เรื่องไฟฟ้า ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงตายได้ทุกเวลา
เรื่องไฟฟ้า ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงตายได้ทุกเวลา
ปัจจุบัน มีหลายคนที่รู้ว่าไฟฟ้าอันตราย แต่หลายคนไม่ทราบว่าอันตรายนั้น จะมาถึงตัวเองเมื่อไร
แม้เราจะระวังแล้วก็อาจจะพลาดได้ ไฟฟ้าก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
อันตรายจากไฟฟ้าเกิดได้ 2 สาเหตุคือ ไฟฟ้าช็อต และไฟฟ้าดูด
1.ไฟฟ้าช็อตหรือเรียกอีกอย่างว่าไฟฟ้าลัดวงจร คือ กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.ไฟฟ้าดูด คือการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย การเรียกไฟฟ้าดูดจะเป็นการเรียกจากอาการเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
จะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อจนไม่สามารถสะบัดให้หลุดออกมาได้ จึงเรียกว่า"ไฟฟ้าดูด" ผลของไฟฟ้าดูดอาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการเลยก็เป็นได้
จากเหตุน้ำท่วมปี 2554 ภายใน 6 เดือน มีผู้เสียชีวิตถึง 153 ราย จากการโดนไฟดูด
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://goo.gl/0kSzi6
ไฟฟ้าดูดเกิดจาก
การที่กระแสไฟฟ้าไหลจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวคน และกลับไปแหล่งกำเนินโดยผ่านทางดิน ไฟฟ้าดูดมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า การที่ไฟฟ้าจะดูดได้นั้น ไฟฟ้าต้องไหลครบวงจร คือต้องมีจุดที่กระแสไฟฟ้าไหลออกจากร่างกาย นั่นหมายความว่าร่างกายจะต้องสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าสองจุดพร้อมกันและทั้งสองจุดนั้นจะต้องมีแรงดันไฟฟ้าต่างกันด้วย ตัวอย่างของการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าหรือช่างไฟฟ้าทำงานโดยยืนอยู่บนฉนวนไฟฟ้าทำงาน ซึ่งอาจเป็นพื้นยางหรือสวมใส่รองเท้ายาง เป็นต้น ปกติพื้นดินคือส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าที่แรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้นเมื่อเราสัมผัสส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินกลับไปครบวงจรที่แหล่งจ่ายกระแสไฟหรือแหล่งกำเนิดเราจึงถูกไฟดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สามารถแยกตามลักษณะของการสัมผัสได้ 2 แบบคือ การสัมผัสโดยตรง และการสัมผัสโดยอ้อม
การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact) คือการที่ส่วนของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่นสายไฟฟ้ารั่วเพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับ หรือจากการที่เด็กเอาโลหะเล็กๆ เช่นตะปูแหย่เข้าในรูเต้ารับไฟฟ้า เป็นต้น ลักษณะนี้โดยตรงก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงดิน
การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่บุคคลสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้ารั่ว จึงมีไฟฟ้ามารออยู่ที่โครงโลหะของเครื่องไฟฟ้า เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เช่นเดียวกับการไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า การสัมผัสโดยอ้อมมีอันตรายสูง และน่ากลัวเนื่องจากส่วนที่สัมผัสโดยปกติแล้วจะไม่มีไฟฟ้า ผู้สัมผัสจึงขาดความระมัดระวัง
การป้องกันไฟดูด
หลักพื้นฐานของการป้องกันอันตรายจากไฟดูด คือการไม่สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าก็จะต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเรามีความจำเป็นต้องสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผัส ขณะที่เปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การป้องกันที่ดีคือการมีระบบสายดิน หรือเรียกว่า การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้องโดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่านั้น จึงจะได้ผล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟรั่วเครื่องป้องกันกระแสเกิน (ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) จะทำงาน ตัดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟ ต้องทำการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ดีเสียก่อน จึงจะนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว จะสามารถป้องกันอันตรายจากไฟดูดได้เช่นกัน แต่ใตการใช้งานจะต้องมั่นใจว่า เครื่องตัดไฟรั่วทำงานเป็นปกติตามที่ได้ออกแบบไว้เนื่องจากเครื่องตัดไฟรั่วเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้เช่นกันอาจชำรุดได้ ในการใช้งานจึงต้องมีการทดสอบเป็นประจำตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เครื่องตัดไฟรั่วจึงใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมเท่านั้น ในการใช้งานจำเป็นต้องมีระบบสายดินด้วย จึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย และถ้าจะให้การป้องกันสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็คือการใช้งานร่วมกันทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่ว
ทางที่ดีควรมองหาเครื่องตัดไฟรั่ว และป้องกันไฟดูด ไฟช๊อตไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันกับตัวเองและคนในครอบครัว