ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มติตอาวุธนิยมรัสเซียแบ่งแยกตัวเองจากยูเครน
ธงของสาธาณรัฐประชาชนโดเนตสค์
ธงของสาธารรัฐประชาชนลูฮานสค์
แผนที่ยูเครน
Alexander zakharchenko(อเล็กซานเดอร์ ซาคาเชนโก) ผู้นำ(ที่เรียกตัวเองว่า)สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มติตอาวุธนิยมรัสเซียแบ่งแยกตัวเองจากยูเครน
ในประเทศยูเครนนั้นมีประชาชนที่พูดภาษารัสเซียอยู่หลายเมือง (เขต/จังหวัด) เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามแผนที่ของประเทศยูเครนแล้วก็เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของยูเครนก็ว่าได้ โดยส่วนมากจะเป็นเขตที่อยู่ติดหรือใกล้เคียงกับฝั่งรัสเซีย (ดูภาพแผนที่ประกอบ) กลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนออกจากยูเครนนั้น ตอนนี้มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
1.) กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "สาธารณรัฐประชาชนลูฮานส์ก" (Luhansk People's Republics) หรือที่เรียกชื่อย่อว่า "LPR"
2.) กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "สาธารณรัฐประชาชนโดเนทส์ก" (Donetsk People's Republics) หรือที่เรียกชื่อย่อว่า "DPR"
ทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนทั้งทางอาวุธ อาหาร และเงินทุนจากรัสเซียและเป็นพวกนิยมรัสเซีย จึงถูกเรียกว่า "pro-Russian" เมื่อคำนวณจพื้นที่โดยสายตาคร่าวๆ ของทั้งสองแห่งนี้รวมกันแล้วก็จะมีขนาดใกล้เคียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จะว่ามากหรือน้อยนั่นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะเห็นเป็นเช่นไร
เดิมทีนั้นทั้งรัสเซียและยูเครนก็เคยเป็นส่วนหนึ่งสหภาพโซเวียตมาก่อน พอสหภาพโซเวียตล่มสลายกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็แยกกันปกครองแบ่งออกมาเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย บางส่วนก็ยังเป็นเขตปกครองตนเอง (สาธารณรัฐ) แต่ก็ยังขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางของรัสเซียก็มีหลายสาธารณรัฐเช่นกัน ส่วนยูเครนนั้นแยกเป็นประเทศหนึ่งออกมาต่างหากเป็นอิสระทางการปกครองจากรัสเซีย ก็คล้ายๆ กับหลายประเทศที่แยกออกมาจากโซเวียตนั่นเอง แม้จะแยกตัวออกมาแล้วกลุ่มประเทศเหล่านั้นก็ยังคบค้าสมาคมกันตามปรกติ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่กันตามปรกติ ในระดับรัฐบาลก็มีโครงการร่วมมือกันซึ่งเป็นโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการด้วยกันเรื่อยมา
จนกระทั่งเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในยุโรปที่เรียกว่า "สหภาพยุโรป" นั่นแหละ เค้าลางแห่งปัญหาได้เริ่มก่อตัวขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่ชัดซะเดียวว่าสหภาพยุโรปจะเป็นตัวก่อปัญหาระหว่างยูเครนกับรัสเซียได้ และที่ยุโรปเขารวมตัวกันนั้นก็เพื่อทานประเทศมหาอำนาจทั้งหลายในตอนนั้นได้แก่สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย ที่สำคัญก็คือสหรัฐฯนั่นแหละ เพราะค่าเงินแต่ละประเทศในยุโรปตอนนั้นแทบจะสู้ดอลล่าของสหรัฐฯไม่ได้เลยยกเว้นอังกฤษประเทศเดียว และเงินดอลล่าของสหรัฐฯก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปมีหวังโดนอมเมริกากลืนแน่ๆ จึีงได้รวมกันขึ้น
พอรวมกันเป็นสภถาพยุโรปแล้วก็อยากจะได้ยูเครนมาเสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและอาวุธด้วย เพราะยูเครนมีเทคโนโลยีเจ๋งๆ ของโซเวียตเก่าอยู่มากเช่นด้านอาวุธและด้านอวกาศด้วย สหรัฐฯ แม้จะไม่ค่อยปลื้มเท่าไรที่เห็นยุโรปรวมตัวกันได้แต่ก็คัดค้านไม่ได้เพราะสหรัฐฯเองถ้าไม่มียุโรปก็คงอยู่ไม่ได้แน่ ก็จำใจหยวนๆไปแต่ก็ใช้วิธีส่งกองทัพของตัวเองไปตั้งฐานทัพของสหรัฐฯไว้ในยุโรปเป็นจำนวนมากเช่นกันและผ่านนาโต้ด้วย ประมาณว่าถ้ายุโรปหือขึ้นมาเมื่อไรก็สามารถใช้อำนาจด้านกองทัพข่มเอาไว้ได้ เพราะตอนนี้ได้แทรกซึมเข้าไปบีบคอหอยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในยุโรปเอาไว้หมดแล้วโดยอ้างว่ามาช่วยป้องกันภัยจากรัสเซีย หารู้ไม่นั่นแหละคือยุทธวิธีกลืนโดยไม่รู้ตัว
กลับมาที่กรณีของยูเครนบ้าง ยุโรปอยากจะได้ยูเครนมาร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปด้วย เดิมทีนั้นรัฐบาลชุดก่อนของยูเครนไม่เอาด้วย เพราะญาติดีสนิทสนมกับรัสเซียมาก งานนี้สหรัฐฯคิดหนักงานนี้ถ้าให้ยูเครนตกอยู่ในมืออียู อียูก็จะมีอำนาจต่อรองกับสหรัฐฯมากขึ้นและจะเป็นคู่แข่งรายสำคัญและกลายเป็นมหาอำนาจขึ้นมาอีกรายหนึ่งแน่ๆ แต่ถ้าปล่อยให้ยูเครนจับมือกับรัสเซียต่อไป รัสเซียก็จะแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมอีก บวกกับจีนและอินเดียและกลุ่ม BRICS ก็เป็นพวกเดียวกันกับรัสเซียด้วย แต่สหรัฐฯมองว่ารัสเซียเป็นศัตรูของสหรัฐฯ ทำไมจะต้องปลอ่อยให้ยูเครนไปตกอยู่ในมืองของศัตรูตัวเองด้วยเล่า สู้เชียร์มาให้มิตรอย่างอียูไม่ดีกว่าหรือ? แต่ก่อนที่จะยกให้อียูนั้นจะต้องทำให้ยูเครนยับเยินให้มากที่สุดซะก่อน ให้ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อตกไปอยู่ในมือของอียูเพื่อไม่ให้อียูแข็งแกร่งเร็วเกินไป ฉะนั้นอเมริกาจึงพยายามชักชวนมิตรประเทศให้สนับสนุนด้านอาวุธให้กับยูเครนเพื่อไปต่อสู้กับพวกนิยมรัสเซียเป็นอย่างมาก ในขณะที่ท่าทีของฝรั่งเศสและเยอรมันไม่ค่อยจะเห็นด้วย เมื่อฝรั่งเศสบอกว่าไม่น่าจะเพิ่มมาตรการแซงชั่นรัสเซียอีก ไม่ทันไรก็เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในฝรั่งเศสซะงั้น ล่าสุดท่าทีของผู้นำเยอรมันบอกว่าจะไม่สนับสนุนยูเครนด้านอาวุธ รอดูต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเยอรมัน
ช่วงต้นปี 2557 ขณะที่อียูพยายามดึงยูเครนเข้าเป็นพวกนั้น รัสเซียรู้ว่าท่าไม่ดีแน่แล้ว ก็เลยถือโอกาสยึดไครเมียมาเป็นของรัสเซียซะเลย เพื่อป้องกันไม่ให้สหรัฐฯและนาโต้มาตั้งฐานทัพที่นั่น ในเวลาต่อมา อียูกับอเมริกาก็ยุให้ประชาชนชาวยูเครนลึกฮือขึ้นต่อต้านประธานาธิบดีคนก่อนที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกันของตัวเอง และทำได้สำเร็จจนทำให้ทั้งประธานธิบดีและนายกรัฐมนตรีคนก่อนของยูเครนต้องหนีไปลี้ภัยอยู่ที่รัสเซีย รัฐบาลใหม่ของยูเครนภายใต้การชักใยของรัฐบาลสหรัฐฯ กับอียูก็เดินหน้านำยูเครนเข้าสู่อียู ประชาชนฝั่งที่นิยมรัสเซียและพูดภาษารัสเซียส่วนมากตามบริเวณชายแดนทางตะวันออกของยูเครนที่ติดกับรัสเซียก็ไม่เห็นด้วย แม้จะคัดค้านการรวมยูเครนเข้ากับอียูแต่รัฐบาลใหม่ก็ไม่สน ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจว่า งั้นแยกกันเดินเลยละกัน ถ้ากรุงเคียฟอยากจะไปรวมกับอียูก็เชิญ งั้นชาวลูฮานส์กกับชาวโดเนทส์กจะแยกตัวเองเป็นอิสระต่างหากและอาจจะไปแยกไปรวมเข้ากับรัสเซียก็ได้
เมื่อรัฐบาลกรุงเคียฟไม่ยอมให้ทั้งสองกลุ่มนั้นแยกตัวและบอกว่าเป็นกบฎ ก็ยกกองทัพไปปราบ ในเดือนพฤษภาคม 2557 ชาวโดเนทส์กกับชาวลูฮานส์กทำการลงประชามติเสียงข้างมากว่าต้องการจะแยกตัวเองออกจากยูเครนหรือไม่ มีประชาชนไปลงคะแนนทั้งหมดประมาณ 75% โดยในจำนวนนี้มี 89% บอกว่าต้องการปกครองตนเอง ส่วนที่เหลือ11% บอกว่าไม่เห็นด้วย ก็คล้ายกับกรณีชาวสก็อตแลนด์ที่ต้องการจะแยกตัวเองออกจากอังกฤษนั่นแหละ แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะห้ามหรือไม่เห็นด้วยกับการแยกตัวเองเป็นประเทศใหม่แต่ก็ไม่สามารถทัดทานเสียงเรียกร้องได้จึงจัดให้มีการโหวดเสียงข้างมาก และผลออกมาว่าเสียงข้างมากต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป แต่งานนี้เสียงข้างมากต้องการแยกตัวเองออกมาปกครองต่างหากจากยูเครน แต่อียูกับสหรัฐฯ กลับบอกว่าทำไม่ได้และไม่ยอมรับผลที่ออกมาซะงั้น อ้าว!… ทำไมประชาธิปไตยของยุโรปกับอเมริกาเป็นอย่่างนี้หละ? กรณีของอังกฤษกับสก๊อตแลนด์ทำไมถึงยอมรับได้ แต่กรณียูเครนทำไมถึงไม่ยอมรับเสียงข้างมากของประชาชน ทั้งๆ ที่รูปแบบการลงประชามติก็ไม่ได้แตกต่างกันเลยนะ
เมื่อเป็นอย่างนี้ กลุ่มผู้นำลูฮานส์กและโดเนทส์กก็กบฎสิครับ ขนาดโหวดเสียงชนะแล้วก็ไม่ยอมให้แยก แต่ดึงดันจะเข้ากับอียูให้ได้ พอกลุ่มนิยมรัสเซียคัดค้านก็ไม่ฟัง แล้วจะอยู่ด้วยทำไปหละนี่ทางใครทางมันละกัน แล้วสงครามก็เกิด ฝ่ายอียูกับอเมริกาก็กล่าวหาว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลังของพวกแบ่งแยกดินแดน ในขณะเดียวกันทั้งอเมริกาและอียูนาโต้ก็แอบสนับสนุนทั้งด้านเงินทุนและอาวุธให้กับกองทัพของยูเครนด้วยเช่นกัน ดูจากภาพรวมแล้วมันก็พอๆ กันนั่นแหละขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายไหนจะสร้างภาพว่าตัวเองเป็นฝ่ายพระเอกเท่านั้นเอง สงครามนี้ยังอีกยาวนานครับ อเมริกายังไม่อยากให้จบได้ง่ายๆ หรอกเพราะยังต้องขายอาวุธให้กับกองทัพของยูเครนได้อีกเยอะอยู่ เครื่องบินรบยังไม่ค่อยจะได้ออกปฏิบัติการเลย นี่ก็มีเฉพาะการรบภาคพื้นดินเท่านั้น แต่ระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซียก็ใช่ย่อยนะ ยูเครนจะกล้าเอาเครื่องบินรบราคาเป็นพันล้านไปเสียงหรือ เพราะเมื่อเดือนมิถุนายน 2557 เครื่องบินรบของยูเครนถูกสอยร่วงที่ลูฮานส์กมาแล้วหนึ่งนะ
The Eyes
04/02/2558
คลิปเหตุการณ์ต่างๆ