หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ติดเชื้อในเลือดอาจถึงตายได้

Share แชร์โพสท์โดย bourbon

 

 

ติดเชื้อในเลือดอาจถึงตายได้

มาเรียน่า บริดี รูปจาก spiceday.com

เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินหรือได้อ่านข่าวของนส.มาเรียน่า บริดี นางแบบสาววัยยี่สิบปีชาวบราซิลที่เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต แม้ข่าวจากแหล่งต่าง ๆ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินโรคของเธอไม่มากนัก แต่สิ่งที่ทำให้ได้ยินแล้วต้องตกใจ คือ นางแบบสาวสวยคนนี้เริ่มตรวจพบว่าเป็นนิ่วเมื่อเดือนธันวาคมปีกลาย ต่อมาในเดือนมกราคมเธอก็มีการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ เป็นเชื้อดื้อยา ชื่อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) และอาการก็แย่ลงอย่างรวดเร็วทั้งช็อค (ความดันโลหิตต่ำ) ต้องถูกตัดเท้า ตัดมือ มีเลือดออกในช่องท้อง ไตวาย และเสียชีวิตภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

  

 

หลายคนที่ได้ยินข่าวคงจะสงสัยว่าเหตุใดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และติดเชื้อในกระแสโลหิต จึงทำให้ถึงกับต้องตัดมือตัดเท้า ซึ่งฟังดูแล้วน่ากลัวมาก

 

 

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเพราะลักษณะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่า ผู้หญิงจะปวดปัสสาวะบ่อยกว่าแต่ก็หาห้องน้ำได้ยากกว่าผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงต้องกลั้นปัสสาวะกันมาก นี่ยังไม่รวมเหตุผลอื่น ๆ ของการกลั้นปัสสาวะ เช่น การทำงานเป็นกะอย่างต่อเนื่องยาวนานจนไม่มีเวลาพักเข้าห้องน้ำ การเดินทางไกล ๆ ไม่สะดวกที่จะเข้าห้องน้ำ ความกลัวในเวลากลางคืนทำให้ไม่อยากลุกไปเข้าห้องน้ำ ฯลฯ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะนั้นส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (ที่พบในลำไส้ของเรานั้นเอง) มีทั้งการติดเชื้อส่วนล่าง เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งคุณผู้หญิงมักจะรู้จักกันดีว่าเป็นโรคที่ทำให้มีอาการ ขัดเบา คือ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ส่วนการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน เช่น กรวยไตอักเสบนั้นทำให้มีไข้ หนาวสั่น ปวดหลังตรงสีข้าง ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น นอกจากนี้ การมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

 

เมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (หรือการติดเชื้อที่ใดก็ตาม) ย่อมมีโอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจายเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของผู้ป่วย รวมทั้งปริมาณและความรุนแรงของเชื้อนั้นๆ เช่น ผู้ป่วยเด็กทารก ผู้ป่วยที่สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่กินยากดภูมิต้านทานของร่างกาย จะมีโอกาสติดเชื้อในกระแสโลหิตมากกว่าคนทั่วไป

 

มาเรียน่า บริดี อายุเพียงยี่สิบปี แต่โชคร้ายตรงที่ได้รับเชื้อดื้อยา (ส่วนใหญ่การติดเชื้อดื้อยาชนิดนี้พบในโรงพยาบาล) และเธออาจจะมีโรคบางอย่างที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยทำให้มีภูมิต้านทานต่ำกว่าปกติ หรืออาจจะมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแล้วทำให้เกิดกลุ่มก้อนตะกอนของเชื้อโรค (septic emboli) ลอยอยู่ในกระแสเลือด และไปอุดตันหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ปลายมือปลายเท้า ทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง (embolic or ischemic gangrene) จนต้องพิจารณาตัดอวัยวะนั้น

 

อ่านแล้วอย่าเพิ่งตระหนกตกใจกันจนเกินไป ทุกวันนี้ มีคนที่เจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากมาย ผู้หญิงส่วนใหญ่คงได้เคยมีอาการขัดเบากันมาบ้างอย่างน้อยก็สักหนึ่งครั้งในชีวิต แต่คนที่จะลงเอยอย่างมาเรียน่า บริดีมีน้อยมาก (เธอช่างโชคร้ายจริง ๆ) อย่างไรก็ตามเรื่องราวของเธอ ก็น่าจะเป็นสัญญาณเตือนให้เราหันมาสนใจดูแลตัวเองและคนใกล้ตัวใน 3 เรื่องสำคัญ ดังนี้ค่ะ

 

1.การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อต้านทานโรค

  • ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

  • รับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

  • ดูแลบ้านให้สะอาด จัดบ้านให้ถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นแหล่งเชื้อโรคและอันตราย

  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

  • มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด

  • ตรวจสุขภาพประจำปี

2.การดื่มน้ำมาก ๆ และสังเกตปัสสาวะของตนเอง

  • ดื่มน้ำสะอาด วันละ 6-8 แก้ว

  • อย่ากลั้นปัสสาวะ

  • สังเกตสีและลักษณะปัสสาวะ หากมีความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะสีเข้มจัด หรือแดงคล้ายเลือด หรือมีตะกอน / ก้อนกรวดเล็ก ๆ หรือปัสสาวะกะปริดกะปรอย หรือปัสสาวะแล้วเจ็บ ปวดท่อปัสสาวะ/ท้องน้อย ควรไปพบแพทย์

  • เมื่อไปพบแพทย์และต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ควรเก็บให้ถูกวิธี เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยปัสสาวะทิ้งไปนิดหนึ่งก่อนแล้วจึงปัสสาวะลงภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ

3.การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล

  • ล้างมือบ่อย ๆ ให้เป็นนิสัย โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ

  • เมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการลดการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด เช่น การเปลี่ยนชุดเพื่อเข้าเยี่ยมผู้ป่วย การล้างมือเมื่อเข้า-ออกจากห้องผู้ป่วย

 

พญ.สุรางค์ เมฆดี 
ศูนย์แพทย์โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 
สาขาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
พญ.ประกายทิพ สุศิลปรัตน์ 
กลุ่มภารกิจปฐมภูมิ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
bourbon's profile


โพสท์โดย: bourbon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สารก่อมะเร็ง 4 อย่าง ที่ลูกคุณอาจจะได้รับทุกวันรพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!ราศีที่มีเกณฑ์ที่จะถูกหวย 1 เมษายน 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง
ตั้งกระทู้ใหม่