เหล้าไทยในอดีต
เหล้าไทยในอดีต
Posted: สิงหาคม 1, 2010 in เล่าเรื่องเมืองไทยป้ายกำกับ:สุราไทย, สุราไทยในอดีต, เหล้าไทย, เหล้าไทยในอดีต
การดื่มเ หล้าเป็นมรดกตกทอดกันมาไม่มีสิ้นสุด เพราะคนไทยรู้จักกินเหล้ามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว ดูได้จากขณะนั้นที่อินเดียได้รู้จักทำเหล้ากินกัน พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติห้ามไว้ในศีลข้อห้า จนเมื่อพุทธศาสนาแพร่เข้ามาในเมืองไทย คนไทยเลยรู้จักกันดีว่าเหล้าเป็นอย่างไร ซึ่งเหล้าก็คือ น้ำชนิดหนึ่ง ต่างสี ต่างกลิ่น แล้วแต่ยี่ห้อ
คนไทยมีการทำเหล้ากินเองโดยเสรี จะผลิตขายก็ทำได้ไม่มีใครห้าม เหล้าที่ผลิตนั้นเป็นเหล้าขาวและเรียกว่า”เหล้า”ตามความเข้าใจของคนทั่วไป ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงมีคนจีนที่อาศัยอยู่ในสยาม คิดอ่านทำเป็นอุตสาหกรรมโดยตั้งโรงกลั่นขึ้นที่ตำบลบางยี่ขัน จึงได้เรียกกันว่า”เหล้าโรง” โรงเหล้าบางยี่ขันแต่เดิมขึ้นอยู่กับกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง จนถึง พ.ศ.2486 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้น โรงเหล้าบางยี่ขันจึงถูกโอนไปสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม…
ในสมัยรัชกาลที่ 7 การจำหน่ายเหล้าที่ผลิตในประเทศหรือเหล้าโรง ส่วนมากจะใช้วิธีเร่ขายตามลำคลอง เนื่องจากสมัยก่อนประชาชนนิยมปลูกบ้านอยู่ริมน้ำหรืออยู่เรือนแพเป็นส่วน ใหญ่ ผู้ที่ขายมักเป็นชาวจีน โดยนำเหล้าบรรจุในไหที่มีฝาทำด้วยไม้ห่อผ้าแดงปิดอยู่นำลงเรือออกพายขายเป็น ประจำ ส่วนทางบกก็จะขายตามตลาดและร้านขายเหล้า และมีการติดธงแดงเป็นสัญลักษณ์ คนไทยผลิตเหล้ากินเองได้ตามชอบใจ และจำหน่ายโดยเสรีมาเรื่อยจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการจัดเก็บภาษีการผลิตเหล้า เหล้าที่ไม่ได้เสียภาษีก็เลยถูกเรียกว่า “เหล้าเถื่อน”…
มา ในสมัยรัชกาลที่ 4 แม้จะมีการเก็บภาษีเหล้า ใครจะต้มเหล้าโดยไม่ขออนุญาตไม่ได้แล้วก็ตาม แต่เหล้าเถื่อนยังคงแพร่หลายอยู่ และพิสูจน์กันยากเหลือเกินว่าใครกินเหล้าเถื่อน ยิ่งในงานวันนักขัตฤกษ์ เช่น วันสงกรานต์ ด้วยเหตุนี้เองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงประกาศห้ามดื่มเหล้า และในช่วงเวลานั้นเหล้าต่างประเทศก็ได้เริ่มมีการนำเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย บ้างแล้ว แต่คนไทยก็ยังนิยมเหล้าโรงอยู่ เพราะถูกกว่าและเคยชินกับรสชาติของมันมาแต่ไหนแต่ไร… ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้มีการผูกขาดการผลิตเหล้า โดยหลวงจะทำการผลิตอยู่เพียงผู้เดียว โดยผู้ใดจะผลิตเหล้ากินเองหรือผลิตออกจำหน่ายไม่ได้อีกต่อไป และโรงต้มเหล้าบางยี่ขัน ก็ได้ถูกโอนเข้ามาเป็นของหลวงในโอกาสนั้นด้วย…
จนมาถึงสมัยรัชการที่ 6 และรัชกาลที่ 7 เหล้าต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อตลาดเหล้าโรงของไทยมากขึ้น บรรดาเรือขายเหล้าที่เคยคึกคักกันตามแม่น้ำลำคลอง ก็ชักจะเงียบหายไปเพราะการคมนาคมทางบกเจริญขึ้นกว่าก่อน บรรดาคนจีนและคนไทยจึงพากันขยับขยายกิจการตั้งร้านเหล้าขึ้นมาแทน ขณะนั้นคนไทยเริ่มรู้จักเหล้าต่างประเทศกันมากขึ้น แต่ก็นิยมกันในหมู่พวกมีอัฐเป็นพื้นคนไทยที่มีแค่เฟื้องแค่สลึง โดยเฉพาะที่อยู่ตามชนบทยังนิยมเหล้าโรงกันอยู่ จนกระทั่งก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเหล้าฝรั่งในกรุงเทพฯก็ตีตลาดเหล้าโรง หนักหน่วงมากขึ้น พอช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สอง เหล้าฝรั่งก็ไม่สามารถส่งเข้ามาขายได้ ทำให้คนไทยจึงได้คิดปรับปรุงและผลิตเหล้าไทยให้มีรสชาติไปทางเหล้าฝรั่ง จนกระทั่งก้าวหน้าเป็นที่นิยมกันเรื่อยมา แม้ว่าในปัจจุบันเหล้าไทยโดยเฉพาะเหล้าโรงจะถูกตีตลาดอย่างหนักแต่ก็ปรากฏ ว่ายังมีผู้นิยมไม่ใช่น้อยเพราะมีราคาถูกกว่าและที่สำคัญรสชาติก็เข้ม ข้น…ถึงจายยยย