8 งานวิจัยสุดเพี้ยนของโลก เห็นแล้วต้องฮา
หากพูดถึงแวดวงวิทยาศาสตร์แล้ว บนโลกใบนี้มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ทั่วทุกมุมโลก และพวกเค้าาก็ไม่เพียงแต่วิจัยและพัฒนากันไปเพื่อความสนุกนะคะ เพราะทุกๆ การทดลอง ถ้าหากเป็นการค้นพบที่วิเศษ มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ผู้ค้นพบก็จะได้รับการยกย่อง เหมือนเซอร์ ไอแซกนิวตัน ที่ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้คิดค้นหลอดไฟ
นอกจากจะเป็นที่จดจำของคนทั้งโลกแล้ว ในปัจจุบันนี้ยังมีรางวัลมาการันตีความสามารถและความโดดเด่นของผลงาน หนึ่งในนั้นก็คือ "รางวัลโนเบล" ที่รู้จักกันดี โดยแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ คือ สาขาเคมี สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา สาขาวรรณกรรม สาขาสันติภาพ และสาขาฟิสิกส์ ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับนานาชาติ พิจารณาจากผลงานไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์และงานวิจัยที่หรูเลิศอลังการ
แต่ในความมีสาระก็จะแฝงไปด้วยเรื่องตลกฮาๆ เสมอ เพราะยังมีรางวัล "อิกโนเบล (Ig Nobel)" ก่อตั้งโดย “มาร์ก อับราฮัมส์”เป็นรางวัลที่เกิดขึ้นเพื่อล้อเลียนรางวัลโนเบล อารมณ์คงคล้ายๆ สภาโจ๊กล้อเลียนรัฐสภาไทยนั่นล่ะค่ะ งานวิจัยที่ได้รางวัลนี้จึงออกแนวเพี้ยนๆ ฮาๆ ได้ยินปุ๊บอาจเกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า ทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไรเนี่ย!! นี่แหละ สีสันของรางวัลอิกโนเบลที่จะเกิดขึ้นก่อนการประกาศผลรางวัลโนเบล ส่วนจะแปลก เพี้ยน พิสดาร อลังการ เพ้อเจ้อ (พอแล้ว!!) แค่ไหน ลองไปดู 8 ผลงานรางวัลอิกโนเบลที่คัดเลือกมาฝากกันเลยดีกว่า
เรื่องที่ 1 : การพยายามที่จะเข้าใจว่าทำไมผู้คนถึงถอนหายใจได้ทุกวัน
เป็นรางวัลอิกโนเบลในสาขาจิตวิทยา ปี 2011 เจ้าของผลงาน คือ คาร์ล ฮาลเวอร์ เตเกน แห่งมหาวิทยาลัย Oslo ประเทศ Norway เขาได้พยายามทดลองเพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมมนุษย์ต้องถอนหายใจทุกวัน!! สุดท้ายแล้วก็ไม่รู้ว่างานวิจัยชิ้นนี้ทำไปเพื่ออะไร
เรื่องที่ 2 : วิธีการเดินบนแผ่นน้ำแข็งในฤดูหนาวไม่ให้ล้ม
ฟังชื่อก็ดูไม่น่าเพี้ยนเท่าไหร่ แต่ผลการทดลองเค้าบอกไว้ว่าถ้าไม่อยากล้มลื่นบนแผ่นน้ำแข็ง ก็แค่เอาถุงเท้าออกมาหุ้มรองเท้าไว้สิ ไม่เห็นจะยาก!! ผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นของ ไลแอนเน่ พาร์กิน, เชียอิลา วิลเลียมส์ และแพทริเซีย เพรียสต์ ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2010
ตามต่างประเทศหลายๆ เมืองจะมีปัญหาเรื่องการจิดรถแบบผิดกฎหมายของบรรดารถคนรวยที่นึกจะจอดตรงไหน ก็จอด นายอาร์ตูราส ซูโอคาส นายกเทศมนตรีกรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย ก็เลยคิดค้นวิธีการขึ้นมา ด้วยการขับรถถังทับจนเละ นายกเมืองนี้เค้าโหดจิงๆ!! ไม่เชื่อไปดูคลิปกันเลยค่ะ
เรื่องที่ 4 : รายงานที่แนะนำสำหรับการเตรียมรายงานเกี่ยวกับรายงาน!?!?
ชื่อหัวข้อยังไม่หมดเท่านี้ค่ะน้องๆ เพราะชื่อเต็มคือ รายงานที่แนะนำสำหรับการเตรียมรายงานเกี่ยวกับรายงานเกี่ยวกับรายงานเกี่ยว กับรายงาน พี่ไม่ได้พิมพ์ผิดนะคะ ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ คือ reports about reports that recommends the preparation of a report about the report about reports about reports พิมพ์ไปพิมพ์มาก็ชักงง
เรื่องนี้ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาวรรณกรรมปี 2012 ซึ่งรับกันไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้เองค่ะ เจ้าของผลงานชิ้นนี้ คือ หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า The US Government General Accountability Office
เรื่องที่ 5 : การเอียงซ้ายทำให้หอไอเฟลดูเล็กลง
รางวัลอิกโนเบลสาขาจิตวิทยาปี 2012 เป็นของ แอนิตา เออร์แลนด์ และ รอล์ฟ ซวาน และ ตูลิโอ กัวดาลูเป จากเนเธอร์แลนด์ สำหรับการศึกษาในหัวข้อ การเอียงซ้ายทำให้หอไอเฟลในกรุงปารีสดูเล็กลงกว่าขนาดจริง ส่วนจะจริงหรือไม่ ใครที่กำลังจะไปดูหอไอเฟล อย่าลืมเอียงหัวไปทางซ้ายซักนิดนะคะ
เรื่องที่ 6 : จุลชีพในห้องแล็บซุกซ่อนตามหนวดนักวิทยาศาสตร์
รางวัลอิกโนเบล สาขาสาธารณสุข ปี 2010 มาในแบบน่ากลัวๆ นิดหน่อย โดยเป็นรางวัลของมานูเอล บาร์ไบโต, ชาร์ลส์ แมธิวส์ และลาร์รี เทย์เลอร์ พวกเขาศึกษาค้นพบว่า พวกจุลชีพ (หมายถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รวมไปถึงพวกแบคทีเรียต่างๆ) ในห้องแล็บต่างเข้าไปซุกซ่อนตามหนวดของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องแล็บ งานวิจัยนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้นักวิจัยเริ่มพะวงๆ กับหนวดตัวเองบ้างแล้วล่ะ
เรื่องที่ 7 : บราหน้ากากกันก๊าซพิษ
รางวัลอิกโนเบลสาขาสาธารณสุขอีกเช่นเคย แต่เป็นปี 2009 เป็นการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า บราหน้ากากกันก๊าซพิษ ของแคเธอรีน ดักลาสและปีเตอร์ โรว์ลินสัน ชาวอังกฤษ วิธีคิดนั้นแสนง่ายดาย หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีสารพิษอยู่รอบตัว บราหรือเสื้อในตัวนี้สามารถแปลงร่างเป็นหน้ากากป้องกันพิษได้ 2 ชิ้น เห็นผลงานเธอแล้ว สาวๆ ก็แอบอายเลยนะคะ แต่ก็ถือว่าเป็นชิ้นงานที่สร้างสรรค์และชวนอมยิ้มจริงๆ ตามรูปเลยค่ะ :)
เรื่องที่ 8 : องค์กรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าเลื่อนขั้นพนักงานโดยการสุ่ม
เรื่องสุดท้ายแค่อ่านชื่อก็น่าขำแล้ว แต่กลับได้รางวัลอิกโนเบลสาขาการจัดการ ปี 2010 เชียวนะคะ โดยเป็นแนวคิดวิจัยของ อเลซซานโดร พูลชิโน, อันเดรีย ราพิซาร์ดา และเคซาเร กาโรฟาโล พวกเขาได้วิจัยและแสดงให้เห็นทางคณิตศาสตร์ว่า องค์กรแต่ละแห่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากใช้วิธีเลื่อนขั้นพนักงานโดยการสุ่ม(หรือตามใจหัวหน้า) เชื่อว่าหลายๆ คน คงรู้สึกเหมือนกันว่ามันจะดีจริงเร้อออออ
มองลงไปลึกๆ แล้วรางวัลอิกโนเบลมีคุณค่ามหาศาลในแง่ที่ทำให้คนภายนอกสนใจเรื่องวิทยา ศาสตร์มากขึ้น ไม่ได้มองแค่วิทยาศาสตร์หรือเรื่องหนักสมองอีกต่อไป ที่สำคัญยังสนับสนุนงานวิจัยให้คนกล้ามีความคิดสร้างสรรค์อีกด้วยนะ สุดยอดจริงๆ เลย :D