หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรื่องของ…แผล (ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน)

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

โพสเมื่อ  18:09 10/11/2556

 

บาดแผล  คือภาวะที่ชั้นผิวหนัง เกิดรอยแยกหรือช่องโหว่อันจะนำไปสู่ภาวะการติดเชื้อ  หรือเชื้อโรคเข้าสู่กระแสโลหิตได้  การเกิดแผลไม่จำเป็นจะต้องมีเลือดออกเสมอไป ในบางกรณีที่ผิวหนังถลอกแต่เลือดไม่ไหล  ในทางการแพทย์ก็ถือว่าเกิดบาดแผลขึ้นแล้ว  และมีโอกาศที่แผลจะติดเชื้อ

ในปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการดูแลบาดแผลมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  แต่ยังคงจำกัดอยู่เฉพาะ บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจเรื่องบาดแผลเท่านั้น  การทำแผลส่วนใหญ่จะเป็นการล้างแผลใส่ยา ฆ่าเชื้อโพวิโดน-ไอโอดีน และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ ห้ามแผลโดนน้ำ และต้องทำแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง  ซึ่งการทำแผลดังกล่าวเป็นการทำแผลแบบดั้งเดิม (การทำแผลแบบแห้ง) แต่ก็ยังใช้กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยตนเองตามบ้าน  การรักษาในสถานีอนามัย  หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ โดยมีองค์ความรู้ที่ว่าการรักษาสภาพของแผลให้แห้ง จะช่วยให้แผลหายเร็ว แต่ในปัจจุบันนี้องค์ความรู้ได้เปลี่ยนไปคือ  การรักษาสภาพของแผลให้ชุ่มชื้นเหมาะสม ซึ่งนำเสนอโดย ดร. จอร์จ วินเทอร์ (Dr. George Winter)  ตั้งแตปี ค.ศ.1960  พบว่าช่วยให้บาดแผลหายได้เร็วกว่า  การรักษาแผลแบบดั้งเดิม(แผลแบบแห้ง)

องค์ความรู้เรื่องการหายของแผลแบบชุ่มชื้นนี้ มีเหตุผลสนับสนุนที่ช่วยให้การสมานแผลเกิดได้เร็วกว่าการหายของแผลแบบดั้งเดิม(แผลแบบแห้ง)  คือ

  1. สภาพดังกล่าวจะทำให้แผลมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับร่างกาย  ทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวได้เต็มที่
  2. มีการเคลื่อนที่ของเซลล์ใต้ผิวหนัง เพื่อให้เกิดการสมานแผลทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีสะเก็ดแผลเป็นตัวขัดขวางการหายของแผล เหมือนในสภาพแผลแห้ง
  3. สภาวะชุ่มชื้นเกิดจากการที่มีน้ำเหลืองเคลือบอยู่บนแผลในปริมาณที่พอเหมาะ ในน้ำเหลืองมีสารอาหารและอากาศ  ช่วยให้การงอกขยายของเซลล์ เกิดขึ้นได้ดีกว่าการสมานแผลแบบแห้ง  และทำให้เม็ดเลือดขาวที่สร้างขึ้นนำสารอาหารไปใช้ได้ จึงดำรงชีวิตอยู่ได้นานกว่า เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในแผลของการหายแบบแห้ง  โอกาสการติดเชื้อจึงเกิดได้ต่ำกว่า และยังช่วยให้การเจ็บปวดที่แผลน้อยกว่าการหายแบบแห้ง เนื่องจากปลายประสาทรับความรู้สึกแช่อยู่ในน้ำเหลือง  และไม่สัมผัสกับอากาศโดยตรง

ข้อสรุปโดยสังเขป

สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างการหายแบบชุ่มชื้น และแบบแห้งคือ  การหายแบบชุ่มชื้น  จะไม่มีสะเก็ดเกิดขึ้น  เนื้อเยื่อจะมีสีแดงสด  และมีการงอกขยายและเคลื่อนที่ของเซลล์มาสมานแผลได้เร็วกว่า

แต่ข้อจำกัดขององค์ความรู้นี้คือ  ห้ามนำไปใช้กับแผลที่ติดเชื้อ  หรือมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเด็ดขาด  เพราะความชุ่มชื้นที่มีจะส่งเสริมให้ เชื้อโรคเจริญเร็ว  และแผลจะเลวร้ายลงมากกว่าการหายแบบแห้ง

ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจองค์ความรู้ในข้างต้นจึงมีประโยชน์ ในการเลือกใช้น้ำยาล้างแผลและวัสดุปิดแผลที่เหมาะสม แก่แผลแต่ละประเภท จะช่วยส่งเสริมให้บาดแลเหล่านั้นหายได้เร็วที่สุดในเวลาอันเหมาะสม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเภทของบาดแผล

1.  แบ่งตามความสะอาดของแผล  ได้แก่

แผลสะอาด  หมายถึง  แผลที่ไม่มีการติดเชื้อ  หรือแผลเคยติดเชื้อและได้รับการดูแลจนแผลสะอาด เนื้อเยื่อของแผลเป็นสีชมพูอมแดงไม่มีลักษณะของการอักเสบ  บวมแดง  ซึ่งสามารถใช้องค์ความรู้เรื่องการหายของแผลแบบชุ่มชื้น  จะทำให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น

แผลติดเชื้อ  หมายถึง แผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ปวด บวม แดง ร้อน  จากการติดเชื้อ  หรือมีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนในแผล  ห้ามนำองค์ความรู้เรื่องการหายของแผลแบบชุ่มชื้น มาใช้ในการรักาาแผลชนิดนี้เด็ดขาด

2.  แบ่งตามลักษณะการฉีกขาดของผิวหนัง

แผลปิด  หมายถึงบาดแผลที่ผิวหนังไม่ฉีกขาดออกจากกัน แต่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมีการฉีกขาด  เลือดไหลมารวมกันเป็นก้อน  หรือ เกิดห้อเลือดใต้ชั้นผิวหนัง

แผลเปิด  หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังบางส่วนมีการฉีกขาดออกจากกัน  ซึ่งมีหลายชนิด

3.  แบ่งตามระยะเวลาการหายของแผล

แผลเฉียบพลัน  หรือแผลสด  หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นใหม่ๆ พอที่จะทำนายระยะเวลาการหายได้ เช่น แผลเย็บจะต้องตัดไหม  ซึ่งจะหายในเวลา 5-10 วัน

แผลเรื้อรัง  หมายถึง แผลที่เกิดมานาน ไม่ยอมหาย ไม่สามารถทำนายระยะเวลาการหายได้ เช่น แผลที่เท้าจากเบาหวาน แผลกดทับ แผลติดเชื้อ เป็นต้น  โดยแผลกลุ่มนี้มักมีเนื้อตายสีดำ หรือเนื้อตายสีเหลืองอยู่ที่แผล

น้ำยาล้างแผล

น้ำยาล้างแผลที่เหมาะสมที่สุด คือ น้ำเกลือล้างแผล หรือน้ำยานอร์มัลซาไลน์ (0.9% normal saline)  ซึ่งเป็นน้ำยาล้างแผลที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อที่บาดแผลถูกทำลาย  ถึงแม้ว่าน้ำเกลือล้างแผลจะไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคเลยก็ตาม  แต่ใช้หลักการเจือจางสิ่งสกปรกออกจากแผล โดยใช้น้ำเกลือล้างแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  หากไม่สามารถหาน้ำเกลือล้างแผลได้  ก็สามารถใช้น้ำสะอาด  เช่น น้ำที่บรรจุขวดเพื่อดื่ม  หรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  แต่เนื่องจากน้ำสะอาด มีค่า ออสโมซีสต่ำ  อาจทำให้บาดแผลบาดเจ็บมากขี้นจากการรับน้ำเพิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อ

ส่วรน้ำยาล้างแผลตัวอื่นๆ ที่นิยมใช้กัน เช่น น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ น้ำยาบอริค น้ำยาด่างทับทิม หรือแอลกอฮอล์นั้น พบว่า น้ำยาเหล่านั้นสามารถทำลายเนื้อเยื่อที่ฉีกขาดอย่างรุนแรง  จึงไม่ควรใช้เป็นอย่างยิ่ง หากจะใช้ควรพิจารณาใช้ในแผลติดเชื้อเท่านั้น

น้ำยาใส่แผล

น้ำยาใส่แผลที่นิยมใช้กันมากคือ 10% โพวิโดน-ไอโอดีน เนื่องจากไม่แสบแผล หรือ แสบน้อยและทำให้แผลแห้งเร็ว แต่สิ่งที่จะต้องรับทราบนอกจากเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ดีแล้ว ยังสามารถทำลายเซลล์ไฟโบรบลาสซึ่งเป็นเซลล์ที่สร้างเนื้อเยื่อ ที่จะทำให้แผลหายได้ด้วยเช่นกัน  ดังนั้นก่อนใช้ ควรดูลักษณะของแผลก่อน

หากแผลสะอาดดี  พื้นแผลแดงอมชมพูก็ไม่จำเป็นต้องใส่ย่ฆ่าเชื้อใดๆ

หากเป็นแผลติดเชื้อ ควรพิจารณาเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อที่ผลต่อการทำลายเซลล์น้อยที่สุด  และที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาพของแผล และเลิกใช้หากอาการแสดงการติดเชื้อหมดไป

ส่วนแผลสดให้พิจารณาว่าแผลมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากน้อยเพียงใด  หากมีความเสี่ยงมากก็ควรใส่ยาฆ่าเชื้อเพียง 1-2 ครั้งแรกเท่านั้น หรืออาจพิจารณาติดตามลักษณะของแผลอย่างต่อเนื่องโดยใกล้ชิด ไม่ต้องใส่ทุกครั้งที่ทำแผล หากเป็นแผลสะอาดก็ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำยาใดๆ ลงในแผล หลักการนี้รวมถึงยาฆ่าเชื้อตัวอื่นๆ ด้วย เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาแดง เป็นต้น

วัสดุปิดแผล

วัสดุปิดแผลแบบดั้งเดิม หรือการทำแผลแบบแห้ง เป็นการรักษาแผลที่ใช้กันอยู่ทั่วไป  ซึ่งจะใช้ผ้าก๊อซในการปิดแผล ผ้าก๊อซจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำเหลืองจากแผลจนแผลแห้งลง ดังนั้นการการหายของแผลแบบนี้ จะใช้เวลาในการหายนาน และมีสะเก็ดเกิดขึ้นที่แผล  นอกจากนี้ผ้าก๊อซยังติดแน่นทับแผลจนยากแก่การทำแผลในครั้งถัดไป และยังรบกวนการหายของแผล เนื่องจากเนื้อเยื่อที่กำลังงอกใหม่ จะถูกดีงลอกติดกับผ้าก๊อซออกไปทุกครั้ง ในกรณีแผลมีน้ำเหลืองมากจะต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซบ่อยๆ เนื่องจากการซึมซับที่ไม่ดี  หากปล่อยให้มีการปิดแผลด้วยก๊อซที่ชุ่มไปด้วยน้ำเหลืองนานเกินไป จะทำให้แผลเปื่อยได้ การใช้ก๊อซปิดแผลประจำอย่างเดียวจะทำให้หายช้ากว่าที่ควร

ที่มา: ข้อมูลโดยสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)

ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
76 VOTES (4/5 จาก 19 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเตือนแล้วไม่ฟัง ต้องบังให้มิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้
ตั้งกระทู้ใหม่