หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก

Share แชร์โพสท์โดย แพงพวย

           

 

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก

 

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก

 

               สำหรับชีวิตส่วนพระองค์พระเจ้าตากสิน นั้น ทรงมีพระอัครมเหสีและพระสนมหลายพระองค์ ดังนี้

 

1. สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจาริกา สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) พระนามเดิมว่า สอนหรือส่อน ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจาริกา 

พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ หรือ เจ้าฟ้าจุ้ย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาอุปราช ที่เป็นตำแหน่งของพระรัชทายาทในการสืบราชสมบัติ และ สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย เมื่อถึงคราวผลัดแผ่นดิน สิ้นรัชสมัยพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระอัครมเหสี และ สมเด็จพระเจ้าน้านางเธอกรมหลวงเทวินทรสุดา ได้ถูกลดพระยศเป็น “หม่อมสอน” และ “หม่อมอั่น” ตามลำดับ โดยถูกจองจำเอาไว้พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ถูกสำเร็จโทษ แต่ภายหลังการผลัดแผ่นดินได้ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบสุขในธนบุรี โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ใน รัชกาลที่ 1เป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูคอยช่วยเหลือพร้อมผู้อื่นหลายท่าน

 

2. เจ้าจอมมารดา เจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่  พระราชธิดาในรัชกาลที่ 1

มีโอรส คือ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ และได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต ต่อมาถูกข้อหาเป็นกบฏ ได้ถูกสำเร็จโทษพร้อมเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็ก ๆ อีก 6 องค์ ใน พ.ศ. 2352 พระองค์ได้ทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน

 

3. เจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงฉิม ราชธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

มีพระอรส 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร และ เจ้าฟ้ามัญจปาปี ซึ่งทรงเป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

4. เจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงปราง เป็นราชธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นกนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เข้าไปอยู่ในวังพร้อมเจ้าหญิงฉิม และ เป็นเหตุให้ เจ้าพระยาพิไชยราชา ซึ่งส่งเถ้าแก่เข้าไปสู่ขอทำให้พระเจ้าตากกริ้ว โปรดให้ประหารชีวิต เพราะบังอาจจะเป็นเขยเล็กแข่งกับพระเจ้าแผ่นดิน และ หลังเจ้าหญิงปรางก็ได้เข้าถวายตัวกับพระเจ้าตากสิน

          เมื่อเกิดเหตุ เจ้าพัฒน์พระมหาอุปราชเมืองนครไปสงครามได้รับชัยชนะกลับมาและ เจ้าหญิงนวลผู้เป็นภริยาเสียชีวิต จึงได้พระราชทานเจ้าหญิงปรางให้ทั้ง ๆ ที่ทรงพระครรภ์ได้ 2 เดือนแล้ว และได้ประสูติพระราชโอรสของพระเจ้าตากใน พ.ศ. 2319 คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) โดย พระมหาอุปราช (พัฒน์) ไม่กล้าขัดด้วยเกรงพระราชอาญาโดยไม่ทรงถือเป็นชายาแต่ได้ตั้งเป็นแม่วัง ด้วยความเคารพในพระมหากรุณาธิคุณ และไม่ได้แตะต้องเจ้าหญิงปรางเลย

 

5. เจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงจวนหรือญวน ราชธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช 

ถวายตัวกับพระเจ้าตากสินและได้ทรงพระครรภ์ แต่ได้พระราชทานแก่เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ที่มีความดีความชอบในราชการสงคราม ซึ่งได้ประสูติเป็นชาย ปรากฏพระนามว่า ทองอินทร์ โดยเจ้าพระยานครราชสีมามิได้ถือเป็นภริยา แต่ได้ยกย่องไว้ในอีกพระฐานะหนึ่งแทน 

 

6. เจ้าจอมมารดาอำพัน  ราชธิดาของ เจ้าอุปราชจันทร์ แห่งนครศรีธรรมราช

มีพระราชโอรสคือ พระองค์เจ้าชายอรนิกา และ พระองค์เจ้าหญิงสาลีวรรณ ทรงเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 2 พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสองพระองค์นี้ถูกข้อหากบฏ สำเร็จโทษพร้อมเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อ พ.ศ.2352

 

7. เจ้าจอมมารดาทิม  เป็นหม่อมราชวงศ์ของพระราชวงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระธิดาของท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) มีพระราชโอรสคือ พระองค์เจ้าชายอัมพวัน

8. เจ้าจอมมารดาเงิน มีพระธิดาคือ พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์

 

          และในตอนที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น มีพระราชวงศ์ฝ่ายหญิงที่มิได้ถูกกวาดต้อนไปพม่าและได้ถวายตัวกับพระเจ้าตากสินหลายองค์ ซึ่งพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงดังนี้

 

           “...พระราชวงศานุวงศ์ซึ่งเหลืออยู่ พม่ามิได้เอาไปนั้นตกอยู่ ณ ค่ายโพธิ์สามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นก็มีบ้างและ

เจ้าฟ้าสุริยา  เจ้าฟ้านันทวดี    เจ้าฟ้าจันทวดี  พระองค์เจ้าฟักทองหนึ่ง ทั้ง4 เป็นราชบุตรี พระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ

เจ้ามิตร บุตรีกรมพระราชวัง 

หม่อมเจ้ากระจาด บุตรีกรมหมื่นจิตสุนทร

หม่อมเจ้ามณี บุตรีกรมหมื่นเสพภักดี

หม่อมเจ้าฉิม บุตรีเจ้าฟ้าจืด 

พระองค์เจ้าทับทิม บุตรีสมเด็จพระอัยกา พวกข้าไทพาหนีออกไป ณ เมืองจันทบูร เจ้าตากก็สงเคราะห์รับเลี้ยงดูไว้...”

 

            ทั้งนี้ ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ได้กล่าวไว้ว่า

“...บุตรกรมหมื่นสุนทรเทพ หม่อมประยงค์ โปรดให้เป็นเจ้าอนิรุทเทวา

บุตรกรมหมื่นจิตรสุนทร หม่อมกระจาดให้ชื่อ บุษบา

บุตรกรมพระราชวัง หม่อมเจ้ามิตร ประทานชื่อ ประทุม

บุตรกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมมงคล หม่อมพะยอม พี่หม่อมอุบล บุตรเจ้าฟ้าจิตรเลี้ยงเสมอกันทั้งสี่คน แต่โปรดหม่อมฉิม หม่อมอุบล ประทุม อยู่คนละข้าง...”

จะเห็นได้ว่าพระมเหสีที่พระเจ้าตากสินทรงโปรดปรานมากที่สุดสองพระองค์ คือ หม่อมฉิม บุตรีเจ้าฟ้าจืด พระเจ้าหลานเธอของพระเพทราชา และ หม่อมเจ้าหญิงอุบล บุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ

 

          เหตุหึงหวง

          หม่อมเจ้ามิตร ทูลฟ้องว่า หม่อมฉิม กับ หม่อมอุบล เป็นชู้กับฝรั่งในวัง จึงลงโทษประหาร ผ่าอกต่อมาทรงเสียพระทัย ทรงคิดถึงและสงสารหม่อมอุบล ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะทรงครรภ์ได้ 2 เดือน ถึงกับมีพระราชปรารภว่ามีพระประสงค์จะตายแทน จนถึงกับต้องนิมนต์พระเถระมาถวายพระพร เตือนพระสติจึงได้เปลี่ยนพระทัย

          นอกจากนี้ยังมีพระสนมพร้อมพระราชโอรสกับพระราชธิดาอีกหลายพระองค์ที่มิได้กล่าวอ้างในที่นี้ และภายหลังแม้เมื่อมีเกิดการผลัดแผ่นดิน จนผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ทั้งพระราชโอรสต้องถูกราชภัยสำเร็จโทษ สมเด็จพระอัครมเหสีและพระเจ้าน้านางเธอ รวมทั้งพระมเหสีพระราชธิดาต้องถูกถอดพระยศ และถูกคุมขังจองจำ แม้กระทั่งขุนนาง ข้าราชการและขุนศึกที่เคียงคู่ร่วมรบ ร่วมสร้างบ้านเมืองมาร่วมกัน ก็ต้องถูกประหารไปเป็นจำนวนมากกลาย

 

           เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี  พระมเหสี พระราชโอรสและพระราชธิดาถูกถอดจากพระอิสริยยศกลายเป็นสามัญชน  มีเพียงไม่กี่พระองค์เท่านั้นที่ยังคงดำรงยศชั้นเจ้านาย แต่ถึงอย่างนั้น  ตลอดพระชนม์ชีพก็ยังคงถูกดูหมิ่นพระเกียรติและมีชีวิตที่เรียกได้ว่า รันทด ไม่น้อยเหมือนกัน

 

 

ราชสุลสายพระเจ้าตากสิน 

 

 

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก

 

ภาพนี้เป็นภาพถ่ายทางอากาศบริเวณพระราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ มองเห็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ (วิไชยประสิทธิ์) ชัดเจน

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก
 
 
ภาพวาด พระราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) และป้อมวิชัยประสิทธิ์ (วิไชยประสิทธิ์) ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม
 
 
 
 
 
 
อาคารท้องพระโรงเป็นอาคารทรงไทย ผังอาคารรูปตรีมุข วัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาสีส้มชนิดหางเหลี่ยงไม่เคลือบสี ด้านจั่วประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และนาคสะดุ้ง สร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี อาคารท้องพระโรงประกอบด้วยพระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่

พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่า ท้องพระโรง อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่ออกขุนนาง ตรงกลางแต่เดิมมีเสาไม้กลม ๒ แถว ๆ ละ ๘ ต้น เรียกว่า ในประธาน เป็นที่รอรับเสด็จของขุนนางขณะเข้าเฝ้า

ทางทิศใต้ยกพื้นสูงเรียกว่า มุขเด็จ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะเด็จออกว่าราชการ 


พระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร หรือพระราชฐานชั้นกลางอันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ 

มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก

            พระที่นั่งองค์ทิศเหนือที่ใช้เป็นท้องพระโรงนั้น สันนิษฐานว่า แต่เดิมเป็นท้องพระโรงโถงไม่มีฝารอบเช่นเดียวกับท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ได้มีการซ่อมปรับปรุงเรื่อยมา โดยเฉพาะในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ได้เสด็จประทับ ณ พระราชวังเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔ สันนิษฐานว่าได้โปรดให้ก่อผนังขึ้นโดยรอบพระที่นั่งองค์ทิศเหนือหรือส่วนท้องพระโรงให้เป็นฝาทึบ เจาะช่องพระทวารและพระบัญชรโดยรอบ 


ต่อมาในการซ่อมบูรณะระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๘-๒๔๗๖ ได้ปรากฎหลักฐานทางเอกสารและภาพถ่ายของอาคารว่ากรมยุทธโยธาทหารเรือได้ทำการซ่อมดัดแปลงอาคารท้องพระโรง โดยได้รื้อฝาผนังรวมทั้งช่องพระทวารและพระบัญชรโดยรอบออกทั้งหมด หลังจากนั้นได้จัดสร้างเสาคอนกรีต เสริมเหล็กรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลบมุมโค้ง ขนาดหน้าตัด ๕๐x๕๐ ซม. ขึ้นเป็นโครงสร้างแทน โดยระหว่างเสาที่จัดสร้างใหม่นี้ ได้ก่อผนังอิฐทำเป็นผนึกทึบสูงประมาณ ๙๐ ซม. และเว้นช่องประตูทางเข้าออกไว้ทั้งหมดรวม ๖ ช่อง ดังปรากฎในปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ที่เคยมีแนวเสาไม้กลม ๒ แถว แถวละ ๘ ต้น ได้สร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรูปสี่เหลี่ยมขึ้นแทน 


         สำหรับพระที่นั่งขวางสันนิษฐานว่ารูปแบบดั้งเดิม ไม่แตกต่างจากสภาพปัจจุบันมากนัก กล่าวคือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงกลางขนาดใหญ่ยกพื้นสูง มีฝาก่ออิฐถือปูน ๔ ด้าน เจาะช่องพระทวาร พระบัญชรโดยรอบ
 
 
มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก
 
"พระตำหนักเก๋งจีนคู่" เคยเป็นที่บรรทมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งอาคารในพระราชวังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่คงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบันก็มีเพียง ๒ หลังนี้เท่านั้น (ท้องพระโรงและพระตำหนักเก๋งจีนคู่หลังเล็ก)
 
 
 
มเหสี เจ้าจอม พระเจ้าตาก
 
  พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้รับการอัญเชิญไปไว้ ณ วัดอินทาราม (ปัจจุบันนี้ยังคงประดิษฐานอยู่ที่นั่น) วัดที่ว่ากันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระองค์ท่าน "
 
 
ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แพงพวย's profile


โพสท์โดย: แพงพวย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
VOTED: mamaprince
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทครูหนุ่มชาวจีนโพสต์รูปตัวเอง เปรียบเทียบสมัยก่อนเเละหลังทำงานได้ 6 ปี เปลี่ยนไปจริง ๆ 😌ทาสแมวใจสลาย..รับไม่ได้ เอาแมวมาขอทานเปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีไต้หวันสั่งปิดร้านอาหารดัง หลังทำลูกค้าดับ 2 รายและป่วยหนัก 4 รายdisgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจสาวสั่งอาหารผ่านแอพฯ แต่ไรเดอร์แชทบอกเธอให้เปลี่ยนร้าน เพราะร้านนี้สกปรกมาก 😌ลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เตือนภัย! ใช้เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้าอย่าประมาทนะครับ นี้ขนาดระวังแล้วนะ…ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันจดไว้เลย!! 2ตัวล่าง 78ให้มาตรงๆ 1 เมษายน 2567
ตั้งกระทู้ใหม่