การเลือกอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ และ การเลือกธนาคาร
เลือกอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้
* ดอกเบี้ยลอยตัว
* ดอกเบี้ยคงที่
* ดอกเบี้ยแบบผสม
สิน เชื่อดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Loan) คืออัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันตามสัญญาที่ผู้กู้ตกลงกู้ แต่ในอนาคตธนาคารสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ ตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของแต่ละธนาคาร อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงอาจกระทบต่อเงินงวดในแต่ละเดือนที่อาจจะเพิ่ม สูงได้ แต่หากดอกเบี้ยลด เงินงวดที่เคยจ่ายก็สามารถตัดเงินต้นได้เยอะขึ้น ทำให้ผ่อนหมดเร็วขึ้น
สินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Loan) เงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่คือเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนจะคงที่ ตลอดระยะเวลากู้ ทั่วไปเราจะเห็นวงเงินกู้แบบดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นเท่านั้น เช่น 6 เดือนหรือ 1-2 ปี มีข้อดีคือเงินงวดไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถวางแผนการเงินได้ดี
สินเชื่อดอกเบี้ยแบบผสม (Rollover Mortgage Loan) คือเงินกู้ที่ใช้ดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่ง เช่น 1 ปี หรือ 3 ปี เมื่อพ้นกำหนดก็จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยช่วงแรกๆ อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูก ถ้าผู้กู้โปะเงินงวดในช่วงที่ใช้ดอกเบี้ยคงที่ต่ำในช่วงแรกจะสามารถลดเงิน ต้นลงได้เร็วมาก แต่แนะนำว่าควรมองอัตราดอกเบี้ยทั้งโปรแกรมไม่ใช่แค่ช่วงแรกที่เป็นอัตรา ดอกเบี้ยคงที่เท่านั้น เพราะหากคำนวนทั้งโปรแกรมลูกค้าอาจเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง และดีกว่าการไถ่ถอนจำนองเพื่อไปใช้บริการแหล่งอื่นและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
โดย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 เป็นต้นมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องแสดงอัตราดอกเบี้ยที่แท้ จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate-EIR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แสดงควบคู่ดอกเบี้ยโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการเปรียบเทียบดอกเบี้ย ทั้งนี้ควรสังเกตฐานการคำนวณว่าธนาคารใช้วงเงินและระยะเวลาผ่อนชำระในการ คำนวณเท่าไรด้วย
เลือกธนาคาร
* อัตราดอกเบี้ย
* วงเงินสินเชื่อ
* ระยะเวลาผ่อนชำระ
* ความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ
* ค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อ (ประเมินราคา ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ ค่าจดจำนอง)
* เงื่อนไขการชำระเงินงวด
* เงื่อนไขการรีไฟแนนซ์/ปิดบัญชี
* ความสะดวกในการใช้บริการ
* ค่าธรรมเนียม/ค่าปรับ
ปกติ เราจะเน้นเลือกธนาคารที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด แต่ก็ควรพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบการตัดสินใจด้วยเช่นกัน อาทิ ระยะเวลาให้ผ่อนชำระสินเชื่อ ยอดผ่อนชำระต่อเดือน ยอดวงเงินสินเชื่อที่จะได้รับ ความเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ ช่องทางความสะดวกในการชำระเงินค่างวด เป็นต้น เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรา
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมดูค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อที่แต่ละแบงก์อาจคิดไม่เหมือนกันด้วย เช่น ค่าปรับในกรณีที่ผู้กู้ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา เช่น การชำระเงินงวดที่บางธนาคารห้ามชำระเกินเงินงวดในช่วงที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคง ที่ หรือค่าปรับกรณีปิดบัญชีหรือรีไฟแนนซ์ก่อน 3 ปี ค่าปรับกรณีผิดนัดหรือจ่ายค่างวดล่าช้า เป็นต้น