๑๐ พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษา แต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี
คำสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึ้น
มีสำนักต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละหมู่คณะก็มีความเห็นของตน
หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์
แล้วเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
ลองพิจารณาหาคำตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร
ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว้
แล้วตรัสบอกวิธีป้องกันและแก้ไขเหตุเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้.
ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?
ที่พุทธบริษัทจะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย
จากองค์พระสังฆบิดา อันวิญญูชนพึงปฏิบัติและรูต้ ามไดเ้ ฉพาะตน ดังนี้.
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าว
เรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่
ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำ
อยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเปน็ ผูท้ ี่เรานำไปแลว้ ดว้ ยธรรมนี้ อันเปน็ ธรรมที่
บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก),
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อัน
วิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานดว้ ยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหวา่ งนั้น
ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด
ยอ่ มเขา้ กันไดโ้ ดยประการเดียวทั้งสิ้น ไมแ่ ยง้ กันเปน็ ประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริยท์ สารหะไดห้ าเนื้อไมอ้ ื่น
ทำเปน็ ลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเขา้
หลายครั้งหลายคราวเชน่ นั้นนานเขา้ ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเ้ ดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหลา่ ใด ที่เปน็ คำของตถาคต เปน็ ขอ้ ความลึก มีความหมายซึ้ง เปน็ ชั้นโลกุตตระ
วา่ เฉพาะดว้ ยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูน้ ำสุตตันตะเหลา่ นั้นมากลา่ วอยู; เธอจักไมฟ่ งั ดว้ ยดี
จักไมเ่ งี่ยหูฟงั จักไมต่ ั้งจิตเพื่อจะรูท้ ั่วถึง และจักไมส่ ำคัญวา่ เปน็ สิ่งที่ตนควรศึกษาเลา่ เรียน.
สว่ นสุตตันตะเหลา่ ใด ที่นักกวีแตง่ ขึ้นใหม ่ เปน็ คำรอ้ ยกรองประเภทกาพยก์ ลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิต
เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็น
ข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วย
อาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เปน็ คำรอ้ ยกรองประเภทกาพยก์ ลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปน็ เรื่อง
นอกแนว เปน็ คำกลา่ วของสาวก เมื่อมีผูน้ ำสุตตันตะเหลา่ นั้นมากลา่ วอยู ่ เธอจักไมฟ่ งั
ด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา
เล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ
เหลา่ นั้นมากลา่ วอยู; เธอยอ่ มฟงั ดว้ ยดี ยอ่ มเงี่ยหูฟงั ยอ่ มตั้งจิตเพื่อจะรูท้ ั่วถึง และยอ่ ม
สำคัญวา่ เปน็ สิ่งที่ตนควรศึกษาเลา่ เรียน จึงพากันเลา่ เรียน ไตถ่ าม ทวนถามแกกั่นและกันอยู่
วา่ “ขอ้ นี้เปน็ อยา่ งไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้. ดว้ ยการทำดังนี้ เธอยอ่ มเปดิ ธรรม
ที่ถูกปดิ ไวไ้ ด. ธรรมที่ยังไมป่ รากฏ เธอก็ทำใหป้ รากฏได, ความสงสัยในธรรมหลายประการ
ที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา) มีอรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา)
เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา) อันบุคคลนำ
มากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,
เมื่อมีผูน้ ำสุตตันตะเหลา่ นี้มากลา่ วอยู; พวกเธอยอ่ มฟงั ดว้ ยดี เงี่ยหูฟงั ตั้งจิตเพื่อจะรูท้ ั่วถึง
และสำคัญไปวา่ เปน็ สิ่งที่ตนควรศึกษาเลา่ เรียน. พวกเธอเลา่ เรียนธรรมอันกวีแตง่ ใหมน่ ั้นแลว้
ก็ไมส่ อบถามซึ่งกันและกัน ไมท่ ำใหเ้ ปดิ เผยแจม่ แจง้ ออกมาวา่ ขอ้ นี้พยัญชนะเปน็ อยา่ งไร
อรรถเปน็ อยา่ งไร ดังนี้. เธอเหลา่ นั้น เปดิ เผยสิ่งที่ยังไมเ่ ปดิ เผยไมไ่ ด ้ ไมห่ งายของที่ควํ่าอยู่
ใหห้ งายขึ้นได ้ ไมบ่ รรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเปน็ ที่ตั้งแหง่ ความสงสัยมีอยา่ ง
ต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
ที่กวีแตง่ ขึ้นใหม ่ เปน็ คำรอ้ ยกรองประเภทกาพยก์ ลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอัน
วิจิตร เปน็ เรื่องนอกแนว เปน็ คำกลา่ วของสาวก อันบุคคลนำมากลา่ วอยู; ก็ไมฟ่ งั ดว้ ยดี
ไมเ่ งี่ยหูฟงั ไมเ่ ขา้ ไปตั้งจิตเพื่อจะรูท้ ั่วถึง และไมส่ ำคัญวา่ เปน็ สิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็น
โลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อม
สำคัญวา่ เปน็ สิ่งที่ควรศึกษาเลา่ เรียน. พวกเธอเลา่ เรียนธรรมที่เปน็ ตถาคตภาษิตนั้นแลว้
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร
อรรถะเปน็ อยา่ งไร ดังนี้. เธอเหลา่ นั้น เปดิ เผยสิ่งที่ยังไมเ่ ปดิ เผยได ้ หงายของที่ควํ่าอยู่
ใหห้ งายขึ้นได ้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเปน็ ที่ตั้งแหง่ ความสงสัยมีอยา่ ง
ต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศ
ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเปน็ เครื่องนำไป : ไมอ่ าศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอก
เปน็ เครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอน
สิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรค
ที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู) เป็น
ผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น
ผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ
ผู้ปัญญาวิมุตติ.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบท
พยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้อง
เช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจน
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน
เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย
ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณี
ที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
*** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วย
พระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่
จำนวนมาก เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา
เฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่
รูปหนึ่ง เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา
เฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
พยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ
ภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำนั้นเสีย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ
ภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส... นี้ไว้.
มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา
ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็น
ประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่
เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวก
นั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลายอย่า
เป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.
มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
ติดตามการเผยแผ่พระธรรมคำสอนตามหลักพุทธวจน
โดยพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ได้ที่
www.buddhakos.org | media.watnapahpong.org | www.watnapp.com |
คลื่น ส.ว.พ. FM 91.0 MHz ทุกวันพระ เวลา 17.40 น. |
ทีวีดาวเทียมระบบ C-Band ช่อง A I Biz Net Tong Hua เวลา 06.00-07.00 น
พระสูตรที่นำมาให้อ่านนี้คือทั้งหมดที่พระองค์ตรัสไว้เพื่อป้องกันและแก้ไข การบิดเบือนคำสอนของพระองค์ เพราะถ้าเรา ฟังคำหลวงพ่อนั้นที
องคืนี้ที หลวงพี่นั่นก้ดี แต่ละคำสอนนั้นแตกต่างกัน จึงแบ่งแยกเป็นสาย วัดป่าวัดบ้าน นิกายต่างๆ
เวลาจะสนทนาธรรมทีต้องถามว่า เธอ สายหลวงพ่อไร ถ้าไม่ใช่ อาจารย์ฉันจะไม่พูดด้วย อาจารย์ฉันเก่ง
จึงทำให้เกิดการแตกแยก
ทำไมเราไม่มาฟังคำศาสดาเพียงองคืเดียว เพราะท่านคือ ผู้สั้งสอนคือครูผู้ชี้นำทางสูงสุดในศาสนาพุทธ ใยเราไม่ฟังคำท่านองค์เดียวฟังคำสาวกทำไม ลองคิดดูถ้าเราเป็นหนึ่งในพระพุทธองคื เราจะ เป็นหนึ่งเดียว พุทธก็จะเหมือนกันทั่วโลก เพราะธรรมของพระองคืตรัสไว้ดีแล้ว ลองเปิดใจศึกษา ธรรมชั้นโลกุตระสอนแต่เรื่องสุญตาไม่ใช่ธรรม พื้นฐานทั่วไป สาธุวันพระครับ
.................................................................................