หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โทษและผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส HIV

โพสท์โดย ห้อย

ยานั้นมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ แม้ยาต้านไวรัสจะช่วยให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ปรากฏอาการของเอดส์ แต่ปัญหาของยาต้านไวรัสเท่าที่พบผู้ติดเชื้อบางส่วน มีผลในเรื่องของสารเคมีตกค้างและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุผลนี้การที่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสจึงต้องได้รับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรายละเอียดโทษและผลค้างเคียงของยาแต่ละชนิดมีดังต่อไปนี้

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 1 NRTls

1. AZT คลื่นไส้, ปวดศรีษะ,โลหิตจาง, กล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบเล็กลง ,เล็บดำและผิวคล้ำขึ้น
2. ddI ตับอ่อนอักเสบ,อุจจาระร่วง, คลื่นไส้, ปลายประสาทอักเสบ
3. ddC ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
4. d4T ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
5. 3TC ตับอ่อนอักเสบ
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) มีไข้,ผื่น, มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ,ทางเดินอาหาร

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir) หากมีการเริ่มใช้ยาตัวนี้แล้วมีอาการแพ้จากผลข้างเคียงของยาคือ มีไข้ ผื่น มีอาการทางระบบการหายใจ และอาการของระบบทางเดินอาหาร ภายใน 42 วันแรกหลังเริ่มใช้ยานี้ และเมื่อหยุดการให้ยาตัวนี้แล้ว แม้คนไข้มักจะมีอาการดีขึ้น ก็ห้ามกลับมาใช้ยาตัวนี้ใหม่อีกครั้ง เพราะพบว่ามีการเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 2 NNRTls

1.ไวรามูน (Viramune) เกิดผดผื่นเม็ด,ตับอักเสบ
2. สโตคริน (Stocrin) มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มึนงง, ฝันประหลาด

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 3

1. ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase) ปวดศรีษะ,อุจจาระร่วง
2. ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน,ตับอักเสบ
3. ครีซีแวน (Crixivan) เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วในกระแสเลือดสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อเซลล์สมอง,ปวดหัว,อ่อนเพลีย
4. ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ถ่ายเหลว,ท้องเสีย,อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
5. กาเล็ทตร้า (Kaletra) ท้องเสีย,ทำให้ไขมันอุตตันในกระแสเลือด,ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน ,ตับอักเสบ

ผลข้างเคียงที่
เกิดในระยะยาว
l โปรดให้แน่ ใจว่าท่านได้รับการตรวจที่
คลินิกของท่าน
เป็ นประจำในเรือง ตับ ไต และกระดูก เพื่อตรวจว่าทุกอย่างเป็นปกติท่านควรจะได้รับการตรวจระดับคอเรสเตอร์รอลและกลูโคส ถ้าอยู่ในระดับสูง จะหมายความว่าท่านจะอยู่ในความเสี่ยงที่สูงขึนในการเป็ นโรคหัวใจ เบา หวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
l การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของท่าน (น้ำหนักลดหรือมีไขมันเพิ่มเฉพาะแห่ง) เกิดไม่บ่อยเท่าที่ผ่านมา แพทย์ ในปัจจุบันพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่
จะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้

 

ยาต้านเชือไวรัสนี้ นอกจากจะช่วยควบคุมเชื้อ HIV แล้วยังอาจจะมีผลต่อร่างกายในอีกทางหนึ่งคือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทีเรียกว่า ‘ผล ่ข้างเคียง

 

ภาวะโภชนาการ
คือการได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีความสัมพันธ์โดย
ตรงต่อผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเอดส์แล้วดังแสดงในแผนภูมิข้างต้น
หากผู้ป่วยไม่สามารถได้รับอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอและไม่สามารถรักษาน้ำหนักตัวไว้ได้ ก็จะทำให้
ร่างกายอ่อนแอและการควบคุมอาการของโรคเป็นไปได้ยากขึ้น

การคำนวณทางสถิติ
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้แก่ อาการเบื่ออาหาร การมีแผลในปากหรือ
ลำคอ ซึ่งทำให้รับประทานทานอาหารลำบาก อาการท้องเสีย การติดเชื้อซึ่งทำให้ร่างกายเผาผลาญ
พลังงานมากขึ้น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการเครียดกังวล หรือไม่สามารถจัดหาอาหารได้เพียงพอ
กับความต้องการของร่างกาย ซึ่งพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะที่ร่างกายเจ็บป่วย เมื่อน้ำหนักตัวลด
ร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อจะลดลงอีก ทั้งรูปร่างหน้าตา ร่างกายที่ผอมลง
ก็ยังทำให้สุขภาพจิตแย่ลงไปอีกด้วย

อาการท้องเสีย
อาการท้องเสียพบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งนี้มีสาเหตุจากผลข้างเคียงของการใช้ยาต้าน
ไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะยากลุ่ม protease inhibitors, ddI, และ abacavir หรือยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษา
อาการติดเชื้ออื่นๆ ในผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำ อาการท้องเสียอาจเกิดได้จากการติดเชื้อฉวยโอกาส
โดยตรง

อาการท้องเสียที่เกิดจากการใช้ยาอาจหายไปได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการ
ดื่มกาแฟ อาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันปริมาณสูง และอาจรับประทานเครื่องดื่มที่ช่วยทดแทนการ
สูญเสียเกลือแร่และน้ำ กล้วย มันฝรั่ง เนื้อไก่และปลา สามารถทดแทนการสูญเสียโปแตสเซียมได้ดี

โภชนาการสำหรับผู้ป่วย HIV/AIDS
อาหารที่รับประทานตามปกติอาจจะเพียงพอที่จะให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้ติดเชื้อ HIV
อยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะมีอาการเบื่ออาหารและทานอาหารได้ยากเนื่องจากแผลในปากและคอ
โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอาจส่งผลให้
กระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกายโดยเฉพาะไขมันมีการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย ผู้ป่วยควรจะต้อง
รับประทานให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อสู้กับภาวะความเจ็บป่วย และทดแทนน้ำหนักที่สูญเสียไป
อาหารที่รับประทานควรจัดให้ครบหมู่และมีความสมดุล และเลือกรับประทานชนิดอาหารในแต่ละวัน
ให้หลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มของอาหาร ได้แก่

อาหารกลุ่มแป้ง: เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เผือก เป็นต้น จะให้พลังงานแก่ร่างกาย รวมถึง
เกลือแร่ วิตามินและกากใยอาหาร ผู้ป่วยควรทานอาหารกลุ่มนี้ในทุกมื้ออาหาร โดยทานวันละ 4-6 ส่วน
(1 ส่วน ประมาณเท่ากับข้าวหนึ่งถ้วย หรือขนมปัง 1 แผ่นหรือธัญพืช เช่น ซีเรียล 1 ชาม)

ผักและผลไม้: ให้วิตามิน เกลือแร่ และ กากใยอาหาร ควรรับประทานทุกวัน วันละ 5 ส่วน
(1 ส่วน ประมาณเท่ากับผลไม้ 1 ผล หรือผักสดชามใหญ่ หรือผลไม้แห้ง 1 ถ้วย หรือน้ำผลไม้คั้นสด
1 แก้ว)

เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว: ให้ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ทานวันละ 2-3 ส่วนทุกวัน (1 ส่วน
ประมาณเท่ากับไข่ 2 ฟองเล็ก หรือเนื้อหมู ไก่ 100 กรัม หรือ เนื้อปลา 150 กรัม)

ผลิตภัณฑ์จากนม: เช่น นมสด โยเกิร์ต เนยแข็ง ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และ
แคลเซียม ควรทานวันละ 3 ส่วน (1 ส่วน ประมาณเท่ากับนม 1 แก้ว หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย หรือเนยแข็ง
1 แผ่น)

ไขมัน: จากน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เนย เนยเทียม รวมถึงไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะ
ให้พลังงาน กรดไขมันที่จำเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน A, D, E, K แคลเซียมและ
ฟอสเฟต อย่างไรก็ดีหากทานอาหารพวกไขมันมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน และโรค
หัวใจและหลอดเลือดได้ น้ำมันจากปลาซึ่งมีกรดไขมัน omega-3 สามารถช่วยลดระดับไขมันที่เป็น
อันตรายต่อร่างกายเช่น triglycerides และ LDL cholesterol และเพิ่มHDL cholesterol ซึ่งมี
ประโยชน์ต่อร่างกายได้

เนื่องจากผู้ป่วยอาจทานอาหารได้ยาก การเปลี่ยนรูปแบบการทานจากมื้อใหญ่ๆ มาเป็น
มื้อเล็กๆ แต่ทานบ่อยๆ จะช่วยให้ทานได้ง่ายขึ้น กระเพาะอาหารดูดซึมสารอาหารได้และควรทาน
อาหารอ่อนๆ ที่ทานได้คล่องคอ

ร่างกายของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังไม่แสดงอาการ จะมีความต้องการพลังงานจากอาหาร
มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10% เพื่อคงน้ำหนักตัวให้คงที่และจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 20-30%
เมื่อเริ่มแสดงอาการหรือเป็นโรคเอดส์แล้ว ส่วนผู้ป่วยเด็กที่น้ำหนักตัวเริ่มลดจะต้องการพลังงานเพิ่ม
ขึ้นอีกกว่า 50% เพื่อคงน้ำหนักตัวให้คงที่

แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอที่จะยืนยันปริมาณโปรตีนและไขมันที่
ต้องการเป็นตัวเลขชัดเจน เมื่อติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยอาจต้องทานอาหารกลุ่มโปรตีนมากขึ้น 50-100%
ของปริมาณปกติ คือประมาณ 85 กรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือ 72 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง เพื่อช่วย
ในการสร้างกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป และควรมีอาหารกลุ่มที่ให้พลังงานเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำหนักตัว
วิตามินและเกลือแร่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแต่ก็ควรจะได้มาจากการทานอาหารให้เพียงพอ เพราะ
การทานวิตามินเสริมปริมาณสูง เช่น วิตามินเอ สังกะสีหรือเหล็ก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ทานยาต้านไวรัสเอดส์
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์มักจะพบผลข้างเคียง คือภาวะผิดปกติของ
ไขมัน (lipodystrophy) โดยรูปร่างของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนแปลง ไขมันในเลือดสูงขึ้น และอาจส่งผลต่อ
การเกิดโรคหัวใจหรือเบาหวานได้ เมื่อผู้ป่วยเริ่มได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ ควรจะลดอาหารกลุ่มไขมัน
โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ซึ่งจะมีมากในกลุ่มเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม และไขมันอิ่มตัวจากน้ำมัน
ปาล์มและมะพร้าว เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันในเลือดสูง จะต้องปรับอาหารโดยเน้นการทานผักและ
ผลไม้ ประมาณ 5 ส่วนต่อวัน ร่วมกับการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ซึ่งจะช่วยเสริม
การสร้างกล้ามเนื้อและผ่อนคลายความเครียดและทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น

อาหารเสริม
ผู้ติดเชื้อ HIV จำนวนมาก หันมาทาน วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาสมุนไพรมากขึ้น เพื่อ
หวังว่าจะช่วยให้ภูมิต้านทานในร่างกายดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะคงไม่สามารถหา
ข้อสรุปที่ชัดเจนได้ง่ายนัก โดยเฉพาะเมื่อเริ่มให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ผู้ป่วยอาจทานอาหาร
เสริมหลากหลายชนิด และเปลี่ยนแปลงชนิดบ่อยๆ ทำให้การติดตามผลเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามมี
การศึกษาบางอย่างชี้ว่าอาหารเสริมบางชนิดมีผลต่อการรักษา เช่น สารสกัดจากกระเทียมซึ่งเชื่อว่าจะ
ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจ มีผลทำให้ประสิทธิภาพการรักษาด้วยยา Saquinavir ลดลง และอาจส่ง
ผลต่อการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม Protease inhibitor ตัวอื่นๆ เช่นกัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ สมุนไพร
St. John’s wort ซึ่งใช้มากในต่างประเทศ พบว่ามีผลลดระดับยาในเลือดของ Indinavir ซึ่งเป็นยา
กลุ่ม Protease inhibitor เช่นกัน และอาจส่งผลต่อยากลุ่ม NNRTIs ด้วย

ในประเทศไทยเองก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มสนใจใช้สมุนไพรหลายชนิดรักษาเสริมกับการใช้ยา
ต้านไวรัสเอดส์ แต่ทั้งนี้พึงระลึกเสมอว่าสมุนไพรก็มีสารซึ่งอาจจะมีผลเปลี่ยนแปลงการรักษาของยา
ได้เช่นกัน ทางที่ดีหากจะใช้สมุนไพรร่วมในการรักษาก็ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลการรักษาทราบ เพื่อ
ติดตามผลด้วย

ผู้ป่วยมักจะได้รับคำแนะนำให้ดูแลการทานอาหารให้ครบถ้วน และอาจทานวิตามินรวมได้
บ้าง และแม้ว่าจะมีการแนะนำว่า วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้
ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็ก และเป็นประโยชน์สำหรับแม่ที่ติดเชื้อ HIV แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทาน
วิตามินหรืออาหารเสริมในปริมาณสูงมากๆ (megadosage) เกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน ทั้งนี้
วิตามินปริมาณสูงมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น

วิตามินเอ: ปริมาณสูงเกินไป เช่นเกิน 9,000 ไมโครกรัมในผู้ชาย หรือ 7,500 ไมโครกรัม
ในผู้หญิง จะส่งผลเสียต่อตับและกระดูก อาเจียน และ ปวดศีรษะ

วิตามินซี: เกินกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดโรคนิ่วในไต ท้องเสียและหลอด
เลือดแข็งตัว พบว่าปริมาณยา Indinavir ในกระแสเลือดจะลดลงในผู้ป่วยที่รับประทานวิตามินซี
ปริมาณสูง ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของยาลดลงได้

วิตามินอี: เกินกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้โดยเฉพาะเมื่อทานยา
Amprenavir

สังกะสี (Zinc): ปริมาณเกินกว่า 75 มิลลิกรัมต่อวัน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะพร่อง
ทองแดง (copper) neutropenia และโลหิตจาง

ซีลีเนียม (Selenium): เกินกว่า 750ไมโครกรัมต่อวัน เกี่ยวข้องกับการกดภูมิต้านทาน
ของร่างกาย

วิตามินบี 6: มากกว่า 2 กรัมต่อวัน อาจส่งผลทำลายเส้นประสาทและพบว่าขนาด 50
มิลลิกรัมต่อวัน สัมพันธ์กับภาวะปลายประสาทอักเสบ

แคลเซียม: ขนาดมากกว่า 1.5 มิลลิกรัม สัมพันธ์กับภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป

เหล็กและโฟเลท (Iron, Folate): องค์การอนามัยโลก แนะนำให้แม่ติดเชื้อ HIV ที่ตั้ง
ครรภ์ ทานเหล็กวันละ 60 มิลลิกรัมและโฟเลท วันละ 400 มิลลิกรัม ในช่วง 6 เดือนของการตั้งครรภ์
เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง และให้ทานเพิ่มเป็นวันละสองครั้ง เพื่อ
รักษาภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรง

ดังนั้นหากผู้ป่วยคิดจะรับประทานวิตามิน อาหารเสริมหรือสมุนไพรชนิดใดควบคู่กับการ
รักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลการรักษาทราบทุกครั้ง
เพื่อจะได้ติดตามการรักษาได้อย่างใกล้ชิด

แอลกอฮอล์
การดื่มเหล้า และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้
ร่างกายฟื้นจากการติดเชื้อได้ยากขึ้น อีกทั้งยังมีผลทำลายตับและก่อภาวะตับอักเสบด้วย ผู้ติดเชื้อ
HIV เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สำคัญมากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงและออกฤทธิ์ของยา
ต้านไวรัสเอดส์ แอลกอฮอล์ส่งผลต่อการดูดซึมของยาต้านไวรัสเอดส์บางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยังส่งผลต่อจิตใจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง ในกรณีที่ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์
มากจนอาเจียนภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานยา ก็ควรจะทานยาใหม่อีกครั้งเพื่อรักษาระดับยาในเลือด
ป้องกันการดื้อยา ผู้ป่วยควรเลิกบุหรี่ด้วยเนื่องจากทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร

น้ำ
ควรดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ช่วยในการทำงานและป้องกันผล
ข้างเคียงของยาบางชนิดได้ เช่น Indinavir เมื่อผู้ป่วยมีภาวะไข้ ท้องเสีย หรือสูญเสียเหงื่อจากการ
ออกกำลังกาย ก็ควรดื่มน้ำมากขึ้นเป็น 150-250 มิลลิลิตรทุก 15 นาที อาจดื่มน้ำผลไม้แทนได้ แต่
ควรงดเหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะมีส่วนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ

อนามัยด้านอาหารสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV
ผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 200 cell/mm3 มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อหรือเกิดอาหารเป็น
พิษได้ง่าย จึงควรใส่ใจต่ออนามัยในการปรุงอาหารให้มาก

- หลีกเลี่ยงการทานอาหารดิบ เช่น ปลาดิบ เนื้อที่ยังปรุงไม่สุกเต็มที่

- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

- หลีกเลี่ยงโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเครื่องดื่ม
ที่มีส่วนผสมของ Probiotic

- อาหารที่สุกแล้วตั้งทิ้งไว้นาน ควรนำมาอุ่นใหม่ก่อนทาน ไม่ควรทานอาหารที่ไม่ได้แช่เย็น
ค้างเกิน 1 วัน

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีราขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม รวมถึงอาหารที่เลยวันหมดอายุแล้ว

- ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนทาน

- เก็บแยกอาหารที่ยังไม่ได้ทำให้สุกกับอาหารที่สุกแล้วออกจากกันเป็นสัดส่วนเพื่อกันการ
ปนเปื้อนเชื้อจากอาหารดิบไปสู่อาหารสุก รวมทั้งดูแลความสะอาดของภาชนะ และอุปกรณ์ทำอาหาร
ด้วย

- อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วหากจะเก็บในตู้เย็นเพื่อรับประทานต่อไปก็ไม่ควรจะเก็บเกิน 2 วัน
หากจะเก็บไว้รับประทานนานกว่า 2 วันควรแบ่งส่วนเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง

- ผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 200 cell/mm3 ควรดื่มน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว หรือหาก
ไม่สามารถหาได้อาจใช้น้ำที่ผ่านการต้มให้เดือดฆ่าเชื้ออย่างน้อย 5-10 นาทีแล้ว และเก็บในภาชนะ
ปิดสนิท เพื่อลดโอกาสติดเชื้อที่ปนเปื้อนมาในน้ำ สำหรับการดื่มหรือการเตรียมอาหาร และแปรงฟัน
ควรระวังการใช้น้ำประปาหรือน้ำแร่ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ

- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหาร

อาหารอาจไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นโรคเอดส์ แต่การเอาใจใส่ด้าน
โภชนาการที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานขึ้น

Tags  hiv
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห้อย's profile


โพสท์โดย: ห้อย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
37 VOTES (4.1/5 จาก 9 คน)
VOTED: เชษฐ์ คนเดิม, Crystal Maiden, คุณกิน นะจ๊ะ สวยค่ะ, PRP, บาป, ห้อย
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!4สำนักดัง ให้เลขชนกันอีกแล้ว งวด 2 พฤษภาคม 2567หนังเรื่อง "คนกราบหมา" ได้เข้าฉายหลังจากถูกแบนมา 25 ปีบ.ญี่ปุ่น ปล่อยน้ำปนเปื้อนรอบที่ 5 แล้ว!!พ่อของ "น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์" เสียชีวิตแล้วเลขเด็ดลุงแป้น 2 พฤษภาคม 2567เกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่เขมรอ้างเล่นสาดน้ำมาตั้งแต่คศ.1974 แต่โป๊ะแตก! ตอนนั้นเขมรมีสงครามอยู่เลย?ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"คีอานู รีฟส์" รู้สึกเซอร์ไพรส์..หลังแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่เป็นชื่อตนเองเกิดเหตุเรือล่มในสาธารณรัฐแอฟริกากลางไปซื้อน้ำแข็งแต่สิ่งที่ได้มาด้วยคือเจ้าตัวนี้สิ้นแล้ว! "ทวี ไกรคุปต์" บิดาของ "เอ๋ ปารีณา"
ตั้งกระทู้ใหม่