของมอญ พม่า ลาว มาผสมปนไปกันหมด
อันดับที่ ๔ ไสยศาสตร์อิสลาม ไสยเวทมุสลิม
ไสยศาสตร์อันดับที่ ๔ ไสยศาสตร์อิสลาม ไสยเวทมุสลิม อันนี้ก็น่าขนลุก เอาความดีของตัวเองมาเป็นค่าของไสยศาสตร์ คุณไสยนี้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านว่าไว้อย่างชัดเจน และดูไปดูมาน่าจะเป็นข้อห้ามมากกว่า ถึงยังไงชาวมุสลิมก็ไม่ใช้ เพราะเคร่งศาสนามาก แต่ถ้าพวกนอกรีตก็ระวังให้ดี ไสยศาสตร์นี้จะน่ากลัวมากๆ(ผมพูดได้แค่นี้ เดี๋ยวโดนประชาทัน)
อันดับที่ ๓ ไสยศาสตร์ตะวันตกและเอเชียตะวันตก
ไสยศาสตร์อันดับที่ ๓ ไสยศาสตร์ตะวันตกและเอเชียตะวันตก คุณไสยพวกนี้ดูเป็นผู้ดีมีการศึกษามานิดหน่อย เพราะเกี่ยวเนื่องกับศาสนาและวิทยาศาสตร์ เมื่อเกิดเรื่องคนเรานี้ก็แปลกแต่ก็มีความคิดที่ดี เอาสิ่งที่มีเหตุผลมาอธิบายสิ่งไม่มีเหตุผล พยายามเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายไสยศาสตร์ เมื่อเกิดคดีพิศวง ไสยศาสตร์พวกนี้ดูไม่ค่อยมีพิษมีภัยอะไรนัก แต่คำสาปนั้นแหลมคม และแหลมคมกว่าคุณไสยประเภทอื่นทั้งหมด มีระดับตั้งแต่อ่อนถึงรุนแรง
มารี ลาโว (Marie Laveau) ราชินีแห่งแม่มดวูดู
ตุ๊กตาวูดูดินเหนียว
ตุ๊กตาวูดูหญ้าฟาง
อันดับที่ ๒ ไสยศาสตร์จีน รวมไปจนถึงไสยศาสตร์ชนเผ่าชาวเขา
ไสยศาสตร์อันดับที่ ๒ คือไสยศาสตร์จีน ก็น่ากลัวพอสมควร แต่มันคงไกลตัวเราไปหน่อย งั้นก็พูดกันง่ายๆว่า หนึ่งในสาขาวิชาไสยศาสตร์จีนคือวิชาไสยศาสตร์ของชาวเขาทางภาคเหนือ คราวนี้คงใกล้ตัวและคงรู้ถึงความน่ากลัวกันดี ทั้งหมอผีประจำชนเผ่า เช่น แม้ว เย้า กะเหรี่ยง ปกากะญอ อาข่า อีก้อ มูเซอ เป็นต้น วิชาที่ขึ้นชื่อคือ ยาสั่ง กินถึงตาย ตายจริงๆ พระธุดงค์ที่ไม่เก่งกล้าวิชาถ้าได้กินเป็นอันจบสิ้นกันที
ขวดที่อาจจะเป็นยาสั่ง หรือยาแก้
อันดับที่ ๑ ไสยศาสตร์เขมร อาถรรพ์รเวท
ไสยศาสตร์ที่มีความน่ากลัวเป็นอันดับหนึ่งคือไสยศาสตร์เขมร ทั้งเสกตะปู เสกหนังควาย เสกควายธนู เสกใบมีดเสกเส้นผม เสกต่อแตน เสกอะไรต่อมิอะไร มาจากอาถรรพณ์เวทโดยตรงก็สมควรที่จะน่ากลัว เวลามีพิธีบูชายันต์ ฆ่าสัตว์เป็นๆมันดูป่าเถื่อน เวลาใช้กับคนส่วนใหญ่เอาถึงตาย ทำคุณไสยแค่ขู่ก็แบบสาหัส หรือพิกลพิการ และที่สำคัญแก้ไขและรักษายาก ทำคุณไสยใส่ได้ในคนจำนวนมากๆพร้อมกัน จำพวกไสยศาสตร์เขมรก็จะประกอบไปด้วยมหาเสน่ห์ ยาแฝด น้ำมันพราย ไอ้งั่งตาแดง แม่เป๋อตาแดง พราย กุมารทอง กุมารี สารพัดผี ส่วนด้านการโจมตีก็วัวธนู ควายธนู ซึ่งมีมากมายหลายแขนงวิชา วิชาที่ต่ำๆก็มีการใช้เถ้ากระดูก กระดูก ดินป่าช้า ดินใต้โลงศพ ดินบนโลงศพ เลือดมนุษย์ น้ำหนองผี เลือดประจำเดือน ปัสสาวะ ดินเจ็ดบ่อน ดินเจ็ดตลาด เดินติดเท้า อะไรประมาณนี้ ส่วนของที่เขาจะเอาไปทำก็มีภาพถ่ายของเหยื่อ เส้นผมของเหยื่อ เล็บมือของเหยื่อ เศษหนังเศษเนื้อ น้ำตา น้ำลาย เลือด ปัสสาวะ ดินติดเท้าติดรองเท้า เสื้อผ้า แม้กระทั้งฟัน หรือเม็ดข้าวที่คายทิ้งหรือกินไม่หมด บางครั้งแค่รอยมือรอยเท้าก็เอาไปทำคุณไสย์ได้
ไอ้งั่งตาแดง
พิธิการดวงชะตา
จำลองพิธีเซ่นผี เรียกผี ปลุกผี แบบเขมรจากภาพยนตร์ล่า-ท่า-ผี
จำลองพิธีปลุกผีครู ปลุกของ และตั้งพิธีทำคุณไสย์ จากภาพยนต์จอมขมังเวทย์
จำลองเหตุการณ์เสกตะปูเข้าร่างกาย สามารถเสกเข้าได้ทุกส่วน
เช่นรูปนี้เสกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง จากภาพยนต์จอมขมังเวทย์
กุมารทอง-กุมารี
ไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์ หรือ ศาสตร์มืด คือการทำ “คุณไสย” ในพจนานุกรมไทยให้คำจำกัดความ คุณไสย ว่า “เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายอมิตร” เป็นศาสตร์ที่ทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ แต่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคนเชื่อและผู้ปฏิบัติทั่วโลก
ในแต่ละชุมชนจะมีรูปแบบของไสยศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่สรุปแล้วไสยศาสตร์ก็คือการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น โดยผิดแปลกจากกฏของธรรมชาติ เช่น ทำให้สามีภรรยาที่ดีกันทะเลาะและแยกทางกัน ทำให้สาวหลงรักหนุ่มที่เคยเกลียด ซึ่งปกติแล้วจะใช้ไสยศาสตร์มาใช้ในทางที่ชั่วร้าย โดยเฉพาะการทำ “คุณไสย” ที่เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายผู้ไม่เป็นมิตรด้วยการปลุกเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปในตัว หรือฝังรูปฝังรอย หรือการทำเสน่ห์ยาแฝด ลงนะ จากผู้ที่อ้างตัวว่ามีอาคม ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นพวกที่ทำมาหากินด้วยการหลอกลวงผู้คน หรือที่เรียกว่า พวกสิบแปดมงกุฎ ถึงกระนั้นก็ตาม“คุณไสย” หรือ “มนต์ดำ” ยังมีผู้หลงงมงายมากมาย
ไสยศาสตร์ถือเป็นศาสตร์ที่ลี้ลับมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และมีทั่วโลกแม้กระทั่งในเวลาปัจจุบัน แม้รูปแบบจะแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การทำอันตรายต่อผู้คนด้วยวิธีที่ลี้ลับ
ลัทธิไสยศาสตร์ คือการรวมอำนาจจิต รวมพลังงานทางจิตซึ่งได้ทำการอบรมจิตใจให้มีความยึดมั่น เชื่อถือ อย่างจริงจัง ดำเนินไปตามหลักทางไสยศาสตร์ ตามวิธีการนั้น ๆ ก็จะสามารถแสดงฤทธิ์ปาฎิหารย์ได้ด้วยกระแสคลื่นแห่งพลังอำนาจจิตอันแรงกล้า ของ มโนภาพ สมาธิ จิตตานุภาพ ทั้งสามประการนี้ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจที่ประหลาดมหัศจรรย์ขึ้นได้
ลัทธิไสยศาสตร์ ได้เกิดขึ้นมาก่อนพุทธกาล ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ไตรเพท ในลัทธิของพราหมณ์ ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
ฤคเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์และสรรเสริญพระเจ้า
ยชุรเวทย์ เป็นคำร้อยแก้วให้สำหรับท่องบ่นเวลาบวงสรวงบูชาพระเจ้า
สามเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์ทำพิธีถวายน้ำโสม
อาถรรพ์รเวทย์ เป็นคัมภีร์ประกอบด้วยเวทยมนต์คาถาเรียกผีสาง เทวดาให้ช่วยป้องกันอันตรายให้ และให้มีการแก้อาถรรพ์ ทำพิธีสาปแช่งให้เป็นอันตรายได้ด้วย
.________________________________________________.
อาถรรพ์รเวทย์
อาถรรพ์ไสยศาสตร์. อาถรรพ์รเวทย์ในคัมภีร์ไสยศาสตร์ แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ
นิกายขาว (White System) เป็นวิชาที่ใช้ในทางดี คือช่วยเหลือมนุษย์ให้มีสุขปลอดภัย
นิกายดำ (Black System) เป็นวิชาที่ใช้ในทางชั่ว คือทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
คัมภีร์แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ทางเวทมนตร์คาถา
มี 8 ประเภทคือ
พระเวทย์แก้โรคต่าง ๆ
พระเวทย์ประสาน
พระเวทย์สะเดาะ เช่น สะเดาะกุญแจและโซ่ตรวน
พระเวทย์ป้องกันตัว เช่น คาถาแคล้วคลาด
พระเวทย์แสดงปาฎิหาริย์
พระเวทย์ทำอันตรายผู้อื่น
พระเวทย์แก้ภูติผีปีศาจ เช่น คาถาสะกดวิญญาณ
พระเวทย์ทำเสน่ห์ เช่น มนตร์เทพรำจวญ
.________________________________________________.
เวทมนตร์
เวทมนตร์ หมายถึง ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ คำสำหรับเสกที่พึงจะรู้ ควรจะรู้ มาจากศัพท์ “เวท” (หมายถึง ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; คาถาอาคม) และ “มนต์”, “มนตร์” (หมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล) ฉะนั้น อาจจะตีความได้ว่า การศึกษาเวท คือ การศึกษาสิ่งที่พึงจะรู้, และการศึกษามนตร์ คือ การศึกษาคำสวด คำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตีความความหมายที่ซ่อนอยู่ ต้องเรียนรู้ทั้งสอง จึงจะเรียกตนเองได้ว่าผู้มีเวทมนตร์โดยไม่ละอายใจ
การเรียนรู้เวทมนตร์แท้จริงเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะเวทมนตร์เป็นสิ่งรอบๆตัวที่มีอยู่ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ การปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งอาจจะต้องหาผู้ชี้นำ ซึ่งมีทั้งมีสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
เวทมนตร์ เป็นศาสตร์แห่ง ความเชื่อ ที่ว่าด้วยอำนาจที่เหนือการพิสูจน์ เป็นพลังอันเกิดจากการบริกรรมคาถาด้วยความสงบทางจิต มีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดไปจากปกติ เช่น ฟ้าผ่า ไฟลุก
คำว่า เวทมนตร์ ในภาษาอังกฤษ ใช้ว่า “magic” ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “magique” โดยเป็นคำยืมจากภาษาละตินว่า “magice” และภาษากรีก ”μαγική (τέχνη)” ซึ่งหมายถึง ศิลปะ สำหรับในภาษาไทย มีศัพท์บัญญัติว่า “มายิก” คือทับศัพท์จากคำนี้ ไม่เพียงอย่างนั้น คำสวดแต่ละคำย่อมมีความหมายแผงอยู่ภายในตัว เช่น โอม นะ มัด ศิวะ ถ้าสวดต่อไปมากๆย่อมจะมีความหมายมากๆ
ประเภทของเวทมนตร์
เวทมนตร์มีหลายประเภท อาจพบได้ในเกมหรือนิยาย ซึ่งบางส่วนสอดคล้องตรงกับตำราโบราณที่มีจริง แต่ก็มีบางส่วนที่แต่งเติมเสริมต่อออกไป อาจจัดแบ่งตาม ผลที่เกิดจากใช้เวทมนตร์เช่น เวทมนตร์รักษา เวทมนตร์คุ้มกัน เป็นต้น หรือแบ่งตามพลังงานรูปหนึ่งที่อยู่รอบข้างตัว มักจะกำหนดให้ประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่
ธาตุพื้นฐาน 4-5 ธาตุ (ซึ่งตรงกับ ธาตุพื้นฐานที่ศาสตร์โบราณกล่าวถึงจริงๆ) คือ
ตำรายุโรป ได้แก่ ดิน , น้ำ , ลม , ไฟ
ตำราจีน ได้แก่ ดิน , น้ำ , ไม้ (หรือ ลม) , ไฟ , ทอง (หรือโลหะ)
ธาตุเสริม เช่น อัญมณี , สายฟ้า , หมอก , เมฆ , น้ำแข็ง , แสง , โชค โดยบางครั้งเวทมนตร์อาจจะถูกนำมาอ้างอิงในศาสนา , ลัทธิ หรือความเชื่อ
ลัทธิวูดู และ ลัทธิฮูดู
ลัทธิวูดู สามารถสะกดได้หลายอย่าง เช่น Vodun, Vodou, Voudou, Vudu, Vodounเป็นลัทธิของแอฟริกาตะวันตก วูดูเกี่ยวกับ สัตว์ และวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว และพิธีกรรมหลายอย่างของวูดูเกี่ยวกับการทำพิธีกรรมเพื่อบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว มีพื้นฐานมาจาก คาทอลิก คำว่าวูดูมาจากภาษาฟอล อวี หมายถึงวิญญาณ ลัทธิวูดูเป็นลัทธิดั้งเดิมแห่งเกาะเฮติ ที่สอนให้เชื่อเรื่องเวทมนตร์ และพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เหล่าหมอผีใช้มนตร์ดำปลุกวิญญาณคนตายขึ้นมาเป็นทาส รับใช้ที่เรียกว่า ซอมบี้ เชื่อกันว่าในช่วงทศวรรษที่ 1910 ซอมบี้มากมายถูกปลุกขึ้นมาเป็นแรงงานในไร่อ้อย สร้างความแตกตื่นแก่ผู้คนทั้งเกาะ หากวันนี้มนตร์ดำยังไม่คลายความขลัง อาจมีซอมบี้อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนเกาะก็ได้ แต่ก็ยังคงเป็นปริศนาถึงเรื่องเวทมนตร์ถึงทุกวันนี้
ฮูดู คือความเชื่อทางไสยศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งผสมผสานระหว่างความเชื่อทางไสยศาสตร์พื้นบ้านของชาวแอฟริกันกับความเชื่อของชาวอเมริกัน โดยมีพื้นฐานมาจากความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและธรรมชาติของแอฟริกันโบราณ ความเชื่อแขนงนี้แพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านทางทาสชาวแอฟริกันตะวันตกในรูปแบบของเครื่องราง เวทมนตร์คาถาทั้งเพื่อการรักษา ป้องกันเคราะห์ อวยพร ตลอดจนสาปแช่ง เครื่องรางที่เป็นเอกลักษณ์ของความเชื่อแขนงนี้คือ โมโจ (Mojo) มีลักษณะเป็นถุงใส่สมุนไพร รากไม้ เศษกระดูกหรือชิ้นส่วนเล็กๆของสัตว์ เหรียญ หินต่างๆ ตลอดจนวัสุอื่นๆ ที่เชื่อว่ามีพลังพิเศษ
Hoodoo /’hu:du:/ฮูดู/ n. (American English) (bad spell) อาถรรพณ์ (ทางร้าย) , คุณไสย (British English) (bringer of bad luck) ตัวกาลกินี, ตัวซวยOxford River Books English – Thai Dictionary อธิบายคำว่า Hoodoo ไว้ดังนี้
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฮูดูและวูดู
การเขียนและการออกเสียงที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสนระหว่างคำว่าฮูดูและวูดู (Voodoo) ว่าเป็นคำเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วฮูดูและวูดูมีที่มาและลักษณะที่แตกต่างกัน
วูดู เป็นศาสนาโบราณในประเทศแอฟริกา ซึ่งเป็นที่นิยมและแพร่หลายไปทั่วทวีปแอฟริกาตะวันตก มีอิทธิพลต่อความคิด ขนบประเพณี และการดำเนินชีวิตของชาวแอฟริกันหลายเผ่า แม้ส่วนใหญ่ผู้คนจะรู้จักวูดูในด้านที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นซอมบี้ การสาปแช่งโดยนำเศษผมหรือเล็บของศัตรูไปใช้ประกอบพิธีหรือการปักเข็มบนตุ๊กตาวูดู แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนย่อยของวูดูซึ่งมีรายละเอียดที่ลึกซึ้ง ศาสนาวูดูมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าว่าคอยดูแลธรรมชาติและความเป็นอยู่ของผู้คน กำหนดแนวทางให้อยู่กันอย่างสงบสุขระหว่างคนและธรรมชาติ แม้แต่การปักเข็มลงบนตุ๊กตาก็มีที่มาจากการสอนการรักษาโรค และผู้นับถือศาสนาวูดูก็เป็นเหมือนผู้คนทั่วไปที่นับถือศาสนาอื่นๆ มิได้นับถือปิศาจอย่างที่สื่อนำเสนอแต่อย่างใด
ในขณะที่ฮูดูนั้นเป็นเพียงแค่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ประยุกต์เอาความเชื่อต่างๆ ในแอฟริกา ซึ่งรวมถึงความเชื่อของศาสนาวูดูด้วย มาประยุกต์เข้ากับความเชื่อพื้นบ้านของชาวอเมริกัน ฮูดูใช้วัตถุตามธรรมชาติทั้งเพื่อสาปแช่งและรักษาผู้ป่วย และในเพลงบลูส์ของอเมริกาจำนวนมากล้วนมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับฮูดูแทรกปนอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งวูดูและฮูดูล้วนเกี่ยวพันกับธรรมชาติ มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความคิด ความรู้สึกของผู้คน แม้จะอยู่ในระดับที่ต่างกัน ที่สำคัญคือมิได้เป็นความเชื่อที่มีแต่ข้อเสีย แต่มีทั้งการรักษาอาการเจ็บป่วย การเยียวยาบำบัดทั้งสภาพกายและใจของผู้คนให้ดีขึ้น ตลอดจนข้อดีอื่นๆ ต่อการดำเนินชีวิตรวมอยู่ด้วย
ตอนหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่อง Skeleton Key ขณะที่นางเอกกำลังทำพิธีฮูดู ก่อนที่เรื่องจะจบลงอย่างคาดไม่ถึง
ในอเมริกา ความเชื่อเกี่ยวกับฮูดูแพร่หลายไปในสื่อต่างๆ มากมาย ทั้งในวงการเพลง เช่น เพลงบลูส์ Born on the Bayou ของ Creedence Clearwater Revival ก็มีเนื้อหาบางตอนที่เกี่ยวข้องกับฮูดู หรือวงร็อก Muse ที่ตั้งชื่อเพลงเพลงหนึ่งว่า Hoodoo โดยตรง หนังสือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเชื่อแขนงนี้ไปจนถึงตำราฝึกปฏิบัติ เช่นเกม เช่นในเกม Gabriel Knight: Sins of the Father เกมแนว adventure ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2536 มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับฮูดูเช่นกัน แม้ว่าความเชื่อแขนงนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่อง Skeleton Key ที่นำเข้ามาฉายในชื่อไทยว่า “เปิดประตูหลอน” ก็ทำให้มีผู้รู้จักฮูดูเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อหาของภาพยนตร์มุ่งเน้นไปที่การใช้เวทมนตร์คาถาของฮูดู
ฮูดูเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะมีเรื่องราวที่แปลกประหลาด มหัศจรรย์ บางเรื่องอาจเหนือธรรมชาติ จึงช่วยกระตุ้นความใฝ่รู้ได้เป็นอย่างดี กระนั้นควรศึกษาในแง่ของความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมในฐานะที่ฮูดูเป็นความเชื่อที่มีอยู่จริง สามารถศึกษาได้ทั้งแนวกว้าง คือค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติม และแนวลึก คือการวิเคราะห์ วิจัยอย่างลึกซึ้งถึงเหตุผล ทั้งด้านความสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของผู้คน หรือศึกษาในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แต่ไม่ควรศึกษาด้วยความงมงาย หวังจะนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ เพราะความเชื่อเรื่องฮูดูนั้นเหมือนกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์แขนงอื่นๆ คือไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และการเชื่ออย่างไร้เหตุผลนั้นย่อมนำผลเสียมากกว่าผลดีมาสู่ผู้ศึกษา