หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรื่องเมฆๆครับ

โพสท์โดย moses
....เรื่องเมฆๆครับ

    เมฆ คือ
       
       เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละอองน้ำ
 (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้จะสะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่าๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็ สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่าน ไม่ได้ 

....เรื่องเมฆๆครับ
 

....สิ่งที่ช่วยให้เกิดการกลั่นตัวของไอน้ำเป็นก้อนเมฆคือ ฝุ่นผงเล็กๆ หรือเกลือในบรรยากาศที่มีคุณสมบัติดูดน้ำในบรรยากาศได้ดี เราเรียกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้ว่า อนุภาคกลั่นตัว (Condensation nuclei) ซึ่งการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศจะไม่เกิดขึ้นหากบรรยากาศปราศจากฝุ่นผง แม้ว่าไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วก็ตาม

 

....เรื่องเมฆๆครับ

  เมฆจากมนุษย์ 

             มนุษย์เราก็สามารถสร้างเมฆได้เหมือนกัน โดยเกิดจากเครื่องบินไอพ่นที่บินอยู่ในระดับสูงเหนือระดับควบแน่น ทำให้ไอน้ำซึ่งอยู่ในอากาศร้อนที่พ่นออกมาจากเครื่องยนต์ปะทะเข้ากับอากาศ เย็นซึ่งอยู่ภายนอก เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ เพราะการจับตัวกับเขม่าควันจากเครื่องยนต์จะทำหน้าที่เป็นแกนควบแน่น เราจึงมองเห็นควันเมฆสีขาวถูกพ่นออกมาทางท้ายของเครื่องยนต์เป็นทางยาว มีชื่อเรียกว่าคอนเทรล (Contrails)

....เรื่องเมฆๆครับ

.....ดูกันชัดๆครับเพื่อน...เมฆ ที่เกิด จากฝีมือมนุษย์

 ........ซึ่งก็เหมือนกับการสร้างฝนเทียม โดยเครื่องบินจะทำการโปรยสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนควบแน่นในการให้ไอน้ำในอากาศมาจับตัว และควบแน่นเป็นเมฆ

....เรื่องเมฆๆครับ

การแบ่งประเภทและ ชนิดของเมฆ 
 
            แบ่ง ตามรูปร่าง 

             เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง โดยจะมีชื่อเรียกว่า สเตรตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆอีกด้วย 

             - สเตรตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น 
             - คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม 
             - เซอร์รัส (cirrus) หมายถึง ลักษณะเป็นลอนผม 
             - นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน

....เรื่องเมฆๆครับ

แบ่งตามระดับความสูง 

             เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802

....เรื่องเมฆๆครับ

.....ซึ่ง การแบ่งตามระดับความสูงจะใช้ในการตรวจและแบ่งชนิดของเมฆทาง อุตุนิยมวิทยา สำหรับเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อผลทางการวิเคราะห์สภาพลมฟ้าอากาศในการ พยากรณ์ โดยใช้ความสูงของฐานเมฆเป็นหลักในการแบ่งชนิด ซึ่งลักษณะของเมฆแต่ละชนิดนั้นสามารถที่จะบอกให้ทราบถึงแนวโน้มลักษณะของ สภาวะอากาศที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เช่น ถ้าในท้องฟ้ามีเมฆก่อตัว ในทางแนวตั้งแสดงว่าอากาศกำลังลอยตัวขึ้น หมายถึง สภาวะของอากาศก่อนที่จะเกิดลมพายุ  

             หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าแผ่ตามแนวนอนเป็นชั้นๆ หมายถึง สภาวะอากาศที่สงบและจะมีกระแสลมทางแนวตั้งเล็กน้อย หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าก่อตัวทางแนวตั้งสูงใหญ่ จะหมายถึงลักษณะของเมฆ พายุฟ้าคะนอง ที่เรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส ฝนจะตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง บางครั้งอาจมีฟ้าผ่าลงมายังพื้นดินด้วย ซึ่งเมฆพายุฟ้าคะนองนี้เป็นอันตรายต่อเครื่องบินขนาดเล็กเป็นอันมาก

....เรื่องเมฆๆครับ

   เมฆระดับสูง (High Clouds)  

             ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส  

             - เมฆเซอรัส (Cirrus) มีฐานสูงเฉลี่ย 10,000 เมตร มีลักษณะเป็นฝอยปุยสีขาวเหมือนขนนกบางๆ หรือเป็นทางยาว และอาจมีวงแสง (Halo) ด้วย 

             - เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) มีฐานสูงเฉลี่ย 7,000 เมตร มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ สีขาว หรือเป็นละอองคลื่นเล็กๆ อยู่ติดกัน บางตอนอาจแยกจากกันแต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสง อาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้ 

             - เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus) มีฐานสูงเฉลี่ย 8,500 เมตร มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ โปร่งแสงเหมือนม่านติดต่อกันเป็นแผ่นในระดับสูง มีสีขาวหรือน้ำเงินจางปกคลุมเต็มท้องฟ้าหรือเพียงบางส่วน เป็นเมฆที่ทำให้เกิดวงแสงสีขาวหรือมีวงแสง (Halo) รอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้

....เรื่องเมฆๆครับ

   เมฆระดับกลาง (Medium Clouds) 

             ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด 

             - เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus) มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆ หรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆ มีลักษณะเป็นเกล็ดเป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น อาจมีแสงทรงกลด (Corona) 

             - เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนา บางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด เป็นลูกคลื่น ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่บางจนแสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้ อาจมีแสงทรงกลด (Corona)

....เรื่องเมฆๆครับ

   เมฆระดับต่ำ (Low Clouds) 

             ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงสเตรตัส (Stratus) เมฆสเตรตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอก 

             - เมฆสเตรตัส (Stratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆ สม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo) เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้ 

             - เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus) มีสีเทา ลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นก้อนกลมเรียงติดๆ กัน ทั้งทางแนวตั้งและทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป 

             - เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกันแผ่กว้างออกไป ไม่เป็นรูปร่าง เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตกจึงเรียกกันว่า เมฆฝน เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น

....เรื่องเมฆๆครับ

   เมฆแนวตั้ง (Vertical Clouds) 

             เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน โดยความสูงของฐานเมฆเฉลี่ย 1,600 ฟุต หรือ 500 เมตร ความสูงของยอดเมฆเฉลี่ยถึงระดับสูงของเมฆเซอรัส

....เรื่องเมฆๆครับ

.....ชนิดของเมฆแนวตั้ง

- เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
 ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้งกระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือลอยอยู่โดดเดี่ยวแสดงถึงสภาวะอากาศดี ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง 

             - เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่งที่ใช้ในการตีเหล็ก (anvil) ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า “เมฆฟ้าคะนอง”

....เรื่องเมฆๆครับ

....หลังจากเรารู้จักเมฆทุกชนิดมา แล้วเรามา ดูเมฆแปลกๆกันบ้างครับเพื่อนๆ

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 1 Stratocumulus Clouds

.....เมฆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก ลักษณะมันก็เหมือนกับเอาดินน้ำมันมานวดๆๆๆๆๆๆ เลยออกมาเป็นเส้นยาวๆ และเผอิญว่าเส้นยาวๆจะแบ่งเป็นช่วงๆซะด้วย ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการเกาะกลุ่ม

 

....เรื่องเมฆๆครับ

Stratocumulus Clouds 2

 

....เรื่องเมฆๆครับ

Stratocumulus Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 2 Shelf Clouds

ลักษณะ คล้ายๆกับอันดับ 1 แต่อันนี้ไม่ได้เป็นการม้วน แต่เป็นชั้นๆเหมือนที่กำบัง (บ้างก็ว่าเหมือนลิ้นชัก)และจะมาเป็นแนวตั้ง นอกจากนี้มันยังคล้อยตัวต่ำจนน่ากลัว มักจะรวมตัวกันก่อนที่จะเกิดพายุครับ

....เรื่องเมฆๆครับ

Shelf Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Shelf Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 3 Roll Clouds

เป็น เมฆฝนถึงขั้นที่จะเกิดพายุ แต่เป็นเมฆก้อนใหญ่บวกกับความดันอากาศ ความร้อนและเย็น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเมฆเป็นการม้วน เลยดูเหมือนคลื่นขนาดใหญ่

....เรื่องเมฆๆครับ

Roll Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Roll Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 4 Lenticular Clouds

เกิด จากหลยองค์ประกอบ ทั้งลมและความชื้น ทำให้รวมกลุ่มกลายเป็นเลนส์ได้(แต่บางครั้งก็เหมือนUFOนะ หรือว่า.....!?????)

....เรื่องเมฆๆครับ

Lenticular Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Lenticular Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

Lenticular Clouds  4

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 5 Cirrus Kelvin-Helmholtz

เป็น เมฆม้วนเป็นเกลียว โอกาสเกิดขึ้นยากมาก และเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3นาที แล้วจากนั้นก็เละ เรียกว่า เป็นความบังเอิ๊ญบังเอิญจริงๆ

 

....เรื่องเมฆๆครับ

Cirrus Kelvin-Helmholtz 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Cirrus Kelvin-Helmholtz 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 6 Noctilucent Clouds

....เมฆ ตามชื่อ คือ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนแต่เรืองแสง ซึ่งเกิดที่บริเวณแถวๆใกล้ๆขั้วโลกโดยแสงอาทิตย์จากอีกฟากส่องมาปะทะกับเมฆ จึงเห็นเหมือนกับเรืองแสงได้

....เรื่องเมฆๆครับ

Noctilucent Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Noctilucent Clouds  3

 

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 7 Mushroom Clouds

......เมฆแบบนี้คงไม่ใช่อะไรที่จะ ดีเท่าไหร่ เพราะมันเกิดจากการระเบิดอย่างแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์

....เรื่องเมฆๆครับ

Mushroom Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Mushroom Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 8 Mammatus Clouds

เมฆ ลักษณะแบบเป็นกระเปาะยื่นลงมา คนทั่วไปมักจะนึกว่าเดี๋ยวจะมีพายุเข้ามารึเปล่าหว่า จริงๆแล้ว เมฆนี่ไม่ใช่สัญญาณเตือนอันตรายแต่อย่างใด แต่มักเกิดขึ้นหลังจากที่พายุทอร์นาโดพ้นผ่านไปแล้วต่างหากล่ะ

....เรื่องเมฆๆครับ

Mammatus Clouds 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Mammatus Clouds 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 9 Nacreous

.....เมฆ นี้เรียกได้ว่าเป็นไข่มุกแห่งเมฆาเลยทีเดียว เพราะสีนวลตาและหลากสี ทำให้เพลินตาดี ซึ่งจะพบได้ที่แถบใกล้ๆขั้วโลก เช่น สแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็นๆที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา2ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นแบบนี้

....เรื่องเมฆๆครับ

Nacreous 2

....เรื่องเมฆๆครับ

Nacreous 3

....เรื่องเมฆๆครับ

อันดับ 10 Altocumulus Castelanus

....เรื่องเมฆๆครับ

Altocumulus Castelanus 2

....เรื่องเมฆๆครับ

สีของเมฆ 

             สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว 

             ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่าง ระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

....เรื่องเมฆๆครับ

     โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้ 

             - เมฆสีเขียวจางๆ นั้น เกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด 

             - เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ 

             - เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด

....เรื่องเมฆๆครับ

.....หมดแล้วครับเพื่อนๆ....ขอบ คุณมาก ครับที่ติดตามชมจนจบ...จัดไปให้คุ้ม......





Tags  เมฆ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: moses
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานทีมเชื่อมจิตจ่อฟ้อง! สื่อปล่อยเฟกนิวส์..ไม่เคยบอกเชื่อมจิตแล้วจะไปนิพพานแผ่นดินไหวทำเศียรพระพุทธเจ้าหักเขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?สาวร้องสายไหมต้องรอด คลีนิกทำ "จิ๊มิไหม้" แล้วไม่รับผิดชอบลูกสาวนางเอกดัง รุ่นใหญ่ โตเป็นสาวแล้วการกระทำที่คุณไม่สมควรทำเมื่อมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นหนุ่มเร่ขาย "ลาบูบู้" กลางสี่แยก..ทำเอาหลายคนแห่ถามพิกัดสิ่งที่คนญี่ปุ่นเรียนรู้ เมื่อมาเมืองไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานเขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?การกระทำที่คุณไม่สมควรทำเมื่อมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นจากผลการวิจัยพบว่า "เอเลี่ยนไม่ได้ตัวสีเขียว"
ตั้งกระทู้ใหม่