โลก กับ 8 ปริศนา ที่ยังหาคำตอบไม่ได้
โลกมีรูปทรงกระบอกแบนขั้ว หมายความว่ามีรูปทรงกระบอกแต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์
ทว่าตั้งแต่มนุษย์เริ่มศึกษาโลกอย่างจริงจัง กลับมีคำถามง่ายๆ 8 อย่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
1. น้ำมาจากที่ไหน
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกควรจะมีแต่หินแห้งๆหลังจากที่โลกเกิดจากการรวมตัวกันของธาตุหนักเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน แต่ว่า H2O พวกนี้มาจากไหนกัน หรือว่าอาจจะส่งมาจากอวกาศนอกโลก โดยผ่านแรงกระทำต่างๆ จนเกิดน้ำขึ้นมาในยุคที่เรียกกันว่า ‘หายนะการเปลี่ยนแปลงของดวงดาว’ The Late Heavy Bombardment แต่ถึงกระนั้นการมาของน้ำก็ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ดี เพราะหินต่างๆที่หลงเหลือจากการระเบิดครั้งใหญ่หายไปจนหมดแล้ว จึงไม่มีหลักฐานสำหรับการสำรวจ
2. อะไรอยู่ที่ใจกลางกันแน่
เป็นเวลานานมามากแล้วที่ปริศนานี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายสับสน มีอยู่ช่วงหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ดูเหมือนจะหาคำตอบได้ ในปี 1940 นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณถึงสมดุลของแร่ธาตุต่างๆบนโลก และพบว่าเหล็กกับนิเกิลที่ควรจะมีบนพื้นดินมากกว่านี้กลับหายไป จึงสันนิษฐานกันว่าทั้งสองอย่างน่าจะเป็นส่วนหลักของใจกลางโลก แต่หลักทฤษฏีแรงโน้มถ่วงในปี 1950 กลับปฏิเศษทฤษฏีข้างต้นเพราะทั้งเหล็กและนิเกิลเบาเกินกว่าจะเป็นใจกลางโลกได้ และแม้แต่ในปัจจุบันนี้เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังพยายามหากันอยู่ว่าอะไรแน่ที่อยู่ใจกลางโลก
3. ดวงจันทร์มาที่โลกได้อย่างไร
อาจจะเกิดการชนกันระหว่างโลกกับดาวขนาดเดียวกับดาวพุธจึงทำให้เกิดเป็นดวงจันทร์ขึ้นมา อย่างไรก็ตามยังไม่มีทฤษฏีที่ยอมรับกันอย่างเป็นสากลเพราะข้อมูลบางอย่างไม่ค่อยชัดเจนนัก นักวิทยาศาสตร์เคยตรวจพบว่ามีองค์ประกอบทางเคมีของดวงจันทร์ที่เหมือนโลก จึงสรุปว่าดวงจันทร์อาจจะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่หลุดออกมาจากโลก แต่ทฤษฏีถูกปฏิเสธเพราะโลกไม่มีวัตถุมากที่จะทำแบบนั้นได้
4. สิ่งมีชีวิตมาจากที่ไหน
เริ่มต้นที่โลกหรือว่ามาจากอวกาศภายนอกโลกก่อนจะเดินทางมาที่นี่กันแน่ ส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตอย่าง กรดอะมิโนและวิตามินได้รับการตรวจพบทั้งจากเศษน้ำแข็งบนอุกกาบาตหรือแม้แต่ในที่ที่สภาพแวดล้อมสุดขั้ว การค้นหาว่าส่วนประกอบพวกนี้กำเนิดขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตแรกได้อย่างไรเป็นหนี่งในเรื่องที่ยากที่สุดของวงการชีววิทยาในปัจจุบันเลยทีเดียว เพราะเราไม่มีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่บอกได้แบบชัดเจน
5. อ็อกซิเจนมาจากที่ไหนกัน
เราต้องขอบคุณไซยาโนแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชั้นบรรยากาศมูลฐานของโลก พวกมันปลดปล่อยอ็อกซิเจนออกมาในรูปของเสีย และทำให้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยอ็อกชิเจนเมื่อ 2400 ล้านปีก่อน แต่หลักจากนักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจฟอสซิลหินบนโลก พบว่าระดับของอ็อกซิเจนบนโลกพุ่งขึ้นและลดลงอย่างกับรถไฟเหาะตีลังกามาตลอดและมีมาก่อนแล้วกว่า 3 พันล้านปี ก่อนจะคงที่ในยุคแคมเบรียน ดังนั้นจึงสรุปกันไม่ได้ว่าจะเป็นแบคทีเรียหรือสิ่งอื่นที่ทำให้โลกมีอ็อกซิเจนกันแน่ และการศึกษาเพื่อให้รู้คำตอบพวกนี้จะเป็นตัวการนำไปสูปริศนาชีวิตแรกบนโลกแน่นอน
6. ระเบิดแคมเบรียนเกิดขึ้นได้อย่างไร
Cambrian explosion หรือ Biological Big Bang หลังจากโลกมีอายุได้ 4 พันล้านปี จู่ก็มีสิ่งมีชีวิตที่บังเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันมากมาย พวกมันมีหน้าตาก็ล้วนแปลกประหลาดอัศจรรย์ทั้งสิ้น เป็นสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในทะเล มีสมอง เส้นเลือดและหัวใจ เช่น ไทรโลไบต์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์โลก จะเป็นอ็อกซิเจนที่เพิ่มปริมาณสูงหรือเปล่าก็ยังไม่มีใครให้คำตอบที่แน่ชัดได้
7. เมื่อไหร่เราจะทำนายแผ่นดินไหวครั้งต่อไปได้แม่นยำ
อย่างมาก เทคโนโลยีทำได้เพียงแค่บอกความน่าจะเป็นไปได้ในการเกิดแผ่นดินไหว แต่มนุษย์ยังบอกไม่ได้แบบเฉพาะเจาะจงว่าจะเกิดเมื่อไหร่ เวลาไหน หรืออันตรายแค่ไหน ซึ่งเหมือนในกรณีเดียวกับการพยากรณ์อากาศที่ไม่ได้ถูกต้องเสมอไปทุกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การทดลองครั้งใหญ่สุดเกี่ยวกับทำนายแผ่นดินไหวโดยนักธรณีวิทยาผู้เชี่ยวชาญหลายคนว่าจะมีแผ่นดินไหวในปี 1994 ที่แคลิฟอร์เนีย ก็ล้มเหลวมาแล้ว เพราะมันดันไปเกิดในปี 2004 แทน เหตุผลก็เพราะนักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบแน่ชัดว่าแผ่นดินไหวเริ่มและหยุดอย่างไรและทำไมกันแน่
8. การแปรสัณฐานแห่งธรณีภาคเริ่มต้นเมื่อไหร่
Plate Tectonic หรือการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก ที่ทำให้โลกของเราทั้งสวยและอันตรายมากยิ่งขึ้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่ การเคลื่อนที่ของโลกแบ่งแผ่นเปลือกโลกออกเป็น 7 ส่วน ในแต่ละที่ประกอบไปด้วยภูเขาไฟที่ครุกรุ่น แต่หลักฐานที่ว่าเริ่มเมื่อไหร่นั้นได้ถูกทำลายหายไปนานแล้ว มีเพียงเจ้าเพทาย (Zircon) เท่านั้นที่พอจะเป็นหลักฐานที่รอดจากการถูกทำลายเมื่อ 4.4 พันล้านปีก่อนมาได้