"กู่ฉิน" พิณ 7 สายในตำนาน
กู่ฉิน
กู่ฉินเป็นพิณจีนโบราณชนิดหนึ่ง มี 7 สายไม่ทราบยุคที่ปรากฏแน่ชัดแต่พบในจารึกกระดองเต่ายุคราชวงศ์โจวมีการกล่าวถึงแล้ว(ราว 3,100 - 3,200 ปีก่อนได้)
กู่เจิ้ง
หลายคนอาจมีการเข้าใจผิดว่ากู่เจิ้งกับกู่ฉินเป็นพิณชนิดเดียวกัน แต่ในความจริงกู่เจิ้งกับกู่ฉินเป็นคนละชนิดกันค่ะ กู่ฉินเป็นพิณ 7 สาย กู่เจิ้งเป็นพิณ 21 สาย
เปรียบเทียบกู่เจิ้งกับกู่ฉิน
(บน) กู่เจิ้ง (ล่าง) กู่ฉิน
กู่ฉินเป็นพิณจีนที่อาภัพเพราะขนาดละครกำลังภายในแปลไทย ตัวละครดีดกู่ฉินชัดๆมักพากษ์เป็นดีดกู่เจิ้งซะงั้น....
นิยายกำลังภายในเองก็ตาม บางครั้งบทชี้ว่าที่ดีดน่ะกู่ฉินคนแปลดันแปลเป็นกู่เจิ้ง
อีกเป็นเครื่องดนตรีที่ "หาคนเล่นได้ยาก หาคนสอนได้ยาก หาแผ่นCDได้ยาก คนฟังมีน้อย"
เนื่องจากความยากที่ดูเรียบง่ายของมันคือ กู่เจิ้งแบบ13-16สายปกติ 1 สายมีสองเสียง
แต่กู่ฉิน 1 สายมี 34 เสียง......โอว้แม่เจ้า คูณ 7 เข้าไปแถม+เทคนิคสองสายคู่สามสายพร้อมเพียงอีก........
จึงไม่แปลกที่เวลาเฉลี่ยของผู้ฝึกวิชานี้ขึ้นพื้นฐานแค่ดีดให้ครบเป็นทุกเสียงพอ
จะให้เป็นเพลงได้เฉลี่ย 2 ปี กว่าจะเป็นเพลงที่สะท้อนถ่ายทอดอารมณ์ได้เฉลี่ย 10 ปี
ความแตกต่างของกู่ฉินกะกู่เจิ้งนอกจากจำนวนสาย คือ
กู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีเน้นช่วงเสียงต่ำทุ้มเปรียบดังเสียงคนชราผ่านโลกรำพัน
กู่เจิ้งเสียงสดในกังวานช่วงเสียงหลากหลายออกแนวค่อนไปทางสูงดุจเสียงครวญของดรุณีแรกรุ่น
เพราะเหตุนี้กู่ฉินจึงไม่เหมาะกับการบรรเลงผ่าลำโพง เสียงจะตกลงไปมาก ต่อให้มือเทพเครื่องเสียงเทพมาบันทึกเสียงก็ยังตกหล่นไม่ครบอารมณ์เหมือนฟังสดใกล้ๆอยู่ดี
ดังนั้นนับแต่โบราณกู่ฉินจึงเป็นเครื่องดนตรีของนักปราชณ์ นักกวี ที่ใช้เล่นในวงมิตรสหายสนิทเท่านั้นไม่มีการแสดงตามร้านตลาดทั่วไป
หากท่านใดคิดจะครอบครองกู่ฉินเป็นสมบัติส่วนตัวแล้วล่ะก็ ต้องเตรียมงบไว้ให้มาก เพราะราคาของเครื่องดนตรีชนิดนี้แพงขนาดไปเดินที่จีนถ้าจะซื้อถูกสุดแบบที่ทำจากมือของนักดนตรีกู่ฉิน ต่ำสุดๆก็30,000อัพ ไม่นับพวกผลิตจากโรงงานที่เสียงเพี้ยนง่าย อายุการใช้งานไม่นานก็พัง
มีคำกล่าวว่ากู่ฉินมีงบแสนก็ซื้อแสนไปเลย เพราะเป้นเครื่องดนตรีที่หากเป็นของชั้นดี เสียงจะมีโอกาสเพี้ยนได้น้อยมากๆ
ยกเว้นไปเล่นพิเรนๆกับเขา(กู่ฉิน)เข้า ยิ่งเล่นนานเสียงยิ่งอยู่ตัวนับเป็นคุณสมบัติแปลกๆอันหนึ่ง
ส่วนเหตุที่แพงเพราะไม้ที่ทำกู่ฉินชั้นดีปกติต้องเป็นไม้ตายแห้งเท่านั้น โดยมากนิยมไม้สนตายแห้ง
ยิ่งตายจากฟ้าผ่าตายยิ่งนานยิ่งดี แม้ทุกวันนี้ช่างกู่ฉินที่เป็นยอดฝีมือยามลงมือหาไม้
ต้องเข้าป่าหากันอย่างน้อยๆเป็นเดือนเลยทีเดียว ปัจจุบันของที่ราคาสามหมื่นกว่าๆเองใช้ไม้ชั้นดีธรรมดามาตัดแล้วแช่น้ำยาพิเศษราว 1-2 เดือนก่อนมาตากแห้งแล้วทำพิณ ถ้าเป็นไม้ตายซากราคาเป็นแสน เพราะไม้ตายซากหายากไม่พอยังแกะโครง ว่างรูป ขึ้นแท่นและสายยาก ปกติแม้แต่ยุคนี้
ช่างที่เก่งสุดๆทำกู่ฉินชั้นยอดจากไม้ตายซากได้เฉลี่ยแค่ 2 ปีต่อ 1 ตัวเอง
(จริงๆขนาดอันล่ะสามหมื่นเองก็เถอะ เฉลี่ยแช่น้ำยาตากแล้วแกะและขึ้นรูปก็ตก 2 ปีต่อ 1 ตัวไล่ๆกัน)
กว่างหลิงซ่าน (ลำนำกว่างหลิง)
จัดเป็นเพลงติดท้อปลิสคู่บุญนักเล่นกู่ฉิน เล่นกู่ฉินต้องเล่นเพลงนี้ทุกคนเหมือนไฟต์บังคับ
แทบทุกคนเหตุเพราะเป็นเพลงที่ต้องอาศัยเทคนิคขึ้นบรรลุถึงจุดยอดฝีมือ จึงบรรเลงได้
เลยเป็นเหมือนข้อสอบบังคับไป
ที่มาของมันนั้นว่ากันว่าเป็นนักดนตรีคนหนึ่ง แต่งสดุดีให้เนี่ยเจิ้งมือสังหาร
ในยุคโจวเวยเลี่บหวาง ราว 2400 ปีก่อน
ยุคนั้น ณ แคว้นเว่ยกว๋อ เนี่ยเจิ้งที่ไปก่อคดีฆ่าคนโฉดร้ายหนึ่งได้หนีจากเมืองจื่อไปอยู่ เมืองฉีกว๋อพร้อมพี่สาวและมารดา เขาหลบอยู่อย่างสงบมานาน
จนวันหนึ่ง ในราชสำนัก มหาอำมาตย์หานหนีได้ถูกขุนนางนามเหยนซุ่ยฉีกหน้ากลางการอภิปรายความเห็นทางการเมืองที่ตยบกพร่อง จึงผูกใจเจ็บค่อยหาทางเล่นงานเหยนซุ่ยเสมอ
เหยนซุ่ยจึงถอยฉากออกจากเมืองหลวง ระหว่างทางก้หามือสังหารส่งไปลอบฆ่าหานหนีแก้แค้นเช่นกัน จนมาถึงฉีกว๋อ เขาได้ยินชื่อเสียงเนี่ยเจิ้งก้ไปเยี่ยมหลายครั้งแต่โดนปฏิเสธเรื่อยมา วันหนึ่งจึงทำทีจัดทองคำไป 2,000 ตำลึง ไปหามารดาเนี่ยเจิ้งในวันเกิดของมารดาเนี่ยเจิ้ง โดยหวังซื้อใจเนี่ยเจิ้งให้ไปฆ่าหานหนี แต่เนี่ยเจิ้งไม่รับทองจำนวนนั้น ทว่าในใจกลับรู้สึกตื้นตั่นยิ่งนัก
แม้เหยนซุ่ยจะกระซิบบอกว่าไม่ให้ฟรีแต่วานไปฆ่าคน เนี่ยเจิ้งก็ไม่รับเพราะอยากดูแลมารดามากกว่า เหยนซุ่ยได้ยินก็เข้าใจแต่ก็ยังจะให้ทองแต่เนี่ยเจิ้งก็ไม่รับสุดท้าย เหยนซุ่ยก็ขนทองกลับบ้าน หลายปีผ่านไปมารดาเนี่ยเจิ้งถึงแก่กรรม(ตาย) เนี่ยเจิ้งจึงไปหาเหยนซุ่ย ถามว่าครั้งนั้นที่ท่านวานให้ฆ่านั้นเป็นใคร?
เหยนซุ่ยตอบว่าเป็นหานหนี เนี่ยเจิ้งบอกเรายินดีรับทำแต่ไม่ใช่เพราะเงินทองยามนี้มารดาสิ้นลมแล้ว พี่สาวก็มีครอบครัวแล้ว เขาไม่มีห่วงใดอีก เนื่องด้วยท่านยามนั้นมาหาข้าผูกมิตรโดยไม่รังเกียจคนต่ำต้อยเช่นข้า แม้ข้าไม่รับปากท่านก็ยังคบหาข้าเป็นมิตรเช่นเดิม กับสหายแล้วหากไม่ช่วยเหลือกันจะคบไปเพื่อการใดยังเรียกเป็นสหายรึ? หลังกล่าวจบจึงเดินทางไปเมืองหลวงเพียงลำพัง
เนี่ยเจิ้งบอกเหยนซุ่นว่าเพื่อไม่ให้ข่าวรั่วจึงต้องลงมือเพียงคนเดียว
เขาเดินทางจนวันหนึ่งเมื่อมาถึง เขาเดินเข้าจวนหาหานหนีที่กำลังนั่งจิบชาในจวนอย่างสบายอารมณ์โดยไม่รู้ว่าเงาหัวกำลังจะขาด เนี่ยเจิ้งนับว่าเทพมากกลับเดินดุ่มๆบอกขอพบมีเรื่องสำคัญเรียนกับหานหนี คนที่เฝ้าก็พาไปหาหานหนีในศาลาในจวน พอพบหานหนีเขาก็ชักกระบี่แทงหานหนีตายในศาลาทันที จากนั้นอาละวาดฆ่าราชองครักษ์อีกนับสิบ ก่อนจะเห็นว่าหมดทางฝ่าออกไปจึงเอากระบี่กรีดหน้าตนเองจนเละ เอานิ้วควักลูกตาตนออกกันรูปโฉมมีคนจำได้ จากนั้นเอากระบี่แทงท้องตนเองตาย.........
ทางการจึงนำศพเขาไปแขวนประกาศใครรู้ว่าเป็นใครมีรางวัล 1,000 ตำลึงทอง
ผ่านไปเป็นสัปดาห์ไม่มีใครมายืนยันจนปรากฏหญิงผู้หนึ่งมาบอกว่า
"นี่คือเนี่ยเจิ้งแห่งเมืองจื่อ น้องชายของนางเอง"ที่แท้คือเนี่ยหญิงพี่สาวของเนี่ยเจิ้ง
ผู้คนต่างสงสัยว่าทำไมนางกล้าบอกเช่นนั้น นางตอบกับเหล่าผู้คนและมือปราบว่า
"น้องชายข้ายอมทำลายโฉมตนเอง เพื่อไม่ให้เป็นเหตุเภทภัยสู่ตัวข้า
น้องชายข้าทำถึงขนาดนี้ ข้าจะรักตัวกลัวตายปล่อยให้ศพน้องชายข้าไม่ได้บรรจุฝัง
ปราศจากหลุมศพและป้ายชื่อได้อย่างไร" กล่าวจบนางก็เอามีดที่พกมาอัตวิบากกรมตนเองลง ณ ข้างที่แขวนศพน้องชายของนาง
นักดนตรีนิรนามจึงแต่งเพลงสดุดีเรื่องราวนี้นามว่า "กว่างหลิงซ่าน" ขึ้นมา
แต่ที่เพลงนี้ยิ่งโดงดังคือ จีคัง ในยุคราชวงศ์เว่ยตะวันตก
มหาบันทิตผู้ไม่ยอมรับใช้กังฉิน ซือหม่าจาว ทั้งยังตำหนิพฤติกรรมของกังฉินแบบไม่ไว้หน้าใดๆ
ส่งผลให้โดนข้อหา "ไม่สบอารมณ์กังฉิน" ลากไปประหาร แม้เหล่าลูกศิษย์ราว 3,000 คนจะไปคุกเข่าขอร้องในลานประหารให้ยกเลิกโทษให้ก็ไม่เป็นผล ก่อนประหาร จีคัง ได้ขอพิณมาบรรเลงเพลงกว่างหลิงซ่าน ระบายความคับแค้นออกมาว่ากันว่า สะกดทั้งลานประหารให้ตกในภวังค์กันเลยทีเดียว ก่อนจะโดนตัดศรีษะหลังบรรเลงเพลงจบแล้วเพชรฆาตหายภวังค์
เพลงกว่างหลิง กู่ฉิน
บรรเพลงโดย ศ. หลี่เสียงถิง ในงานมอบมรดกโลกแก่คนรุ่นใหม่
ทาเคชิ คาเนชิโร ในบทขงเบ้ง กำลังดีดกู่ฉิน
ตอน โจโฉแตกทัพเรือ
เป็นการนำเพลงโบราณสองสามเพลงมาตัดต่อกัน
บรรเลงโดย ศ.จ้าวเจียเจิน (ละครสามก๊กชุดใหญ่และสื่อใหญ่หลายๆเรื่องส่วนมากก็เป็นฝีมือท่าน)
กู่ฉินในเรื่องผลิตมาจากโรงงานจวินเทียนฝาง(钧天坊)ของ อ.หวังเผิง
การบรรเลงกู่ฉินที่ไพเราะอีกเพลงค่ะ
ซ้ำขออภัยค่ะ