Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รถไฟไทย : = ชนิดรถโดยสารแต่ละประเภทของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โพสท์โดย PrinceVirus

รวมฉลอง 117 การรถไฟแห่งประเทศไทย วันนี้เลยมีภาพของรถโดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยมาให้ชมกัน

ลักษณะของรถพ่วงที่ให้บริการ
รถไฟจะแบ่งเป็น 3 ชั้น 
ชั้น 1 
ชั้น 2
ชั้น 3
และจะแบ่งเป็นประเภทย่อยๆอีกคือ รถนั่ง รถนอน และรถปรับอากาศ จะมีข้อมูลดังต่อไปนี้

รถนอนปรับอากาศชั้น 1 (บนอ.ป)
รถนอนปรับอากาศชั้น 1 นั้นจะมีลักษณะห้องโดยสารเป็นห้องๆ ใน 1 ห้องจะเป็นเตียงนอน มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่ง รฟท. มีรถนอนปรับอากาศชั้น 1 ให้บริการ 2 แบบ คือ

รถนอนปรับอากาศชั้น 1 ชนิด 24 ที่นั่ง (บนอ.ป24)
รถนอนประเภทนี้ จะแบ่งเป็น 12 ห้อง ใน 1 ห้อง จะมี 2 เตียง เป็นเตียงล่าง 1 เตียง เตียงบน 1 เตียง
และห้องที่เป็นคู่ๆกันมีประตูสามารถเปิดเข้าหากันได้ คือ ห้อง 1/2 ,3/4 ,5/6, 7/8, 9/10, 11/12

ขบวนที่ให้บริการ
สายเหนือ
ขบวนรถด่วนพิเศษนครพิงค์ที่ 1/2 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ (จะพ่วงในวันที่ไม่มี บนอ.ปJR)
สายอีสาน
ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 69/70 กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ
สายใต้
ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 35/36 กรุงเทพ – บัตเตอร์เวอร์ธ – กรุงเทพ (ตัดรถแค่หาดใหญ่)
ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณที่ 37/38 กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ – ตรัง – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ



รู้ไว้ใช่ว่า...
รถนอนปรับอากาศชั้น 1 ในเที่ยวไปห้องนอนจะอยู่ฝั่งซ้ายของขบวนรถ
ส่วนขากลับ ห้องนอนจะอยู่ขวามือของขบวนรถ
ห้องน้ำ จะมี 2 ห้อง ไม่มีหน้าต่าง แต่จะมีพัดลมดูดอากาศแทน

รถนอนปรับอากาศชั้น 1 ชนิด JR-West (บนอ.ปJR)
รถรุ่นนี้เป็นรถนอนเดิมของ JR-West ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดที่ใหญ่และความกว้างค่อนข้างมาก ทำให้ห้องโดยสารมีขนาดใหญ่ตาม ซึ่งมีความแตกต่างกับรุ่นเดิมคือ มีห้องนอน 10 ห้อง ห้องละ 1 เตียงเท่านั้น และห้องที่เป็นเลขคู่กันสามารถเปิดประตูเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วย

ขบวนรถที่มีให้บริการ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ – เชียงใหม่ - กรุงเทพ
รู้ไว้ใช่ว่า เที่ยวไปห้องนอนจะอยู่ฝั่งขวามือของขบวนรถ ส่วนเที่ยวกลับจะอยู่ซ้ายมือ

 

รถนอนชั้น 2
รถนอนชั้น 2 ที่มีให้บริการในการรถไฟนั้น จะมีอยู่ทั้งสิ้น 6 ประเภท
1. รถนอนชั้น 2 พัดลม (บนท.32)
2. รถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ ชนิด 32 ที่นั่ง (บนท.ป32)
3. รถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ ชนิด 36 ที่นั่ง (บนท.ป36)
4. รถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ ชนิด 40 ที่นั่ง รุ่นโตคิว (บนท.ป40)
5. รถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ ชนิด 40 ที่นั่ง รุ่นแดวู (บนท.ป40)
6. รถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ ชนิด 34/30/26 ที่นั่ง JR-West (บนท.ปJR)

เลขที่นั่ง
เตียงบน = เลขคี่
เตียงล่าง = เลขคู่

รถนอนชั้น 2 (บนท.32)

รถนอนชั้น 2 หรือ รถนอนพัดลมชั้น2ตามชื่อสามัญที่เรียกกันนั้น เป็นการให้บริการลักษณะนั่งกลางวัน นอนกลางคืน การออกแบบรถนั้นตรงกลางจะเป็นทางเดินยาวไปตลอดแนว ส่วนเตียงนอนและที่นั่งนั้นจะอยู่ฝั่งซ้าย และขวาของทางเดินยาวไปตลอดแนว

เก้าอี้นั่งนั้น ในกลางวันจะมีลักษณะคล้ายชั้น 3 คือหันหน้าเข้าหากัน แต่ในเวลากลางคืนนั้น เก้าอี้ทั้ง 2 จะ
จับมาชนกันปรับนั่น ดึงนี่ ก็จะกลายเป็นฐานรองเตียงล่าง แค่ปูฟูก และผ้าปูที่นอน วางหมอนวางผ้าห่ม 

มันก็จะกลายเป็นเตียงล่างอย่างสมบูรณ์ 
ส่วนเตียงบนนั้นจะไขออกมา และจัดเตียงให้เรียบร้อย ก็กลายเป็นเตียงบนให้นอนแล้ว

**** สำหรับรถนอนพัดลมนั้น อาจจะเหมาะกับคนที่อยากนอน แต่ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการความสบายแบบขีดสุด เนื่องจากมันไม่มีแอร์ 
วิธีการนอนที่ฟินที่สุดนะครับ

หากคุณเป็นคนไม่ชอบอยู่ที่อึดอัดชนิดต้องเห็นเดือนเห็นตะวัน
ควรเปิดกระจก 1/2 ของหน้าต่าง และปิดบานเกล็ดลงมา 1/2 ของหน้าต่าง เพื่อให้ลมนั้นเข้ามาตามรอยแง้มได้ 

หรือถ้าหากลมตีผ้าม่านที่ปิดตรงทางเดิน ก็ให้เอาเหน็บไว้ใต้ฟูก เราก็จะรู้ด้วยว่า มีใครเลิกผ้าม่านเราเข้ามารึเปล่า เพื่อความปลอดภัยของเราด้วย

 

รถนอนปรับอากาศชั้น 2 ชนิด 32 ที่นั่ง (บนท.ป32)

รถนอนประเภทนี้จะดัดแปลงมาจากรถนอนพัดลมชนิด 32 ที่นั่งครับ
ลักษณะเลยจะไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่

แล้วก็ไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่แล้วด้วย เรียกได้ว่าเป็นรถนอนรุ่นบุกเบิกเลยล่ะ

ขบวนที่มีให้บริการ
ขบวนรถเร็วที่ 107/108 กรุงเทพ - เด่นชัย - กรุงเทพ


รถนอนปรับอากาศชั้น 2 ชนิด 36 ที่นั่ง (บนท.ป36)

รถนอนรุ่นนี้ดัดแปลงมาจากรถนอนแสตนเลสพัดลมชนิด 36 ที่นั่ง มีให้บริการอยู่ในขบวนรถดังต่อไปนี้

สายเหนือ
รถด่วน 51/52 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ

สายใต้
รถเร็ว 167/168 กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ
รถเร็ว 169/170 กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ
รถเร็ว 171/172 กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ
รถเร็ว 173/174 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

 

รถนอนปรับอากาศชั้น 2 ชนิด 40 ที่นั่ง (รุ่นโตคิว)

รถนอนรุ่นนี้เป็นรถนอนปรับอากาศรุ่นที่เป็นพื้นฐานของรถไฟไทย จะมีทั้งหมด 40 ที่นั่ง เบาะหนังสีน้ำตาล
แต่ข้างในจะค่อนข้างดูคับแคบเพราะบันไดขึ้นเตียงบนจะวางในแนวทำมุมฉากกับเตียงจนพื้นที่ทางเดินมีน้อย

ขบวนที่มีให้บริการ

สายตะวันออกเฉียงเหนือ
รถด่วน 67/68 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
รถด่วน 69/70 กรุงเทพ – หนองคาย - กรุงเทพ

สายใต้
รถด่วนพิเศษ 37/38 กรุงเทพ – สุไหงโกลก - กรุงเทพ
รถด่วน 83/84 กรุงเทพ – ตรัง – กรุงเทพ
รถด่วน 85/86 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

 

รถนอนปรับอากาศชั้น 2 ชนิด 40 ที่นั่ง รุ่นแดวู

เป็นรถนอนปรับอากาศที่มีขนาดเตียงใหญ่ที่สุดในบรรดารถทั้งหมด จะพ่วงให้บริการเพียง 2 ขบวนเท่านั้นในประเทศ

สายเหนือ

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ 1/2 กรุงเทพ – เชียงใหม่ - กรุงเทพ
สายใต้
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ 35/36 กรุงเทพ – บัตเตอร์เวอร์ธ – กรุงเทพ


โดยขนาดที่กว้างขวางนั้นทำให้คนที่จะไปเชียงใหม่ หรือ หาดใหญ่ ถึงได้ไขว่คว้าหาตั๋วขบวนนี้กันให้ควั่ก

คุณรู้หรือไม่ว่า เตียงที่กว้างนั้นเกิดจากการออกแบบบันไดให้ติดกับผนังเตียง จึงทำให้มีพื้นที่กว้างขึ้น แต่เตียงบนมีขนาดเท่ารุ่นเดิมนะจ๊ะ

แต่ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า รถรุ่นนี้ที่ไว้กระเป๋าจะค่อนข้างแย่ ถึง แย่มากๆ คือเตียงบนน่ะครับ มันจะเป็นเหมือนหิ้งเล็กๆเท่านั้นเอง ส่วนเตียงล่าง แนะนำว่ายัดไว้ใต้เตียงจะดีที่สุด หรือ ไว้ที่ในเตียงเราเลยก็ได้เช่นกันครับผม

 

รถนอนปรับอากาศชั้น 2 รุ่น JR-West 


รถนอนปรับอากาศรุ่นนี้จะต่างกับรุ่นอื่นๆ คือ
รถรุ่นอื่นนั้นจะมีทางเดินตรงกลาง ส่วนซ้ายขวาของทางเดินจะเป็นเตียงนอนไปตลอดแนว

แต่รถ JR หรือที่เรียกว่า "บลูเทรน" (ถึงตอนนี้จะม่วงแล้วก็เหอะ)
ทางเดินจะมีอยู่ฝั่งเดียวริมหน้าต่าง และอีกฝั่งจะเป็นห้องโดยสาร (ไม่มีประตูปิด) ในห้องหนึ่งจะมี 4 เตียง เป็นเตียงล่าง 2 เตียงบน 2

ขบวนที่มีให้บริการ มีขบวนเดียวเท่านั้น คือ 
รถด่วนพิเศษ 13/14 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ

*** เหมาะกับการเดินทางกันเป็นกลุ่ม แต่เสียงดังอาจไม่ค่อยได้นะครับเพราะมันไม่มีประตูกั้นห้อง

หากคุณเบื่อที่จะอยู่ในห้อง บริเวณทางเดินหน้าห้อง มีเก้าอี่้เล้กๆพับได้ให้นั่งชมวิวด้วย

 

รถนั่งชั้น 2 (บชท.)

ท. ตัวสุดท้ายของตัวย่อ นั้นมาจากคำว่า “โท” ที่แปลว่า 2 รถนั่งชนิดนี้เบาะนั่งเป็นหนังขนาดใหญ่พอดีลำตัว สามารถปรับเอนได้ และมีข้อได้เปรียบกว่ารถแอร์คือ ที่นั่ง และพื้นที่เหยียดขา “กว้างมากกกกก” เพราะทั้งตู้มีแค่ 48 ที่นั่งเท่านั้น เหยียดสบ๊ายยยยยย 
อีกทั้งการออกแบบค่อนข้างดี ถึงจะเปิดหน้าต่างรับลมทุกบาน แล้วนั่งเอนกายสบายใจบนเบาะ คุณเชื่อหรือไม่ว่า “ลมไม่ตีโดนหน้า” เก๋ป่ะล่ะ...

แต่เสียอย่างเดียว เบาะรุ่นใหม่ที่ดูสวยงามน่าสัมผัสนั้น กลับสวยแต่รูป จูบไม่ค่อยหอม กล่าวคือ เอนได้ค่อนข้างน้อย และมีขนาดเบาะใหญ่จนพื้นที่ให้หายใจหายคอนั้นมีน้อยลง รวมถึงถาดวางอาหารที่เมื่อกางออกมาแล้ว แทบจะชนพุง......อย่างว่าแหละครับ ของเก่าอาจจะไม่สวยแต่การใช้สอยนั้นดีกว่าของใหม่ที่สวยงามเยอะเลย

ขบวนที่มีให้บริการ

สายเหนือ
ขบวนรถเร็วที่ 109/102 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 51/52 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ

สายอีสาน
ขบวนรถเร็วที่ 135/136 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 139/140 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 145/146 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ

สายใต้
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ – ตรัง – กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 167/168 กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 169/170 กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 171/172 กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ
ขบวนรถเร็วที่ 173/174 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ


รถนั่งดีเซลรางชั้น 2 ปรับอากาศ รุ่น ATR (กซม.ป58)
รถรุ่นนี้จะสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับการจองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรถชั้น 2 แค่รุ่นเดียวในประเทศที่เบาะไม่สามารถหมุนหันไปทางเดียวกันได้ ภายในรถจะแบ่งเป็น 4 ส่วนไว้ คั่นด้วยประตูขึ้นลง และประตูกลางตู้ ฉะนั้นแล้วต้องดูดีดีว่าเบาะมันหันไปทางไหน

ในบางคันนั้น จะเป็นสีน้ำเงิน เบาะยังเก่าอยู่
ในบางคันนั้น จะเป็นสีแดง เบาะเพิ่งเปลีย่นใหม่ ตามแบบที่ คุณเด็กศิลป์ เอามาลงเด๊ะครับ
และในบางคันนั้นจะเป็นสีเขียว เช่นในภาพ มีแค่คันเดียวครับ

ขบวนที่มีรถรุ่นนี้ให้บริการ

สายเหนือ
รถเร็ว 105/106 กรุงเทพ – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ

สายอีสาน
รถด่วน 71/74 กรุงเทพ – ศรีสะเกษ – กรุงเทพ
รถด่วน 73/72 กรุงเทพ – ศีขรภูมิ – กรุงเทพ
รถด่วน 75/78 กรุงเทพ – อุดรธานี – กรุงเทพ
รถด่วน 77/76 กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ 

รถพิเศษ
รถนำเที่ยว 911/912 กรุงเทพ – สวนสนประดิพัทธิ – กรุงเทพ


รถดีเซลรางสปรินเตอร์ (กซข.ป)

เจ้าแห่งความเร็วซึ่งสามารถซัดความเร็วได้ 160 แต่โดนลดให้เหลือ 120 ตามที่ กระทรวงคมนาคมและการรถไฟกำหนดความเร็วเอาไว้ เอาไปปรับปรุงภายในใหม่ซะเก๋เชียว ข้างนอกสีฟ้าใส สวยมากกกกกกกก ประหนึ่งว่าเหมือนเพิ่งลากลงมาจากเรือใหม่ๆ 
สปรินเตอร์มีอายุการใช้งานที่นานมาแล้วพอสมควร จากวันแรก 2534 จนปัจจุบัน 2555 ก็ 21 ปีแล้ว (อายุไม่ต่างจากเราเลย) 

สปรินเตอร์นั้นมีให้บริการเพียงแค่ขบวนเดียวในประเทศคือ

ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพ – สวรรคโลก – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ


รถดีเซลรางแดวู (กซข.ป)

ดีเซลรางแดวู ถูกนำมาทดแทนดีเซลรางสปรินเตอร์ที่เก่าแก่เป็นโบราณสถาน คนก็ยังคงนิยมเรียกกันว่าสปรินเตอร์กันอยู่ (ทั้งๆที่มันไม่ใช่) 
แดวูนั้นถูกส่งมาสยามประเทศเมื่อปี 2538 ในช่วงงานซีเกมส์เชียงใหม่พอดี ด้วยรถที่เบาหวิว และทำด้วยสแตนเลสจึงดูปราดเปรียวไม่ต่างกับสปรินเตอร์เลย 

ตอนที่นำมา มี2รุ่นครับ คือรุ่นที่ 1 กับรุ่นที่ 2 จะเทียบข้อแตกต่างให้เห็นชัดๆ
รุ่นที่ 1 มี 74 ที่นั่ง มิติรถค่อนข้างเล็ก เลยทำให้เอนได้น้อยและที่ค่อนข้างแคบ

รุ่นที่ 2 มี64 ที่นั่ง มิติรถอวบอ้วน เอนได้เยอะกว่า ที่นั่งน้อยกว่าเลยมีพื้นที่มากกว่า คือง่ายๆ ดีกว่านั่นเอง

แต่ว่ารถทั้ง 2 รุ่นก็จะปนเปกันไปในขบวน จึงเรียกได้ว่าความเสี่ยงที่จะเจอเป็น 50:50 

ถ้าอยากจะจองให้ดี คันที่ 2 ไม่แนะนำ เพราะร้อยละ 90 คุณจะเจอแต่รถรุ่นแรกครับ

ขบวนที่ให้บริการเป็นรถดีเซลรางแดวู

สายเหนือ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11/12 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ

สายอีสาน
ขบวนรถด่วนพิเศษ 21/22 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ

สายใต้
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 41/42 กรุงเทพ - ยะลา - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพ


รถนั่งชั้น 3 (บชส.)

นี่คือชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ด้วยจำนวนและปริมาณที่มหาศาลและความป๊อปปูล่าสำหรับพี่น้องชาวไทยที่กำลังทรัพย์ไม่เอื้อกับการนั่งรถนอนหรือรถแอร์ ด้วยความที่เป็นรถพัดลมด้วย ที่นั่งเยอะด้วย ขายตั๋วยืนได้ด้วย ก็เลยมีความอึดอัด และไม่ชอบใจตามมา 

"ซึ่งส่วนมากคนที่มีประสบการณ์การนั่งรถไฟไม่ค่อยดี ก็เพราะไอ้รถชั้น 3 เนี่ยแหละ แถมยังมาพาลไปหารถไฟทุกประเภทอีกด้วย "

ก่อนนั่งรถชั้น 3 คุณต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ก่อนเลยนะครับ จะเป็นประโยชน์กับคุณมากๆเลย

1. รถนั่งชั้น 3 “เกือบทั้งหมด” ไม่มีแอร์

2. รถนั่งชั้น 3 ไม่สามารถปรับเบาะได้

3. รถนั่งชั้น 3 ที่เป็นรถทางไกล และเป็นรถไฟปกติที่วิ่ง จะใช้เบาะนวม ไม่ใช่เบาะไม้

4. รถนั่งชั้น 3 ระยะใกล้ๆ คุณเจอเบาะไม้แน่ แต่จะเจอมากเจอน้อยแล้วแต่ดวง

5. รถนั่งชั้น 3 มีที่นั่งระบุในตั๋ว (ทางไกล) ฉะนั้นใครเนียนมานั่ง จับกระชากลงจากเก้าอี้ได้เลย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ

 

รถนั่งชั้น 3 นั้น จะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างลำดับแรกๆของผู้โดยสารที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย หรือ นักเรียน นักศึกษาที่ไปเที่ยวกันเป็นกลุ่มเยอะๆ 

ซึ่งทำให้หลายคนพาลคิดไปว่า รถไฟมีแค่แบบนี้แบบเดียว

ด้วยความที่เป็นชั้นประหยัดสุดๆ ทำให้มีคนใช้เยอะมาก และสิ่งที่ตามมาคือความโทรมของรถ รวมถึงกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของห้องน้ำด้วย

ซึ่งกรณีนี้จะมีข้ออธิบายเหตุและผลว่าทำไมห้องน้ำถึงมีกลิ่นได้

 

เห็นไหมครับว่ารถไฟไทยของเราก็มีแบบนี้ ไม่ได้มีแต่รถนั้งชั้นสาม และรถทั้งหมดก็ไม่ได้ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 นะครับ 

สุดท้ายนี้ใครอยากโดยสารแบบไหน เชิญสัมได้ด้วยตัวเองที่รถไฟไทยครับ

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
PrinceVirus's profile


โพสท์โดย: PrinceVirus
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
173 VOTES (4.8/5 จาก 36 คน)
VOTED: Riddikulus, ซาอิ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"นายกเบี้ยว" ไม่ทน! จ่อฟ้องสื่อดัง..ออกมาแฉวีรกรรมเก่าๆ ลูกชายคนโตกลางรายการ30 วินาทีสุดท้ายก่อนตๅย..เกิดอะไรขึ้น!ไม่ไหวต้องปิด! ร้านชาบูเจ้าใหญ่ ประกาศยุติกิจการ 2 สาขาในไทย เซ่นพิษเศรษฐกิจเปิดหน้าใหม่ ไล ไทย หนุ่มเขมร Mister Majestic 2025 หลังทุบหน้าใหม่ต้นแบบของภาษาไทย มาจากเขมรที่เป็นต้นแบบจริงหรือไม่ดราม่ามาไว!ดาราหนุ่มแจงด่วน หลังหลุดภาพเปลี่ยนหลอดไฟในห้องมายด์"ไล ไทย" เผยโฉมใหม่สุดปังหลังศัลยกรรม!original: ดั้งเดิม แรกเริ่มรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ 22/04/68 วันที่แสงแดดนั้นช่างเจิดจ้าเสียเหลือเกิน แค่เห็นก็ท้อแว้วววจีนจัดแข่งวิ่งมาราธอนหุ่นยนต์ เพื่อทดสอบนวัตกรรมใหม่ของชาติ“วงล้อมเตือนภัย”: ปฏิกิริยาชวนทึ่งของช้างในสวนสัตว์ซานดิเอโก เมื่อแผ่นดินไหวเขย่าแคลิฟอร์เนีย“เกิดชาติหน้าขอเป็นคนไทย” ฝรั่งวัยกลางคนระบายความในใจ ทำไมถึงไม่ชอบประเทศตัวเอง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมนูอาหารเส้นของไทย ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในระดับสากล
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง