คุณหมอฝากเตือนมา..ข้อเสียของการแบ่งบรรจุเม็ดยาลงในกล่องพลาสติก
หากต้องการบรรจุยาลงในกล่องยาพลาสติกตามภาพ ควรใส่เม็ดยาที่ยังมีการห่อหุ้มอยู่ ไม่ควรแกะยาออกจากวัสดุห่อหุ้มเม็ดยาเพราะอาจทำให้ยาเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและการถูกแสง เช่น ยาบวม เปลี่ยนสี เปลี่ยนสภาพ เป็นต้น
กรณีเม็ดยาอยู่ในฟอยด์ การตัดเม็ดยาถึงแม้ไม่แกะเม็ดยาออกจากฟอยด์ ก็ควรระวังเรื่องยาหมดอายุ เพราะยาอาจเป็นคนละ Lot กันใส่ปะปนกัน รวมถึงการตัดเม็ดยาให้ใส่ในกล่องได้ มันจะไม่มีวันหมดอายุระบุไว้ในแต่ละเม็ดยาบนฟอยด์
มุมมองหนึ่งโดยสถานพยาบาล
สถานพยาบาลที่มีคนไข้ 2 ระบบ คือ uc และ เงินสด หลายๆที่ ชอบทำ เพราะไม่ให้คนไข้รู้ว่าเป็นยาอะไร เพราะ คนไข้หลายๆ คนเรื่องมากและไม่ยอมฟังคำอธิบาย!! การแกะยาออกจากแผงก็ทำให้เขาเชื่อว่ามันยาคนละตัวกับ uc งง!! มากๆ กับความเชื่อ คนไทย และนี่เป็นสาเหตุว่า ทำไม ถึงไม่ใช้ยาที่ ชาวบ้านใช้กัน เช่น ทำไมถึงใช้ hctz สีฟ้า ไม่ใช้สีส้ม ทำไมไม่ใช้ cpm สีเหลือง แต่ใช้สีฟ้า เยอะแยะมากมาย และการจะมียา 2 ยี่ห้อ อยู่ในที่ๆ เดียวกัน ก็ไม่เหมาะสมด้วยข้อจำกัดของ ต้นทุนยา เนื้อที่เก็บยา อีกด้วย
ฝากบอกต่อๆ กันไปนะคะ ทั้งญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ที่เป็นและไม่เป็นบุคลากรสาธารณสุข แถมเวลารักษาหลายรพ. เช่นเบาหวาน ความดัน รักษารพ.ชุมชนใกล้บ้าน พอมีกล้ามเนื้อหัวใจขาด เลือกมา รพ.จังหวัด หรือ รพ.ทั่วไป เอายามาให้ดู หมอก็ไม่อยากเดาว่าไอ้เม็ดแคปซูลเนี่ยมันยาอะไร เพราะไม่มีฉลาก ไม่มีแผงยาเลย ยาบางอย่างอยู่ในถุงทึบกันแสง ก็ควรเก็บในนั้น ไม่ควรเอาออกมาใส่กล่องใส่ เพราะยามันจะเสื่อม บางทีหมอก็ลืมถามว่าเก็บยายังไง กินถูกไหม ทำไมกินยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ที่ไหนได้ ใส่ยาผิดซอง โดยเฉพาะพ่อแก่แม่เฒ่า ส่วนเพื่อนแพทย์ก็อย่าลืมนะคะนานๆ กลับบ้านที ไปดูยาให้พ่อให้แม่ตัวเองด้วยคะ เก็บถูกกินถูกกันรึเปล่า ยาจะได้รักษาอาการให้ดีขึ้นไม่ใช่แย่ลงค่ะ