เพนกวินจักรพรรดิ์ ความรักที่ต้องรอ หรืออาจไม่ได้พบกันอีกเลย
สวัสดีครับ ทวีปแอนตาร์กติกาความเย็นยะเยือกที่หลายคนฝันอยากไปเยือนสักครั้ง ดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คน มีเพียงสายลมแรงแห่งความหนาวเย็นและผืนน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ที่ปกคลุมทวีปเอาไว้ แต่กระนั้นก็ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดอาศัยอยู่ได้ หนึ่งในนั้นคือ เพนกวิน สำหรับวันนี้ผมจะพาให้ทุกคนได้สัมผัสกับความรักและการรอคอยคู่ของมัน เพื่อดำรงค์อยู่แห่งเผ่าพันธุ์บนดินแดนแห่งขั้วโลกใต้...เพนกวินจักรพรรดิ์
ปลายเดือนมีนาคมของทุกปี เหล่าเพนกวินจักรพรรดิ์ จะเดินทางมารวมตัวกันเพื่อหาคู่ สำหรับตัวที่เคยมีคู่อยู่แล้ว ก็จะตามตามหาคู่รักของตัวเองที่จากกันไป 1 ปีเต็ม
เพนกวินมีความรักต่อคู่ของมัน แต่ลักษณะการอยู่กับไม่ได้อยู่กันเป็นคู่ เพนกวินดำเนินชีวิตแบบสังคมใหญ่ เพื่อนฝูงเยอะว่าอย่างนั้นก็คงไม่ผิดนะครับ ฮ่าๆๆ
เพนกวินจักรพรรดิ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆ ตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาทั้งสองข้างเป็นเวลาสองเดือน ขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้
เพนกวินกับลูกๆ ที่กำลังน่ารัก
เมื่อเพนกวินตัวเมียกลับมา ก็จะตามหาลูกและคู่ที่ฝังตัวอยู่กับฝูงเพนกวินด้วยการฟังโทนเสียง ซึ่งมีเพียง 15% เท่านั้นที่กลับมาหาคู่กันเจอ และในรอบปีที่ 3 หากันจนเจอเพียง 5% ซึ่งถ้าหากันไม่เจอ ในรอบปีถัดไป แน่นอนว่าเพนกวินก็จะจัดการหาคู่ใหม่ครับ
เพนกวินกับลูกๆ
เพนกวิน เขาหาคู่เขาเจอยังไงกันล่ะครับ อยู่รวมกันเป็นพันๆ ตัว เขามีวิธีครับ เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีเต็ม พอเดินทางมาถึงที่นัดหมาย เพนกวินตัวผู้ก็จะก้มหัวแนบกับอก และส่งเสียงเรียกตัวเมีย คู่ของมันจะจำเสียงกันได้ครับ เมื่อพบแล้วทั้งคู่ก็จะเดินเข้าหากันและเอาอกมาชนกัน พร้อมส่งเสียงร้อง ถ้าปีกเขายาวหน่อย ก็คงโอบกอดกันด้วยความรักและหายคิดถึงที่จากกันไปนานเหลือเกิน
การผสมพันธุ์ของเพนกวิน เป็นเรื่องแปลกครับเพราะว่า เพนกวินตัวผู้ไม่มีองคชาติยื่นออกมาเหมือนสัตว์ทั่วไปที่เราเคยเห็น ขณะที่ตัวเมียก็ไม่มีช่องคลอด อ้าวแล้วกัน แล้วทีนี้จะผสมพันธุ์กันยังไงล่ะครับ ธรรมชาติได้ออกแบบมาให้เพนกวินสัตว์ที่ต้องอยู่กับอุณหภูมิติดลบทั้งปีเรียบร้อยแล้วครับ
เพนกวินตัวผู้จะผลิตเสปิร์มที่ลูกอัณฑะและจะส่งไปเก็บไว้ที่ Cloaca หรือ "ช่องทวารร่วม" ซึ่งเป็นเพียงช่องเดียว ไว้ทำสารพัดหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นขับถ่ายของเสีย และเป็นช่องสืบพันธุ์ และตัวเมียก็ยังเป็นช่องทางออกของไข่ด้วย Cloaca นี้ในตัวเมียจะเชื่อมต่อไปถึงรังไข่
เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียจะนอนลงกับพื้น และตัวผู้ก็จะขึ้นคร่อมโดยประกอบ Cloaca นี้ให้ตรงกับของตัวเมีย และฉีดเสปิร์มเข้าไป เป็นอันเรียบร้อยครับ อ่านแล้วอาจจะไม่รู้สึกฟินเท่าไหร่ แต่ก็เป็นธรรมชาติที่สร้างมาแบบนั้นนะครับ
เพนกวินขณะกำลังผสมพันธุ์
ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ อากาศในช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้นโดยเฉลี่ยประมาณ -40 องศาเซลเซียส ลมอาจแรงถึง 144 กม.ต่อ ชม. ดังนั้นหากต้องมีการผสมพันธุ์โดยใช้องคชาติจึงคงเป็นเรื่องลำบาก
เพนกวินตัวเมียมุ่งหน้าออกสู่ทะเล
เมื่อเพนกวินสาวออกไข่ ก็จะค่อยๆ ส่งต่อยังตัวผู้ เพราะถ้าไข่โดนหิมะเมื่อไหร่ก็จะแข็งและตัวอ่อนจะตายในที่สุด ทันทีที่ส่งต่อไข่เสร็จ ตัวเมียจะมุ่งหน้าสู่ทะเล ปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่โดยไร้อาหารอยู่ 2 เดือน
ไข่เพนกวิน
ระหว่างนี้ฝูงเพนกวินตัวผู้จะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เพื่อสร้างความอบอุ่นท่ามกลางความหนาว และอาจต้องเผชิญกับลมแรงถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ฝูงคุณพ่อกับเหล่าลูกๆ วัยน่ารักครับ
เรื่องราวบางส่วนของเพนกวินจักรพรรดิ์คงจบลงเพียงเท่านี้ สัตว์น่ารักแห่งขั้วโลกใต้ (Antarctica) ยังมีเรื่องราวให้เราได้ค้นหากันอีก สำหรับวันนี้คงต้องลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เขียนโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ข้อมูลอ้างอิง
ขอบคุณภาพจาก
- http://en.wikipedia.org/wiki/Emperor_Penguin
- http://www.gadling.com/2012/06/10/perverted-penguins-perplex-polar-pedestrian/
- http://www.youwall.com/?ver=NDM4OQ==