ไปดูโครงการ “รถไฟความเร็วสูง” ของประเทศเพื่อนบ้านกัน ว่าเขาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว
ในขณะที่ประเทศไทยของเรายังไม่สามารถเดินหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูประเทศเพื่อนบ้านของเรากัน ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงของแต่ละประเทศนั้นไปถึงไหนกันแล้ว
จีนวางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการ กระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งภายในปี 2558 จะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในจีนเปิดดำเนินการถึง 19,000 กิโลเมตร ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาสามารถพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้ปีละ 3,000 กิโลเมตร นอกจากนี้จีนยังวางเป้าหมายที่จะขยายรถไฟความเร็วสูงไปเชื่อมกับภูมิภาคอาเซียน และยุโรปอีกด้วย
ญี่ปุ่นมีรถไฟใต้ดิน รถไฟบนดิน รถไฟฟ้ามวลเบาแบบ Monorial และรถไฟความเร็วสูง Shinkansen มานานก่อนไทยราว 40 ปีแล้ว และกำลังพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่สูงที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะวิ่งระหว่างกรุงโตเกียวและนครโอซากา และคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2568
ฟิลิปปินส์มีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงในเกาะลูซอน เชื่อมระหว่างนครโลวาก (Laoag) ทางเหนือสุดของเกาะผ่านมะนิลาไปยังเมือง บีโกล (Bicol) ทางใต้สุดของเกาะ ระยะทาง 903 กิโลเมตร นอกจากนี้ในปี 2555 สภาพัฒน์ฯ ของฟิลิปปินส์ ยังประกาศจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินนานาชาติกรุงมะนิลาเข้ากรุงมะนิลา โดยก่อสร้างในระบบสัมปทานนั่นเอง
สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงจากมาเลเซียไปสิงคโปร์ ระยะทาง 300 กิโลเมตร อาจยังมีความจำเป็นน้อย เพราะทางหลวงในมาเลเซียมีสภาพดีและมีประสิทธิภาพสูงและการขนส่งทางอากาศซึ่งมีต้นทุนต่ำลงตามลำดับ แต่รัฐบาลทั้งสองก็เห็นพ้องที่จะสร้างให้เสร็จภายในปี พ.ศ.2563 ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลมาเลเซียยังจะสร้างเส้นทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังปีนังอีกด้วย
โครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงไปย่างกุ้งระยะทาง 1,920 กิโลเมตร แต่ยังอยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนี้จีนยังมีแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงไปสู่เมืองท่า จ็อกผิ่ว (Kyaukphyu) เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการประมาณ 640,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจีนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด รถไฟเส้นทางนี้มุ่งเน้นการขนส่งสินค้า 4,000 ตันโดยจะวิ่งด้วยความเร็ว 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เวียดนามมีแผนที่จะสร้างรถไฟสายเหนือ-ใต้ของประเทศ ระยะทาง 1,630 กิโลเมตร ระหว่างกรุงฮานอย กับ นครโฮจิมินห์ซิตี้รถไฟนี้จะวิ่งด้วยความเร็ว 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ร่นเวลาเดินทางและขนส่งจาก 26 ชั่วโมง เหลือเพียง 5 ชั่วโมง โดยใช้เงินลงทุนถึง 1.8 ล้านล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะเวียดนามกับจีนยังมีความหมางเมินทางการเมือง อย่างไรก็ตามในระยะยาวก็คงต้องเชื่อมต่อกับจีนเพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ
อินเดียมีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 4,500 กิโลเมตร โดยจะวิ่งที่ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมต่อกับเมืองท่าสำคัญต่างๆ นอกจากนี้รัฐเกรละทางใต้สุดของอินเดียยังจะมีรถไฟความเร็วสูงภายในรัฐนี้โดย คาดว่าจะเริ่มในปี พ.ศ.2567 ส่วนรัฐโอริสสาทางฝั่งตะวันออกก็จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองสำคัญคือ ระยะทาง 211 กิโลเมตร ซึ่งต้องเดินทางเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 25 นาที ให้เหลือเวลาเพียง 40 นาทีเท่านั้น
อินโดนีเซียวางแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงในเกาะชวาระหว่างกรุงจาการ์ตา ทางทิศตะวันตกกับนครสุราบายาทางทิศตะวันออกระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาโดยสำรวจเบื้องต้นเสร็จใน ปี พ.ศ.2555 และคาดว่าจะก่อสร้างในไม่ช้านี้ โดยรถไฟจะความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โครงการนี้คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 645,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจะมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งจากสนามบินนานาชาติซูการ์โน-ฮาตตา ชานกรุงจาการ์ตาเข้ากรุงจาการ์ตาในไม่ช้านี้อีกด้วย
กาตาร์ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน ยูเออี และโอมาน วางแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทางรวม 2,200 กิโลเมตร โดยเส้นทางหลักคือจากดูไบไปอะบูดาบี สำหรับกาตาร์เอง ก็ยังมีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับซาอุดีอาระเบียเพื่อการจัด ฟุตบอลโลกในปี พ.ศ.2565 อีกด้วย นับว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นทิศทางการพัฒนาสำคัญของแทบทุกประเทศ
ที่มา: news.th.msn.com
โพสท์โดย: I sea u