เมื่อหลวงพ่อคูณถูกห้ามพูดมึง-กู
"มีอยู่ครั้งหนึ่งทางในวังได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้ว่าราชการจังหวัด
บอกว่าจะมีเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งเสด็จมานมัสการหลวงพ่อคูณ
ซึ่งตามปกติพอมีหนังสือมาดังนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะต้องมาเตรียมสถานที่ให้สะอาดสะอ้านตามธรรมเนียม
วันนั้นท่านผู้ว่าฯ ไปยังวัดบ้านไร่แล้วบอกกับหลวงพ่อคูณว่า
วันรุ่งขึ้นจะมีเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งเสด็จมานมัสการหลวงพ่อ
“กระผมเกรงว่าหลวงพ่อจะพูดกู...กับพระองค์ มันจะไม่สุภาพ”
หลวงพ่อคูณก็ถามท่านผู้ว่าฯ ตรงๆ ว่า
“กูถนัดพูดของกูอย่างนี้ ...จะให้กูทำอย่างไร”
ท่านผู้ว่าฯ บอกว่า “ท่านก็นั่งนิ่งๆ ไม่ต้องพูดสิ! ดูสงบเสงี่ยมดีเหมือนกันนะ”
หลวงพ่อคูณท่านก็ไม่ว่าอะไร เพราะเขาก็เป็นถึงผู้ว่าฯ อุตส่าห์มาบอกก็ดีแล้ว
วันรุ่งขึ้นก็ปรากฏว่าเจ้าฟ้าพระองค์นั้นเสด็จมาถึงวัด
เสด็จเดินดูโน่นดูนี่ แล้วรู้สึกชอบวัดนี้เป็นพิเศษที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย และที่สำคัญ
ทำไมหลวงพ่อคูณไม่พูดอะไรเลย ถามอะไรก็เฉย
จนในที่สุดพระองค์ท่านก็ถามหลวงพ่อคูณตรงๆ ว่า
"ทำไมวันนี้หลวงพ่อไม่พูดอะไรเลย?"
หลวงพ่อคูณก็ตอบเจ้าฟ้าพระองค์นั้นไปว่า
“กูจะพูดได้อย่างไร ในเมื่อท่านผู้ว่าฯ มันมาห้ามไม่ให้กูพูดกับ...”
ปรากฏว่าแทนที่เจ้าฟ้าพระองค์นั้นจะกริ้วหลวงพ่อคูณที่พูดกู...กับพระองค์ พระองค์กลับหัวเราะชอบใจ
และอนุญาตให้หลวงพ่อคูณใช้สรรพนาม กู ... กับพระองค์ได้ตามที่ถนัด
เรื่องนี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ชาวบ้านเล่าขานถึงความมีเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคูณ
สำหรับคำสอนที่หลวงพ่อคูณมักพูดสั่งสอนลูกศิษย์บ่อยๆ คือ
๑. กูจะทำให้ชาวบ้าน เพื่อตอบแทนข้าวน้ำ ที่เขาให้กูกินทุกวัน
๒. กูให้พวก...รู้จักพอเพียง
๓. กูทำดีเขาจึงให้ของดีกูมา
๔. กูไม่เคยยินดียินร้ายในลาภยศสรรเสริญ
๕. กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจนเพราะได้สร้างทานบารมี ถ้ากูเกิดมาเป็นคนรวยป่านนี้ คำว่า บุญก็ไม่รู้จักกัน
๖. เงินเป็นทาสกู กูไม่ยอมเป็นทาสเงิน
๗. การทำตัวให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่นั้นง่าย แต่จะสร้างสมบุญให้มีบารมีนั้นเป็นเรื่องยาก...ต้องเป็นผู้ให้ด้วยธรรมอันบริสุทธิ์จริง
๘. ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้
๙. เกิดมาแล้ว...รักความสงบ ให้มีศีลธรรมไว้ประจำใจทุกๆ คน โลกจะได้อยู่ชุ่มเย็น...
๑๐."พระไม่ได้อยู่กับคนชั่ว แต่อยู่กับคนดี ให้นึกว่าพระมากับเราจะทำชั่วไม่ได้
อย่าทำตัวผิดศีลธรรม ผิดจารีตประเพณี
โดยเฉพาะการทำผิดกฎหมายบ้านเมืองให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท"
Cr.: เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นป้ญญาพระโสดาบัน