หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

จะรู้ได้อย่างไรว่าสาวอินเดียคนไหน "โสด" หรือ "แต่งงาน" แล้ว?

โพสท์โดย ขนมปังขิง

 

 

มีข้อสังเกตระหว่างสาวอินเดียที่ยัง "โสด" กับสาวอินเดียที่ "แต่งงาน" แล้วมาบอกค่ะ สาวอินเดียที่แต่งงานแล้วเธอจะมีสัญลักษณ์บ่งบอกดังต่อไปนี้

 

1. บินดิ (Bindi) จุดแดงที่แต้มกลางหน้าผากสตรีอินเดีย

 

 

 

เป็นสิ่งตกแต่งตามธรรมเนียมของชาวฮินดู ที่รู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น บินดิ (bindi) พอตตู (Pottu) อันนี้เป็นภาษาเรียกของทมิฬ, ติลากัม (Tilakam) และติกะ (Tika)
แต่เดิมอินเดียตอนเหนือนั้นจะเป็นที่เข้าใจกันว่า "บินดิ" เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะทางสังคมว่าหญิงผู้นี้ได้ผ่านพิธีการมงคลสมรสแล้ว แต่ทางอินเดียใต้นั้น ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงาน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะแต้มบินดิทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะแต่งงาน เจ้าบ่าวจะแต่งตัวไม่สมบูรณ์ถ้าขาดติลักษณ์  ติลักษณ์นี้จะถูกทำสัญลักณ์บริเวณหน้าผากของเจ้าบ่าว ขณะอยู่ในพิธีแต่งงาน เพราะผู้นับถือฮินดูอย่างเคร่งครัดจะมีความเชื่อว่า จะไม่มีประเพณีใดหรือการบูชาใดที่สมบูรณ์ ถ้าขาด "ติลักษณ์" และ "ซินดูร์สีแดง" ถูกเลือกเพราะว่าเป็นสีที่นำมาซึ่งความโชคดี เมื่อได้รับเจ้าสาวเข้ามาอยู่ในบ้าน บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคดี เพราะเชื่อว่าบินดีที่อยู่ระหว่างคิ้วเจ้าสาวนั้นมีพลังแห่งศักติช่วยคุ้มครองครอบครัว ช่วยคุ้มครองผู้เป็นสามี
สตรีอินเดียถือสามีเสมือนเทพ จะให้ความรักความเคารพอย่างสูงการเจิมหน้าผากจะทำในวันแต่งงาน เมื่อคู่บ่าวสาวเดินรอบกองไฟแล้วพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีวิวาห์ หรือผู้เป็นเจ้าบ่าวจะเจิมหน้าผากให้เจ้าสาวเป็นการประกาศว่าหญิงผู้นั้นเป็นภรรยาอย่างถูกต้องตามประเพณีสตรีชาวอินเดียจะต้องมีจุดนี้อยู่ตราบที่สามียังมีชีวิตอยู่ และจะต้องลบออกเมื่อสามีเสียชีวิต
ในกรณีที่เลิกร้างกัน สตรีผู้นั้นจะลบจุดออกได้ต่อเมื่อเป็นการเลิกร้างโดยคำสั่งของศาล
หากสตรีผู้นั้นลบจุดบินดิออกโดยที่สามียังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ได้เลิกกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จะถือว่าเป็นการกระทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ
นอกจากนั้น "บินดิ" ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของ "พระแม่ปารวาตี" (Parvati) ที่เชื่อว่าใช้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้วและสามีของตน ทั้งยังเชื่อว่าใช้ปกป้องสตรีเหล่านี้จากสายตาริษยาของคนทั่วไปด้วย จึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงาน เพราะเครื่องหมายนี้จะแต่งแต้มบนหน้าผากของสตรีที่แต่งงานแล้วเป็นหลัก ซึ่งบินดินี้ใช้กันในประเทศต่างๆ ของเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา และปากีสถาน
แต่ในระยะหลังการทำสัญลักษณ์บินดิ กลายเป็นแฟชั่น มีรูปแบบและสีสันหลากหลายขึ้น ลักษณะของจุดบินดิมีหลายแบบ เดิมนิยมจุดกลม คนที่ยังสาวจะนิยมจุดเล็กเพราะสวยงามกว่าแต่พออายุมากขึ้นอาจแต้มจุดให้ใหญ่ขึ้น ปัจจุบันมีรูปแบบจุดอื่น ๆ เช่น รูปคล้ายหยดน้ำ หรือเป็นวงกลมและมีรัศมีโดยรอบเหมือนดวงอาทิตย์ ปัจจุบันบินดิพัฒนารูปแบบไปมากทั้งรูปทรงและสีสัน มีขายทั้งแบบจุดแดงสำเร็จรูป และแบบเครื่องประดับวุ้งวิ้ง บางทีก็ทำเป็นสติกเกอร์เพื่อสะดวกในการใช้ สาวๆ อินเดียนิยมแต้มในชีวิตประจำวัน

 

2. ซินดูร์ (Sindoor) ผงแป้งสีแดงที่ใช้ทาตรงรอยแสกผมบนศีรษะของผู้หญิง

 

 

 

ในพิธีแต่งงานของศาสนาฮินดู เจ้าบ่าวจะเป็นคนเจิมซินดูร์แรกบนศรีษะของเจ้าสาว และจากนั้นมาสาวเจ้าต้องแต้มซินดูร์เองทุกวันจนกว่าจะสามีจะมีอันเป็นไป แสดงถึงความรัก เคารพและให้เกียรติแก่สามี ซึ่งเป็นสิ่งพึงกระทำในวัฒนธรรมอินเดีย

 

3. การใส่ภุล (Phul) และ นาธ (Nath) ที่จมูก

 

 

 

เครื่องประดับจมูก ตุ้มจมูก หรือห่วงจมูก (nose pin, nose stud, nose ring) แล้วแต่จะเรียกตามลักษณะรูปร่างที่ใช้ นับเป็นเครื่องประดับตามประเพณีนิยมอย่างหนึ่งของสตรีอินเดียทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะผู้หญิงที่สมรสแล้วนิยมเจาะจมูกและใส่ตุ้มจมูกหรือห่วงจมูกกันมาก เพระาถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และการแต่งงาน

      ในอินเดียนั้น ตุ้มจมูก (stud) เรียกว่า ภุล (Phul) แต่ถ้าเป็นห่วงจมูก (ring) จะเรียกว่า นาธ (Nath) มักจะสวมที่โพรงจมูกด้านซ้าย ซึ่งอาจจะมีห่วงร้อยเชื่อมกับตุ้มหู และในบางพื้นที่ก็เจาะจมูกทั้งสองข้างก็มี บ้างก็ห้อยที่ผนังตรงกลางที่คั่นระหว่างโพรงจมูก แม้ว่าโดยแท้จริงแล้วการเจาะจมูกไม่ได้มีกำเนิดในอินเดีย ถูกนำเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 16 จากตะวันออกกลาง โดยจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล แต่ก็เป็นนิยมสวมใส่โดยสตรีอินเดียทั่วไป

      ซึ่งในบางภูมิภาคนั้นตุ้มจมูกเป็นเครื่องประดับจำเป็นที่ขาดไม่ได้ทีเดียว สตรีชาวฮินดูจะต้องสวมใส่ในวันแต่งงานและหลังจากแต่งงานแล้ว ซึ่งเชื่อกันว่าการใส่ตุ้มจมูกจะช่วยให้ลมหายใจบริสุทธิ์และช่วยปกป้องสุขภาพของสามี

      ตุ้มจมูกในอินเดียมีทั้งทำด้วยเงินและทองคำ รวมทั้งมีการออกแบบหลากหลายสไตล์ ซึ่งปัจจุบันนั้นนิยมสวมใส่ทั้งสตรีชาวฮินดูและมุสลิม อีกทั้งยังกลายเป็นแฟชั่นที่นิยมทั่วไปในหมู่วัยรุ่นหญิง ทั้งสตรีที่แต่งงานแล้วและยังไม่แต่งงานก็นิยมประดับจมูกด้วยตุ้มจมูกกันอย่างแพร่หลาย

      โดยทั่วไปนิยมสวมใส่ด้านใดด้านหนึ่งของจมูก แต่ดูเหมือนด้านซ้ายเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากตามตำราของอายุรเวช จมูกด้านซ้ายนั้นเกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง และการเจาะจมูกด้านซ้ายเชื่อกันว่าจะทำให้คลอดบุตรง่าย รวมทั้งช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการปวดประจำเดือน

      ในบางพื้นที่ของอินเดียห่วงจมูกนี้จะไม่ถูกถอดออกเลยสำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว ดังนั้นห่วงจมูกหรือตุ้มจมูกจึงเป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงาน แม้ปัจจุบันสตรีที่ยังไม่สมรสหลายๆคน รวมทั้งเด็กสาวทั่วไปในอินเดียจะนิยมเจาะและสวมตุ้มจมูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นเรื่องของแฟชั่นมากกว่าเรื่องของศาสนาหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบเนื่องมาแต่ดั้งเดิม

 

4. สร้อยมงคลสูตร (Mangalsutra)

 

 


ตามธรรมเนียมปฏิบัติในศาสนาฮินดูผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเครื่องประดับบางอย่างเพื่อแสดงถึงสถานะของการสมรส ซึ่งเครื่องประดับอย่างหนึ่งที่ถือว่าสำคัญมากที่สตรีชาวฮินดูต้องสวมในพิธีแต่งงาน นั่นคือ สร้อยมงคลสูตร (Mangalsutra)


คำว่า มงคลสูตร ตามตัวอักษรแล้วหมายถึง ด้ายมงคล (auspicious thread) ซึ่งมาจากคำสองคำ ได้แก่คำว่า มงคล (mangal) ซึ่งหมายถึง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคล และคำว่า สูตร (sutra) หมายถึง ด้าย มักประกอบด้วยจี้ทองคำ และด้ายสีเหลืองที่เตรียมจากขมิ้น ร้อยลูกปัดสีดำ หรืออาจจะเป็นสร้อยทองแบบง่ายๆ

ซึ่งแต่ละภูมิภาคของอินเดียอาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป รัฐทางภาคเหนือส่วนใหญ่จะเรียกว่า มงคลสูตร รัฐทางภาคใต้มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ถาลี (thaali) ปุสเตลู (pustelu) มานกัลยัม (maangalyam) หรือ มงคลสูตรัม (mangalsutram) เป็นต้น

มงคลสูตรจึงเป็นสร้อยที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่เจ้าบ่าวจะสวมให้ที่คอเจ้าสาวในวันแต่งงาน ในช่วงพิธีกรรมที่เรียกว่า มงคลญาธารานาม (Mangalya dharanam หมายถึง การสวมมงคล) ถือเป็นการให้สถานะภรรยาและคู่ชีวิต และเป็นสัญลักษณ์ของการผูกมัดแบบถาวรระหว่างกัน

ในวันแต่งงาน ด้ายสีเหลืองจะผูกพันที่คอของเจ้าสาวพร้อมทั้งมัดปมสามปมบนด้ายในช่วงของพิธีมงคลญาธารานาม ในประเพณีที่แตกต่างกันบางแห่งเจ้าบ่าวจะมัดปมแรก ส่วนอีกสองปมพี่สาวของเจ้าบ่าวจะเป็นคนมัด หลังจากวันแต่งงานแล้ว สร้อยมงคลจะถูกนำมาสวมเปลี่ยนให้ใหม่ในวันหลัง โดยอาจเปลี่ยนเป็นสร้อยคอทองคำแต่ยังคงมีลูกปัดสีดำร้อยเข้าด้วยกันปนอยู่ด้วย

ซึ่งลูกปัดสีดำแต่ละลูกของสร้อยมงคลสูตรเชื่อว่ามีอำนาจแห่งเทพที่จะปกป้องคู่สามีภรรยาจากดวงตาปีศาจ และเชื่อว่าจะช่วยพิทักษ์ชีวิตของสามี สตรีชาวฮินดูมีความเชื่ออย่างเหนียวแน่นเกี่ยวกับสร้อยชนิดนี้ ถ้าขาดหรือสูญหายไปจะถือเป็นลางร้าย ดังนั้นสร้อยมงคลสูตรนี้จึงมีความสำคัญมากยิ่งไปกว่าเครื่องประดับตามแฟชั่นทั่วไป

ผู้หญิงชาวอินเดียทุกคนยังถือว่าสร้อยมงคลสูตร เป็นเครื่องหมายสูงส่งที่สุดของความรักและความนับถือที่ได้รับในช่วงพิธีแต่งงาน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจึงต้องสวมใส่สร้อยนี้นี้ตลอดชีวิต หรือตลอดช่วงเวลาที่สามียังมีชีวิตอยู่ เพราะเชื่อกันว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยค้ำจุนให้ชีวิตของสามีและครอบครัวดีขึ้น

 

5. ชูดี (Chudi) กำไลแขน

 

 

 

กำไลแขนในภาษาฮินดีเรียกว่า ชูดี (Chudi) ทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย ทั้งที่มีค่าและไม่มีค่า อย่างเช่น ทองคำ เงิน ทองคำขาว ไม้ โลหะเหล็ก พลาสติก เป็นต้น การสวมใส่กำไลในอินเดียนั้นสืบเนื่องมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วค่ะ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบในที่ต่างๆ ทั่วอินเดีย นักโบราณคดีได้ค้นพบกำไลที่ทำจากวัตถุหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เปลือกหอย ทองแดง บรอนซ์ ทองคำ หินอาเกต หินคาเนเลียน เป็นต้น โดยเฉพาะหลักฐานชิ้นสำคัญ รูปประติมากรรมสาวนักเต้นรำ ขุดพบที่เมืองโมเฮนโจดาโร ก็มีอายุเก่าแก่ถึง 4,000 กว่าปีมาแล้ว

ชูดีจึงเป็นเครื่องประดับที่สืบเนื่องมาเก่าแก่ในอินเดีย และตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวฮินดู เจ้าสาวจะสวมใส่กำไลแก้วเล็กๆ จำนวนมากที่แขนในวันแต่งงาน โดยเชื่อกันว่ายิ่งใส่กำไลขนาดเล็กที่สุดได้เท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสุขและชีวิตแต่งงานที่เต็มเปี่ยมด้วยรัก การสวมใส่กำไลขนาดเล็กให้ได้ก็ต้องใช้น้ำมันหอมและมีเพื่อนเจ้าสาวมาช่วยกันใส่ให้

นอกจากนั้นกำไลสีเขียว หรือสีแดง (ขึ้นอยู่กับภูมิภาค) ยังเป็นสัญลักษณ์ถึง ความปลอดภัย การแต่งงาน และความมีโชคดี สำหรับสามี กำไลที่หักโดยไม่ตั้งใจอาจเป็นสัญญาณของอันตรายและเหตุที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสามีได้ และถ้าสามีเสียชีวิตขึ้นมา สตรีชาวฮินดีจะต้องหักกำไลทิ้งเพื่อไว้ทุกข์และแสดงถึงการจากไปของสามี

แต่ผู้ชายบางคนก็อาจสวมใส่กำไลได้เหมือนกัน อย่างในศาสนาซิกข์ ผู้ชายบางคนจะสวมใส่กำไลที่แขนหรือข้อมือที่เรียกว่า คาดา (kada) หรือ คารา (kara) ในศาสนาซิกข์บิดาของเจ้าสาวจะมอบคาดาที่ทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้า แหวนทองคำ และสร้อยโมห์รา (mohra) ให้แก่เจ้าบ่าวสวมใส่ในวันแต่งงาน

ปัจจุบันนี้ชูดีมีพัฒนาการมากขึ้น ทำมาจากวัสดุต่างๆ และมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ได้มีเฉพาะกำไลทรงกลมตามแบบดั้งเดิม เดี๋ยวนี้ทั้งทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงรูปไข่ เป็นต้น และนิยมสวมใส่เป็นคู่ที่แขนทั้งสองข้าง ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่ดั้งเดิมสตรีชาวฮินดูที่สมรสแล้วมักสวมกำไลทองและกำไลแก้วร่วมกัน หรือสวมใส่อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

 

6. แหวนที่นิ้วนางข้างซ้าย

 

 

 

ดูเป็นสากลนิยมขึ้นมาสักเล็กน้อย และสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายนั่นคือแหวนที่นิ้วนางข้างซ้าย ซึ่งจะเป็นแหวนเงิน แหวนทอง หรือแหวนประดับอัญมณีก็ขึ้นกับกำลังทรัพย์ของแต่ละคน


7. แหวนนิ้วเท้า (Toe ring)

 

 

 

เครื่องประดับชนิดนี้ในอินเดียเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสตรีที่สมรสแล้ว โดยเฉพาะสตรีในศาสนาฮินดู ซึ่งมีชื่อเรียกแหวนนิ้วเท้าในภาษาฮินดีว่า บีชีย่า (bichiya) ความนิยมสวมบีชีย่าโดยสตรีที่แต่งงานแล้วในอินเดียมีความหมายแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตะวันตก ที่สวมใส่โดยสตรีโสดและไม่โสดทั่วไป เป็นความนิยมในแง่ของแฟชั่นมากกว่า

จริงๆ แล้วที่อเมริกาเริ่มนิยมสวมใส่แฟชั่น “แหวนนิ้วเท้า” มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 อันเนื่องมาจากคุณมาร์จอรี่ โบเรลล์ (Marjorie Borell) หลังจากมาเยือนอินเดียแล้วก็เกิดปิ๊งไอเดีย ผลิตแหวนนิ้วเท้าออกมาวางจำหน่ายในนิวยอร์ก แต่นั้นมาก็แหวนนิ้วเท้าก็เลยกลายเป็นแฟชั่นใหม่ที่สาวชาวตะวันตกนิยมกัน แต่ไม่ได้แฝงไว้ซึ่งความหมายทางสัญลักษณ์อย่างที่คนอินเดียเขานะคะ

บีชีย่าแบบดั้งเดิมแท้ๆ มักตกแต่งประดับประดามากมาย แม้ว่าปัจจุบันจะออกแบบให้ร่วมสมัยนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะสตรีที่ต้องเข้าพิธีสมรส จะมีเซ็ทของแหวนนิ้วเท้าที่สวมใส่ที่นิ้วเท้าทั้งสี่คู่ เลยทีเดียว ยกเว้นแต่นิ้วก้อยสุดท้ายทั้งสองข้างเท่านั้นที่ไม่นิยมสวมแหวน

ตามธรรมเนียมนิยมแบบอินเดียนั้น มักสวมใส่แหวนนิ้วเท้าขนาดใหญ่ที่นิ้วโป้งข้างซ้ายเพื่อแสดงสถานะสมรส แต่ผู้ชายบางคนที่สวมใส่ที่นิ้วโป้งด้วยเช่นกัน ด้วยความเชื่อว่าจะมีผลด้านการรักษาโรคหรือเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ

แหวนนิ้วเท้านี้มีวางจำหน่ายทั่วไปทั้งทำด้วยโลหะและไม่ใช่โลหะ โดยมากมักทำจากเงิน และสวมใส่เป็นคู่ สวมใส่ได้ทั้งสองเท้า และมักใส่ที่นิ้วที่สองของทั้งสองเท้า ซึ่งมักสวมใส่ไปพร้อมกับรองเท้าแตะสไตล์แบบแขกถึงจะเข้ากันได้เหมาะ เพราะได้โชว์แหวนเต็มที่

ส่วนทองคำนั้นไม่นิยมนำมาทำแหวนนิ้วเท้า เพราะถือว่าทองเป็นสิ่งมีคุณค่าสูง มักสวมใส่เป็นเครื่องประดับที่ไม่ต่ำกว่าระดับเอวสำหรับชาวฮินดู แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อบังคับที่เข้มงวดอะไร เราจึงมักพบสตรีบางคนสวมใส่แหวนนิ้วเท้าทำด้วยทองคำและเพชร ที่แสดงถึงฐานะอันมั่งคั่งของครอบครัว

แหวนเหล่านี้มักไม่เป็นวงที่เชื่อมกัน แต่จะมีปลายเปิดที่สามารถเลื่อนให้ฟิตกับนิ้วเท้า หรือถอดเข้าถอดออกได้ง่าย


8 . ส่าหรี

 

 

 

ถึงแม้ในปัจจุบันสาวสมัยใหม่ชาวอินเดียที่ยังไม่แต่งงานจะนิยมแต่งกายด้วยชุดปัญจาบี หลังจากแต่งงานแล้วผู้หญิงชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็มักแต่งกายด้วยส่าหรี เว้นแต่สาวในเมืองใหญ่ๆหรือสาวสังคมอาจแต่งกายด้วยชุดปัญจาบีเหมือนเดิมหรืออาจแต่งกายด้วยชุดตามสมัยนิยม (ในอินเดียเหนือผู้หญิงจะนิยมสวมชุดปัญจาบีมากกว่าส่าหรี แต่ที่อินเดียใต้นิยมสวมส่าหรีมากกว่าชุดปัญจาบี)

 

ชุดปัญจาบี

 

ชุดปัญจาบี

 

ไม่ว่าหญิงอินเดียคนนั้นจะสวมใส่ส่าหรี ชุดปัญจาบี หรือชุดตามสมัยนิยม ถ้าเธอติดบินดิที่หว่างคิ้ว เจิมซินดูร์ที่แสกผม สวมสร้อยมงคลสูตร สวมแหวนที่นิ้วนางมือข้างซ้าย สวมกำไลแก้ว 9 คู่ และสวมแหวนที่นิ้วชี้ของเท้าทั้งสองข้าง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงให้สังคมรับรู้โดยไม่ต้องเอ่ยปากบอกใครๆว่าเธอผู้นั้น "ไม่โสด" แล้ว เธอมีหน้าที่ของการเป็นภรรยาที่ต้องรับผิดชอบ นอกจากนั้นยังเป็นการเตือนให้ชายหนุ่มและไม่หนุ่มทราบว่าไม่ควรเข้ามาวุ่นวาย และควรให้เกียรติหญิงที่มีสามีแล้วอย่างพวกเธอ

 

 

 

ขอบคุณรูปประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต

 
 
 
ซ้ำขออภัยค่ะ

ที่มา: indiaindream.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ขนมปังขิง's profile


โพสท์โดย: ขนมปังขิง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
86 VOTES (4.3/5 จาก 20 คน)
VOTED: phakri
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ด่วน! กระทรวงศึกษาธิการ ส่งหนังสือยกเลิกการตั้งชุดนักเรียนแล้ว??? เผยวิธีเอารถโชว์เข้าห้าง..เห็นแล้วลุ้นแทนจริงๆเลขปฏิทิน งวดที่แล้วเข้า 60 งวดนี้ 1 มิถุนายน 2567พบพระพุทธรูปใต้แม่น้ำโขง องค์ใหญ่ งดงามที่สุดเท่าที่เคยเจอมาหนุ่มโชคร้าย ผู้ถูกเพื่อนบ้านจับไปขังไว้ใต้ถุนบ้านกว่า 27 ปี!!หมู่เกาะขนาดเล็กในทะเลจีนใต้ ที่หลายประเทศต่างต้องการจะครอบครองเปิดแอร์ 27 องศาพร้อมเปิดพัดลม ประหยัดค่าไฟจริงหรอ?เหนื่อยใจจริง! ฝูงลิงบุกบ้าน ไล่กัด ทำลายของ ขโมยชั้นใน..เหตุเกิดใน กทม. ทำเอาชาวบ้านสุดเอือมระอาเตือนภัย! โปรดระวัง "แมลงตด" มีพิษร้ายแรงถึงขึ้นเป็นแผลผุพองได้ ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดแอร์ 27 องศาพร้อมเปิดพัดลม ประหยัดค่าไฟจริงหรอ?เหนื่อยใจจริง! ฝูงลิงบุกบ้าน ไล่กัด ทำลายของ ขโมยชั้นใน..เหตุเกิดใน กทม. ทำเอาชาวบ้านสุดเอือมระอานายทวียืนยัน ราชทัณฑ์ช่วย บุ้ง อย่างสุดความสามารถแล้ว"อี้ แทนคุณ"​ ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิก "พรรคประชาธิปัตย์" แล้วด่วน! กระทรวงศึกษาธิการ ส่งหนังสือยกเลิกการตั้งชุดนักเรียนแล้ว???
ตั้งกระทู้ใหม่