"สุดยอดวิศวรรมเผชิญน้ำท่วม" ของมดคันไฟ
"มดคันไฟ" เป็นมดชนิดหนึ่งที่ทำรังใต้พื้นพื้นดินเหมือนมดทั่วๆไป แต่เมื่อเกิดเหตุฝนตกหนัก หรือภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วม ที่สัตว์ต่างๆต้อง
หนีตายไม่เว้นแม้แต่มนุษย์อย่างเรา เมื่อรังมดคันไฟถูกน้ำท่วม มดทุกตัวจะลอยตามกระแสน้ำ บางตัวที่มีหน้าที่ดูแลรัง ก็หอบหิ้วตัวอ่อนมาด้วย
เพียงไม่ถึง 2 นาที พวกมันสามารถสร้างแพขึ้นมา โดยใช้ขากรรไกรและขายึดเกาะกันไว้ "แพมด" มีลักษณะคล้ายแพนเค้ก ฐานล่างของแพ
ประกอบด้วยมดประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งรัง ซึ่งพวกมันจะจมอยู่ใต้และจะเกาะตัวกันอย่างหนาแน่น เพื่อพยุงน้ำหนักของมดตัวอื่นๆที่อยู่ด้านบน
ประกอบไปด้วย มดที่มีหน้าที่ต่างๆ ตัวอ่อน และราชินีมด ซึ่งทั้งหมดก็เปรียบเสมือผู้โดยสาร บางรังอาจมีประชากรหลายแสนตัว อาจสร้างแพได้ใหญ่
กว่าครึ่งเมตร และสามารถลอยบนน้ำอยู่ได้หลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน จนกว่าจะเจอแผ่นดินที่สร้างมารถสร้างรังใหม่ได้
บางคนอาจเป็นห่วงมดที่อยู่ฐานล่างว่ามันจะจมน้ำหรือไม่ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันที่มีกระเปาะอากาศแทรกอยู่เส้นขนของที่ปกคลุมอยู่
ทั่วร่างกาย ทำให้มีแรงตึกผิวที่จะลอยบนน้ำ และน้ำไม่สามารถเกาะหรือขังบนตัวได้ แม้จะถูกกดหรือฝนตกหนักก็ไม่ต้องกลัวจมน้ำ
"สิ่งที่น่ากลัวคือสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ" มีปลาที่คอยกินพวกมันทีละตัวทีละตัว จนทำให้อาณานิคมลอยน้ำล่มสลายได้ แต่นั่นไม่ได้สร้างความหวาดกลัว
กับบรรดามดคันไฟ ตรงกันข้าม พวกมันยิ่งเกาะกันเหนียวแน่น และพยายามเข้าใกล้กันมากที่สุด เพื่อรักษาความแน่นหนาของฐานล่างไว้
นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียซึ่งนำผลงานการศึกษาเผยแพร่ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences กล่าวว่า
พฤติกรรมนี้ของมดแสดงว่าพวกมดที่จมใต้น้ำสามารถรับรู้ได้ว่ามี "ผู้โดยสาร" บนแพของมันมากน้อยเท่าใด
แพของมดคันไฟ ปรับเปลี่ยนได้ตามสถาณการณ์ มดทุกตัวสามารถสลับที่กันได้ มดที่อยู่ด้านล่างอาจขึ้นไปด้านบน และมดด้านบนก็สามารถ
ลงไปด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สมาชิกสูญหายไปกับกระแสน้ำหรือถูกปลากิน
มดคันไฟนับแสนตัวนี้ แม้พวกมันจะมีหน้าที่ต่างกัน แต่เมื่อต้องประสบปัญหา พวกมันกลับมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือร่วมมือกัน
รักษาอาณานิคม รวมถึงชีวิตเพื่อนในรังทุกตัวไว้ให้ได้มากที่สุด และทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ อย่างไม่เสียดายชีวิต