อันตรายที่เกิดจากหูฟังนั้นเกิดจากการฟังในระดับเสียงที่ดังเกินไปติดติอกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งมีผลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่อายุระหว่าง 23-25 ปี ออกมาแล้วว่า การฟังเพลงด้วยความดัง 80 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถของตัวเครื่องเล่น MP 3 และอื่นๆ นานเป็นเวลา 90 นาทีต่อวัน
ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลกระทบต่อระบบโสตประสาท ซึ่งอาการหูตึงและหูอื้อจะค่อยๆเกิดขึ้นโดยการรับฟังเสียงจะเริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด หรือเสียงไม่ดัง มีเสียงก้องในหู ทำให้ต้องเร่งความดังอีกและทำให้เกิดอาการหูหนวกถาวรได้ ซึ่งอาการการจะไม่เกิดในทันทีแต่จะค่อยๆเกิดซึ่งใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงเป็นปี บางทีถึงแม้ว่าใช้หูฟังเป็นเวลาไม่นานแต่เร่งเสียงดังเกินไปก็จะเกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลกระทบต่อระบบโสตประสาท ซึ่งอาการหูตึงและหูอื้อจะค่อยๆเกิดขึ้นโดยการรับฟังเสียงจะเริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด หรือเสียงไม่ดัง มีเสียงก้องในหู ทำให้ต้องเร่งความดังอีกและทำให้เกิดอาการหูหนวกถาวรได้ ซึ่งอาการการจะไม่เกิดในทันทีแต่จะค่อยๆเกิดซึ่งใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงเป็นปี บางทีถึงแม้ว่าใช้หูฟังเป็นเวลาไม่นานแต่เร่งเสียงดังเกินไปก็จะเกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
และหูฟังส่วนใหญ่นั้นมักมีค่าตอบสนองต่อสัญญาณหรือที่เรียกว่า Sensitivity ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงระดับความดังเป็นเดซิเบลเกิน 100 เดซิเบลขึ้นไปทั้งหมด บางรุ่นมี ค่าสูงถึง 110 เดซิเบล ขึ้นไป ซึ่งทำให้เมื่อเร่งเสียง เสียงก็ได้ดังขึ้นไปมาก ซึ่งมักเป็นกับหูฟังแบบเป็นจุกยางอุดเข้าไปในหู หรือเสียบไว้ที่ใบหู จึงต้องระวังเป็นพิเศษ และเครื่องเล่น MP 3
และโทรศัพท์มือถือได้รับการพัฒนาให้มีความจุของแบตเตอรี่ที่สูงขึ้นสามารถใช้ได้นานขึ้นและสามารถให้พลังเสียงออกมามากขึ้นทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นไปอีก ในการป้องกันนั้นหูฟังนั้นควรที่จะเปิดฟังเป็นเวลาที่ไม่นานเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และควรเปิดเสียงที่ระดับไม่เกิน 40 -50 % หรือในระดับที่คิดว่าเสียงนั้นเบาพอดีและได้ยินชัดเจนแล้ว จะเป็นการช่วยทำให้หูนั้นไม่เกิดอาการผิดปกติจาการใช้หูฟัง
และการใช้หูฟังนั้นควรมีการหยุดพักบ้าง เพื่อให้ประสาทรับรับเสียงของหูได้หยุดพักบ้าง และควรใช้หูฟังที่มีลักษณะที่ไม่ได้สอดเข้าในรูหูและแบบครอบทั้งใบหูก็ได้จะช่วยให้ลดอาการหูอื้อและหูตึงได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทำตามที่กล่าวไว้ขั้นต้น และถ้าหูเริ่มมีอาการหูอื้อและเริ่มหูตึงให้หยุดใช้หูฟังกับหูของเราและรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไป
และโทรศัพท์มือถือได้รับการพัฒนาให้มีความจุของแบตเตอรี่ที่สูงขึ้นสามารถใช้ได้นานขึ้นและสามารถให้พลังเสียงออกมามากขึ้นทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นไปอีก ในการป้องกันนั้นหูฟังนั้นควรที่จะเปิดฟังเป็นเวลาที่ไม่นานเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และควรเปิดเสียงที่ระดับไม่เกิน 40 -50 % หรือในระดับที่คิดว่าเสียงนั้นเบาพอดีและได้ยินชัดเจนแล้ว จะเป็นการช่วยทำให้หูนั้นไม่เกิดอาการผิดปกติจาการใช้หูฟัง
และการใช้หูฟังนั้นควรมีการหยุดพักบ้าง เพื่อให้ประสาทรับรับเสียงของหูได้หยุดพักบ้าง และควรใช้หูฟังที่มีลักษณะที่ไม่ได้สอดเข้าในรูหูและแบบครอบทั้งใบหูก็ได้จะช่วยให้ลดอาการหูอื้อและหูตึงได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทำตามที่กล่าวไว้ขั้นต้น และถ้าหูเริ่มมีอาการหูอื้อและเริ่มหูตึงให้หยุดใช้หูฟังกับหูของเราและรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไป