ตำนานรักแห่งดอกกุหลาบในวรรณคดีไทย "มัทนะพาธา"
"มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" เป็นพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)" เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละครพูดอันเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก
มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก
พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริ ให้ใช้คำฉันท์ เป็นละครพูด อันเป็นของแปลก ในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใด ได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษา ซึ่งปรุงชื่อตัวละคร และภูมิประเทศ ถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่งได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และสุตาญาณอันกว้างขวาง
บทละครคำฉันท์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงพิษร้าย อันเนื่องมาจากความรัก ตรงตามความหมาย ของชื่อเรื่อง กล่าวคือ สุเทษณ์เทพ ผู้ทรงฤทธานุภาพ หลงรักมัทนาเทพธิดา แต่มัทนาไม่รักตอบ สุเทษณ์ผิดหวังและโกรธ ถึงกับสาปมัทนา ให้ไปเป็นดอกไม้ในโลกมนุษย์ เดือนหนึ่งเมื่อถึงวันเพ็ญ จึงกลายร่างเป็นมนุษย์ ที่สาวและสวยได้วันหนึ่ง ต่อเมื่อใดได้พบรัก โดยมีความรักกับบุรุษเพศ จึงจะเป็นมนุษย์ตลอดไป
ฉากปฏิญาณรัก ระหว่างท้าวชัยเสนกับมัทนา ในยามรุ่งอรุณ
ชัยเสน อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี
ประดุจมโนภิรมย์ระตี ณ แรกรัก
แสงอะรุณวิโรจน์นะภาประจักษ์
แฉล้มเฉลาและโสภินัก นะฉันใด
หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย
สว่าง ณ กลางกมลละไม ก็ฉันนั้น
แสงอุษาสะกาวพะพราว ณ สรรค์
ก็เหมือนระตีวิสุทธิอัน สว่างจิต
อ้าอนงคะเชิญดำเนิรสนิธ
ณ ข้าตะนูประดุจสุมิตร มโนมาน
ไปกระทั่ง ณ ฝั่งอุทกจีระธาร
และเปล่งพจี ณ สัจจะการ ประกาศหมั้น
ต่อพระพักตร์สุราภิรักษะอัน
เสด็จสถิต ณ เขตอะรัณ - ยะนี่ไซร้
ว่าตะนูและน้องจะเคียงคระไล
และครองตลอด ณ อายุขัย บ่คลาดคลา
แต่สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้นจึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วย ไม่ว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤาษีนามกาละทรรศิน มาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน
ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติจึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่ง ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้ อาศรมนั้นทันทีท้าวชัยเสนได้แต่รำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา
ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาจึงได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้นต่อท้าวชัยเสนบ้าง ท้าวชัยเสนซึ่งหลบอยู่จึงได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมา ทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกันจากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ
ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น มัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก...
ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆ ต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่ านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ทหารเอกท้าวชัยเสน พระองค์ทรงกริ้วหนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้โอกาสรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศ ึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามี ก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤาษีช่วยโดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤาษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยานและขอให้ฤาษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยรา ตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤาษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป
ซ้ำขออภัยค่ะ