โครงการ VCT@WORK ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ
โครงการ VCT@WORK ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ จัดงานเปิดตัวครั้งแรกในไทย แนะเจ้าของกิจการให้นำพนักงานมาเข้าร่วม ตั้งเป้าในปี 58 มีสมาชิกจากทั่วโลก 5 ล้านคน
เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (15 พ.ย.56) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ (ILO) ร่วมกับสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์, ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย, โครงการเอดส์แห่งสหประชา ชาติ (UNAIDS) ได้จัดงานเปิดตัว โครงการ VCT@WORK (Voluntary HIV Counselling and Testing at Work Programme –ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีดร.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมได้กล่าวว่า โครงการ VCT@WORK จัดทำขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยและทั่วโลก พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนได้รู้สภานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อ ที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี โดยทางเจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการ จะต้องสนับสนุนในการนำพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ให้ได้จำนวน 100,000 คน ในการเข้ารับการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจผ่านสถานประกอบการ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2558 นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
นายมอริซิโอ บุซซี่ (Mr.Maurizio Bussi) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “สถานประกอบกิจการคือสะพานสำคัญ ที่จะเชื่อมการให้ความรู้ด้านการป้องกันกับการรักษาเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เราได้มองเห็นศักย ภาพของสถานประกอบการในการสื่อสารเรื่องการป้องกันในประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องให้ความสน ใจในการสนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการ หรือในกิจการที่มีความเสี่ยง”
ด้าน โอปอล - ปณิศรา พิมพ์ปรุ นักแสดงและพิธีกรรายการโทรศัพท์ชื่อดัง ได้กล่าวว่า “เชื้อเอชไอวีก็เหมือนเชื้ออื่นๆ ทั่วไป การรู้ตัวเร็วด้วยการตรวจหาเชื้อเอชไอวี และเข้ารับการรักษา คือก้าวแรกของการมีชีวิตที่เป็นปกติ และมีสุขภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นค่ะ”
ดร.แอนโทนี่ ประมวญรัตน ที่ปรึกษาสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ ได้กล่าวว่า “ในประเทศไทย การตรวจเอชไอว และการรักษาเป็นเป็นบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านหน่วยบริการสาธารณสุขของภาครัฐ แต่สิ่งที่ท้าทายก็คือการทำให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีการให้บริการด้านการรักษาแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และที่สำคัญก็คือมีประสิทธิภาพสูง โดยสถานประกอบการจะมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารในเรื่องนี้อย่างมากครับ”
ส่วน นพ.ทวีทรัพย์ ศิริประภาศิริ ผู้อำนวยการ ศูนย์บริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กล่าวว่า “จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข การเข้ารับบริการตรวจเลือดเอชไอวีในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 40 ของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ที่ได้มาเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 480,000 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะมีเพียงแค่ 240,000 คนที่ได้เข้ารับการรักษา ดังนั้นการสนับสนุนให้คำปรึกษา และการตรวจหาเอชไอวี ประกอบกับบริการด้านการรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกลยุทธ์ของประเทศที่ต้องการจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยังป้องกันการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ได้อีกด้วย”
และสุดท้ายคือ นายสาวิท แก้วหวาน อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันพนักงานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากพวกเขารู้ว่าสิทธิของตนเองจะได้รับการคุ้มครอง ก้าวแรกคือสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อนโยบายในเรื่องนี้ ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิโดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือสิ่งสำคัญในการขยายการตรวจเลือดเอชไอวี นอกจากนี้การรักษาเข้าไปยังสถานประกอบการ ซึ่งในนโยบายแรงงานของประเทศไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสถานประกอบการไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี และควรจะรักษาความลับเรื่องสถานะ การติดเชื้อ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้มีมติรับรองมาตร ฐานแรงงานสากลว่าด้วยเอชไอวีและเอดส์ ข้อแนะเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ในที่ทำงาน (ข้อแนะฉบับที่ 200) มาตรฐานดังกล่าวไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อลูกจ้างที่มีเชื้อเอชไอวี และเรียกร้องให้นายจ้างได้สนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและการรักษา”
สำหรับโครงการ VCT@WORK ที่จัดในประเทศไทยนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ ครอบคลุมในกลุ่มพนักงานจากทั่วโลกเป็นจำนวน 5 ล้านคน ภายในปี พ.ศ.2558 โดยภาคีหลักของการจัดทำโครงการฯ นี้ ในประเทศไทยประกอบด้วยกระทรวงแรงงาน, สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐ วิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยผู้ที่สน ใจในรายละเอียด สามารถสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 02-2881664 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
*************************************************
โพสท์โดย: moses