หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พบฟอสซิลยุงตัวแรก ที่มีเลือดอยู่ในท้อง อายุกว่า 40 ล้านปี

โพสท์โดย mata


Jurassic-Park-movie-logo-and-mosquito-in-amber

ไอเดียในภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค ปาร์ค เกี่ยวกับการใช้ฟอสซิลยุงที่มีเลือดไดโนเสาร์อยู่ในท้องเพื่อโคลนนิ่งไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อหลายล้านปีก่อนอาจเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลของยุงที่มีเลือดอยู่ในท้องจริงๆ เป็นครั้งแรก แม้จะไม่ถึงขนาดที่เอามาโคลนนิ่งสร้างสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้แบบในภาพยนตร์ แต่การค้นพบนี้ก็ให้ข้อมูลมากมายแก่นักวิทยาศาสตร์

           ในโลกนี้มีแมลงที่กินเลือดอยู่ราว 14,000 สปีชีส์ แต่นักวิทยาศาสตร์กลับพบฟอสซิลของแมลงกลุ่มนี้ไม่มากนัก และส่วนใหญ่การตรวจสอบเพื่อระบุว่าเป็นฟอสซิลแมลงที่กินเลือดเป็นอาหารก็ไม่สามารถทำได้ตรงๆ ต้องอาศัยการอนุมานจากหลักฐานข้างเคียงเช่น รูปร่างลักษณะปากของแมลง จุลินทรีย์ที่พบในระบบทางเดินอาหารอย่างพวกเชื้อมาลาเรีย ไข้เหลือง และไข้เลือดออก นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยพบฟอสซิลที่มีเลือดอยู่ในท้องเลย จนกระทั่งทีมวิจัยของ Dale Greenwalt จาก US National Museum of Natural History ตรวจสอบและรายงานว่าพบเลือดในฟอสซิลหมายเลข USNM 559050 ซึ่งเป็นฟอสซิลยุงที่ค้นพบตั้งแต่ช่วงปี 1980 และเก็บรักษาอยู่ทีพิพิธภัณฑ์  

ฟอสซิลยุงหมายเลข USNM 559050

ฟอสซิลยุงหมายเลข USNM 559050 

           ฟอสซิลยุงที่นำมาศึกษานั้น ไม่ได้ฝังอยู่ในแท่งอำพันแบบในเรื่องจูราสสิค พาร์ค แต่ฝังอยู่ในหินดินดานที่เกิดจากตะกอนทับถมกันในน้ำ Greenwalt ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของธาตุ และสารชีวโมเลกุลที่อยู่ในฟอสซิล ซึ่งพบธาตุเหล็กปริมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับยุงตัวผู้ซึ่งไม่กินเลือด เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าในท้องยุงตัวเมียน่าจะมีเลือดมาก่อน 

17-10-2556 2-24-02           นอกจากนี้หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ การพบโมเลกุลของ Porphyrin ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินที่พบได้ในเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลังเท่านั้น  

hemoglobin

Haemoglobin ที่สลายไปเป็น Porphyrin

           แต่สำหรับคนที่หวังว่านักวิทยาศาสตร์จะโคลนนิ่งได้โนเสาร์ได้แบบในเรื่องจูราสสิค ปาร์ค คงต้องผิดหวังหน่อย เพราะ DNAในเลือดถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นอกจากนี้เลือดที่อยู่ในท้องยุงยังไม่ใช่เลือดไดโนเสาร์อีกด้วย เพราะอายุของฟอสซิลดังกล่าวมีอายุ 43 ล้านปี ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้นเลือดในท้องจึงไม่ใช่ของไดโนเสาร์แน่นอน 

           นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เลือดในท้องยุงน่าจะเป็นเลือดของนกหรือสัตว์ปีก เนื่องจากลักษณะร่างกายของยุงในฟอสซิลใกล้เคียงกับยุง Culiseta ในปัจจุบันซึ่งดูดเลือดจากนกเป็นหลัก และได้สันนิษฐานสภาพการตายไว้ว่า ยุงตัวนี้หลังจากดูดเลือดแล้วน่าจะบินไปบริเวณผิดน้ำแล้วเกิดเหตุบางอย่างทำให้ตกลงในน้ำจนเสียชีวิต จึงจมลงสู่ก้นแม่น้ำและถูกตะกอนทับถมกลายเป็นฟอสซิล

            แม้ว่าเลือดจากฟอสซิลยุงจะยังไม่สามารถใช้ศึกษาข้อมูลของสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วแบบในภาพยนตร์ แต่การค้นพบนี้ก็แสดงให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าเลือดที่ยุงดูดมาจากเหยื่อสามารถถูกเก็บรักษาไว้ในฟอสซิลได้จริง ขยับเข้าใกล้จินตนาการในภาพยนตร์ไปอีกก้าวหนึ่ง

           นอกจากนี้ฟอสซิลยังให้ข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงสภาวะที่เหมาะแก่การเกิดฟอสซิลที่รักษาเลือดในท้องไว้ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการมองหาชั้นหินที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อศึกษาหาฟอสซิลที่สมบูรณ์กว่านี้

วันหนึ่งเราอาจจะได้พบฟอสซิลยุงที่มีเลือดซึ่งพันธุกรรมของสัตว์โบราณถูกเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์กว่านี้ 

อ้างอิง
http://www.pnas.org/content/early/2013/10/08/1310885110

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
48 VOTES (4/5 จาก 12 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เจ้าของ Etheream ทุ่มเงิน 10 ล้าน สร้างบ้านให้หมูเด้ง ฮิปโปแคระนักมวยดังฝากถึง "เบิร์ด วันว่างๆ" อยากดังเดี๋ยวพี่จัดให้..ยังไงก็ช่วยมาหาหน่อย!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ตั้งกระทู้ใหม่