เตือนภัย! ระวังตายง่ายๆ ! แค่อาบน้ำ จากเครื่องทำน้ำอุ่น ที่ใช้พลังงานแก๊สหุงต้ม
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวพบผู้เสียชีวิตในห้องน้ำขณะอาบน้ำในจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเบื้องต้น คาดเสียชีวิตจากการสูดแก๊สพิษ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ โพรเพน ว่า
ขณะนี้หลายภูมิภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณภูเขาสูง ยอดดอยในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเย็น ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นไปท่องเที่ยว
และเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ต้องอาบน้ำอุ่นจากเครื่องทำน้ำอุ่น แต่บางพื้นที่ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้แก๊สที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับก๊าส LPG หรือก๊าสหุงต้ม และก๊าสโพรเพนในเครื่องทำน้ำอุ่นสันดาปไม่ดี ถ้าร่วมกับห้องน้ำไม่มีอากาศถ่ายเท
ทําให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ ในปริมาณมากจนทำให้เกิดอากาศหายใจ หมดสติ และเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน เนื่องจากขาดออกซิเจน
จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ในฤดูหนาวปี 2555-2556 พบผู้ป่วยหมดสติขณะอาบน้ำในห้องน้ำที่ใช้เครื่องทําน้ำอุ่นแบบใช้ระบบแก๊สในที่พักพื้นที่ จ.เชียงใหม่ จํานวน 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย
และในฤดูหนาวปี 2557-2558 นี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นพระสงฆ์จำวักที่วัดป่าแห่งนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 2 ราย ซึ่งจากการสอบสวนโรค พบว่า มีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ อยู่ในระดับสูงมากที่เป็นระดับที่สามารถทําให้เสียชีวิตได้ทันที และคาดว่าน่าจะมีการป่วย และเสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในที่พักพื้นที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง แต่ไม่ได้มีการติดตามเฝ้าระวัง
ดังนั้น จึงควรให้ความระมัดระวังการเดินทางไปพักผ่อนในที่พักที่มีการใช้เครื่องทําน้ำอุ่นแบบใช้แก๊ส รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ทําความอบอุ่นที่ใช้แก๊ส หรือน้ํามันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงดังกล่าว
ขอฝากเจ้าของโรงแรม รีสอร์ต ที่พัก บ้านเรือนที่พักอาศัย รวมทั้งศาสนสถานต่างๆ ที่มีการใช้เครื่องทําน้ำอุ่นแบบใช้ระบบแก๊สควรดำเนินการดังนี้ 1.มีการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และการบํารุงรักษาเครื่องทําน้ำอุ่นที่ใช้ระบบแก๊ส 2.ตรวจสอบการรั่วและปริมาณการสะสมของก๊าซในสถานที่พักอยู่เสมอ 3.ห้องน้ำ หรือห้องพักควรมีพื้นที่กว้างเพียงพอและมีช่อง หรือพัดลมระบายอากาศที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และ 4.ติดป้ายเตือนและบอกถึงวิธีใช้งานของเครื่องทําน้ำอุ่นไว้อย่างชัดเจน
ขณะเดียวกัน ผู้ที่เข้าพักอาศัยควรปฏิบัติ ดังนี้
1.สังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับแก๊ส ระหว่างใช้ห้องน้ำ เช่น วิงเวียน หน้ามืด หายใจลําบาก เป็นต้น
ควรรีบออกจากห้องน้ำ หรือให้การช่วยเหลือทันที
2.คนที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินลมหายใจ ควรระมัดระวังมากขึ้นในการใช้ห้องน้ำที่มีเครื่องทําน้ําอุ่นแบบใช้ระบบแก๊ส
เพราะหากได้รับก๊าซดังกล่าวจะทําให้เสียชีวิตได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ และ
3.การอาบน้ำโดยเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้แก๊สหุงต้ม ถ้าไม่มีเครื่องระบายอากาศ ควรเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อให้อากาศถ่ายเท ก่อนที่คนอื่นจะอาบน้ำต่อ หากมีคนอาบน้ำนานผิดปกติให้รีบช่วยเหลือ เพราะอาจหมดสติในห้องน้ำ