เทคนิคการโฟกัสในการถ่ายภาพมาโคร
โพสท์โดย ลูกสาวอบต
เทคนิคการโฟกัสในการถ่ายภาพมาโคร |
|
|
อุปสรรคใหญ่ในการถ่ายภาพมาโครก็คือ “ความคมชัด” ปัญหาเรื่องความคมชัดไม่ได้เกิดจากความไวชัตเตอร์ต่ำหรือวัตถุเคลื่อนที่จนเป็นผลทำให้ภาพไม่คมชัดเท่านั้น แต่ปัญหาภาพไม่คมชัดนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการโฟกัสชัดผิดตำแหน่ง จุดเด่นของภาพไม่ชัด อีกกรณีหนึ่งคือโฟกัสวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่ทันจนพลาดโอกาสในการถ่ายภาพ นักถ่ายภาพหลายคนที่เริ่มสนใจถ่ายภาพมาโครในช่วงแรกๆ จะรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับภาพมาโครเพราะภาพมาโครนั้นมีความน่าสนใจอยู่ในตัวเอง ขอเพียงแค่ถ่ายมาให้ชัด
จุดเด่นของภาพที่เกิดจากกำลังขยายสูงสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ดูภาพได้ไม่ยาก แม้ว่า Subject ในการถ่ายภาพมาโครจะมีความหลากหลายมาก จนจัดได้ว่าเป็นอีกโลกหนึ่งของการถ่ายภาพ แต่เมื่อถ่ายภาพมาโครไปสักพักเราจะพบว่าภาพมักจะเป็น Subject ซ้ำๆ และเป็นวัตถุที่เคลื่อนที่ไม่ได้อย่างเช่น ดอกไม้ หลายคนเบื่อหน่ายกับการถ่ายภาพมาโครไปเสียง่ายๆ เพราะต้องใช้ความพยายาม ความอดทนสูง ครั้งนี้ผมมีเทคนิคในการถ่ายภาพมาโคร โดยเน้นเรื่องการโฟกัสภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่มีความแตกต่าง โดยเฉพาะกับ Subject ที่เคลื่อนไหวได้อย่างแมลงซึ่งเป็นตัวอย่างในการถ่ายภาพมาโครที่ดี
|
|
1. Shift Focus
แม้ระบบโฟกัสของกล้องในปัจจุบันจะครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกส่วนของภาพ กอปรกับเลนส์ที่มีคุณภาพในการโฟกัสที่รวดเร็วแม่นยำ แต่สำหรับการถ่ายภาพมาโครแล้ว การสูญเสียแสงไปราว 2 stop ทำให้ประสิทธิภาพในการโฟกัสภาพลดลงไปพอสมควร สถานการณ์หนึ่งที่พบอยู่เป็นประจำคือ การที่จุดเด่นของภาพไม่ชัด เนื่องมาจากการโฟกัสไม่ตกลงบนจุดสำคัญ ช่วงความชัดของการถ่ายภาพในระยะใกล้นั้นแตกต่างไปจากการถ่ายภาพปกติ ช่วงความชัดของการถ่ายภาพระยะใกล้หรือภาพมาโครนั้นจะลดลงอย่างมาก (ชัดตื้น) แม้จะใช้เลนส์ตัวเดียวกันที่ขนาดช่องรับแสงเท่ากัน เพราะฉะนั้นการโฟกัสภาพจะต้องโฟกัสชัดที่จุดเด่นของภาพ เมื่อถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตจุดเด่น จุดสำคัญของภาพคือดวงตา
ระบบออโต้โฟกัสมักทำงานผิดพลาดไปบ้างในกรณีที่มีฉากหน้ากั้นขวางอยู่ แม้กล้องจะแสดงการยืนยันว่าโฟกัสชัด แต่นักถ่ายภาพควรเช็คจุดที่ต้องการโฟกัสว่าชัดจริงแล้วหรือไม่ การ Shift Focus ด้วยมือเล็กน้อยจะช่วยให้การโฟกัสเข้าจุดที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นเทคนิคในการโฟกัสภาพได้เร็วและแม่นยำมากกว่าการพึ่งแต่ระบบออโต้โฟกัสของกล้องเพียงอย่างเดียว
|
|
|
จากตัวอย่างภาพหากไม่สามารถเลือกจุดโฟกัสที่ทาบลงบนตาของแมลงกล้องมักจะโฟกัสที่ใบไม้ซึ่งเป็นฉากหน้าของภาพ แม้ระยะจะห่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยช่วงความชัดที่ตื้น จะทำให้ตาของแมลง Out Focus กลายเป็นภาพเสีย ต้องเพ่งมองดูที่ตาว่าชัดจริงหรือไม่แล้วปรับ Shift Focus ช่วยให้ชัดที่บริเวณดวงตาจริงๆ
|
|
2. โฟกัสติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ
เมื่อถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว อย่าลืมเลือกระบบโฟกัสภาพติดตามวัตถุ (AI Servo, Dynamic AF ฯลฯ) ภาพพฤติกรรมมี Action ย่อมให้ความน่าสนใจกว่า ระบบโฟกัสภาพแบบติดตามวัตถุนั้นช่วยให้เราถ่ายภายวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาได้ง่ายมากขึ้น และมันแทบเป็นไปไม่ได้เลยกับการที่จะโฟกัสด้วยมือแบบแมนนวลตามวัตถุ หลายคนอาจพบปัญหากล้องโฟกัสตามไม่ทันเมื่อใช้ระบบโฟกัสภาพติตดตามวัตถุ นั่นเพราะช่วงการหมุนของเลนส์มาโครมีช่วงกว้าง และการเสียแสงทำให้ประสิทธิภาพในการโฟกัสลดลงไปอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เทคนิคที่ผมใช้อยู่เป็นประจำก็คือ ประเมินสภาพแสงถ้าอยู่ในสภาพแสงน้อยก็ต้องทดลองโฟกัสดู ถ้ากล้องโฟกัสภาพตามไม่ทันจริงๆ ต้องทำใจและเลือกใช้วิธีอื่นครับ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ เลือกถ่ายภาพในทิศทางการเคลื่อนไหวในด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงระยะโฟกัสที่น้อยที่สุด จากภาพตัวอย่างคือด้านข้าง ในทิศทางด้านหน้าตรงวัตถุจะมีการเปลี่ยนแปลงระยะโฟกัสอย่างรวดเร็วตลอดเวลาจนเลนส์ไม่สามารถโฟกัสตามได้ทัน
|
|
|
|
3. โฟกัสแบบแมนวลเพื่อล็อคโฟกัส
จากสถานการณ์ต่อเนื่องจากด้านบน ถ้ากล้องไม่สามารถโฟกัสติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ อันเนื่องมากจากสภาพแสงน้อยเลนส์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือ Subject มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว มีแนวทิศทางการเคลื่อนที่ที่ไม่แน่นอน การเลือกโฟกัสแบบแมนนวล ล็อคโฟกัส รอให้ Subjectเคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในเฟรมภาพแล้วถ่ายภาพเป็นทางเลือกที่ผมเลือกใช้อยู่เสมอ ต้องไม่ลืมปรับเลนส์ให้มีการทำงานแบบ MF เพราะถ้าหากกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพเลนส์จะโฟกัสใหม่อีกครั้ง อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สายลั่นชัตเตอร์ ไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันการสั่นไหว แต่เพื่อให้เราอยู่ห่างจากกล้องและSubject เพราะบางครั้งถ้าเราอยู่ใกล้ Subject เกินไป Subject ที่เป็นสิ่งมีชีวิตอาจไม่เข้ามาให้ถ่ายภาพ ปรับกล้องให้ทำงานในระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง คะเนช่วงจังหวะที่ Subject เข้ามาในเฟรมภาพ ถ่ายภาพเป็นชุดเพื่อเลือกภาพที่มีคุณภาพความคมชัดที่ดี
|
|
|
|
4. แขนตั้งกล้อง
กฎเหล็กของการถ่ายภาพมาโครก็คือต้องใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพเสมอ ยากมากที่จะถือกล้องด้วยมือแล้วถ่ายภาพมาโครได้ชัด แต่ในบางสถานการณ์ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา โอกาสมีไม่มากนักที่จะได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ แม้ไม่มีขาตั้งก็จำเป็นที่จะต้องเสี่ยงถ่ายภาพ กลับกันในบางครั้ง บางสถานการณ์ขาตั้งกล้องเองก็อาจใช้งานไม่สะดวกนัก เทคนิคที่ดีที่สุดคือความชำนาญอันเนื่องมาจากการฝึกฝน หมั่นฝึกปรับควบคุมขาตั้งกล้อง จัดองค์ประกอบเพื่อให้ได้องค์ประกอบภาพตามที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ระวังขาตั้งกล้องจะไปเกี่ยวกระแทกจน Subject ตกใจหนีหายไป ในช่วงเวลาเหตุการณ์เฉพาะหน้าประสบการณ์จากการฝึกฝนจะช่วยให้ได้ภาพที่ดี จากภาพตัวอย่าง ผมถ่ายภาพนางพญาผึ้งที่กำลังวางไข่โดยมีผึ้งงานล้อมรอบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะพบเห็นไม่บ่อยนัก เพราะนางพญาผึ้งมักหลบหนี เดินมุดหายไปในหมู่ผึ้งตลอดเวลา เปิดโอกาสให้ผมถ่ายภาพเพียงไม่กี่อึดใจ ผมถ่ายภาพโดยไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง เพราะไม่ได้เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า พยายามกลั้นหายใจและเอาตัวพิงกับวัตถุอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดที่สุด แขนทั้งสองข้างทำหน้าที่เป็นขาตั้งกล้อง สภาพแสงจะค่อนข้างน้อย เห็นค่าความไวชัตเตอร์แล้วแทบหมดหวัง แม้ความคมชัดที่ได้จะไม่คมกริบ 100% แต่ก็เพียงพอที่จะนำไปใช้งาน การฝึกถือกล้องให้นิ่งเป็นเรื่องควรกระทำอยู่เสมอ
|
|
|
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
60 VOTES (4/5 จาก 15 คน)