รู้หรือไม่ ? นำเหรียญบาทไปชำระหนี้ได้ไม่เกิน 500 บาท
ใคร ที่ชอบ "ทุบกระปุก" ไปซื้อโน่นซื้อนี่ โดยเฉพาะสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ ราคาหลักร้อย หลักพัน แล้วหอบเงินเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญสตางค์เหรียญบาท เหรียญห้าบาท เหรียญสิบบาท กะว่าจะจ่ายง่าย ๆ โดยที่คิดว่าร้านค้านั้น "จำเป็นต้องรับ" เงินของเราตามที่หลาย ๆ คนเข้าใจ จำเป็นต้องเข้าใจเสียใหม่แล้วนะครับ
เพราะเงินเหรียญต่าง ๆ นั้นแม้จะ "สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" แต่ก็มีระเบียบบังคับให้เรานำมาปฎิบัติอยู่ด้วยว่าจะนำเหรียญแต่ละชนิดไป ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเท่าไหร่ ลองติดตามบทความของคุณศรัณย์ภัทร เตจ๊ะ นิติกร สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เขียนเอาไว้กันดูครับ...
"เหรียญกษาปณ์" เป็นเงิน หน่วยย่อยที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ถึงแม้เหรียญกษาปณ์จะมีมูลค่า ไม่มากเท่ากับธนบัตรอีกทั้งมีขนาดเล็กและพกพายากกว่าธนบัตรแต่เหรียญกลับมี น้ำหนักมากกว่าธนบัตรเสียอีก เวลาเราชำระหนี้ ค่าสินค้าหรือบริการที่มีราคาค่อนข้างสูงเราก็มักนิยมใช้ธนบัตรมากกว่า เพราะถ้าหากเราชำระด้วยเหรียญสงสัยต้องพกเหรียญกันเป็นถุงเป็นถังกันเลยที เดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงิน ก็คือ เงิน ยิ่งถ้าในสมัยนี้แล้วไม่ว่าจะชำระด้วยเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรก็คงไม่มีใคร ปฏิเสธเงินอย่างแน่นอน
ทราบหรือ ไม่ว่าเงินเหรียญที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เรียกว่า "เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins)" ซึ่งมีอยู่ 9 ชนิด ดังนี้ เหรียญราคา 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์และ 1 สตางค์ อีกทั้งยังมีเหรียญกษาปณ์ที่ออกใช้ในวโรกาสต่างๆอีกด้วย แต่ไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้ชำระหนี้ เรียกว่า "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins)" แต่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นจะเห็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้ชำระหนี้กันอย่างแพร่ หลายเพียง 6 ชนิด ซึ่งเป็นเหรียญที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ ส่วนเหรียญ 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
ลองคิดดูว่าหากวันนึงเราอยากซื้อรองเท้า ราคา 2,000 บาท จะขนเหรียญ 10 บาทที่เราหยอดกระปุกไว้ไปจ่าย 2,000 บาทเลยได้หรือไม่ แล้วถ้าเราขนไปจ่ายจริงๆ คนขายปฏิเสธไม่รับได้หรือไม่ ปัญหาในเรื่องนี้มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 11 "เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎ กระทรวง" ดังนั้น หากจะชำระหนี้ด้วยเหรียญจึงต้องรู้ด้วยว่าสามารถชำระหนี้ได้คราวละกี่บาท ตามที่ประกาศในกฎกระทรวง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเวลาจะขนเหรียญที่ออม ไว้ไปชำระหนี้ค่าสินค้า ก็อย่าขนไปเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเพราะถ้าผู้ขายปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ขึ้นมา เราจะต้องขนเงินนั้นกลับอีก ทั้งหนักทั้งเสียเวลานับเหรียญอีกด้วย
ดังนั้นก่อนการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ ควรเลือกประเภทของเงินที่จะใช้ชำระหนี้ให้เหมาะสม เพื่อไม่เป็นการก่อภาระอันเกินสมควรทั้งแก่ผู้ชำระหนี้และผู้รับชำระหนี้ นั่นเอง