ต้นกล้วย-ใบตอง ไขปริศนาคำเรียกที่แตกต่าง
ทุกวันนี้ที่พลาสติกเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นเราก็มองเห็นเจ้าพลาสติกอยู่ในรูปของเครื่องใช้หลายๆ อย่างจนกลายเป็นความเคยชินที่เราคุ้นกับการใช้ชีวิตอยู่กับวัสดุย่อยสลายยาก ชนิดนี้ไปแล้ว ทำให้วัสดุธรรมชาติที่รักษาสิ่งแวดล้อมหลายชนิดลดบทบาทลงไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ใบตอง" ที่เพียงย้อนกลับไปราว30-40 ปี มันยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตแบบวิถีไทยๆ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะของการทำกระทง การทำบายศรี การทำเป็นภาชนะ การใช้เป็นหีบห่อและวัสดุใส่ของ ทำให้ทุกวันนี้เราๆ ท่านๆ จะหาขนมไทยแบบไทยแท้ที่ห่อด้วยใบตองกลัดไม้กลัดกันยากเต็มที อย่างดีก็ขนมไทยใส่กล่องพลาสติกเย็บแม็ก ทำให้กลิ่นหอมๆ ของตองที่มักจะติดอยู่ในขนมไทยๆ นั้นเลือนหายไปตามกาลเวลา
...แต่เอ...เขียนมาถึงตรงนี้ นึกเอะใจสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไม "ใบตอง" ที่มาจาก "ต้นกล้วย" ถูกเรียกแตกต่างกัน
วันนี้ไอน์สไตน์น้อยขุดคุ้ยคำตอบมาฝากกันครับ ...
"ตอง" ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า "ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย" ดังนั้นทำให้ไอน์สไตน์น้อยสรุปได้ว่า คำว่า "ใบตอง" ไม่น่าจะถูกจำกัดให้เรียก "ใบจากต้นกล้วย" แต่เพียงอย่างเดียว เพราะจริงๆ แล้วในภาษาไทยยังมีการเรียก "ตองตึง" และ "ตองเ...ยง" ที่เป็นใบของต้นตองตึงและต้นเ...ยงที่ถูกนำมาใช้เช่นกัน แต่กรณีของตองตึงและเ...ยงเป็นใบใหญ่ที่ใช้มุงหลังคาบ้าน
ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า ถ้าใบกล้วยอยู่บนต้นกล้วย น่าจะเรียกว่าใบกล้วย แต่ถ้าถูกตัดออกมาเพื่อใช้งาน เช่นการห่อของ ห่อขนม หรือทำกระทง ทำบายศรี น่าจะเรียกว่า "ใบตอง" ครับผม