ตะรุเตา เมื่อท้องฟ้า ท้องทะเลเบิกบาน
www.tourtooktee.com/
หลีเป๊ะ - ราวี - เกาะไข่ - หินงาม - ตะรุเตา - เมื่อท้องฟ้า ท้องทะเลเบิกบาน
เกาะลอกอย - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - สตูล เข้าฤดูทะเลสวยงาม ภาพอันอบอุ่นของ ทะเลก็ลอยมาจัดนิทรรศการ ในใจ...เรียกร้องให้น้ำย่อยแห่งการเดินทางหลั่งออกมากระตุ้นให้หัวใจโบยบิน ไป สูดกลิ่นทะเลให้ชุ่มปอด...วันนี้ พาเพื่อน เที่ยว - หลีเป๊ะ - ราวี - เกาะไข่ - ตะรุเตา - เกาะลอกอย - เกาะหิน งาม นำความสุขมามอบแด่เพื่อนๆกันนะครับ...
คลองพันเตมะละกา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เป็น อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงามของ ธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบา รา 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดน ระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ ได้แก่ เกาะ ตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่ง ออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือ หมู่เกาะ ตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้ รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)
ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน คลองพันเต มะละกา - เป็นคลองที่มีขนาดใหญ่และมีความยาวมาก สามารถแล่นเรือเข้าไปเที่ยวชมได้เป็นระยะทางหลาย กิโลเมตรสภาพสองข้างทางเป็นป่าโกงกางสลับกับโขดหินผาน้ำในลำคลองเป็นน้ำ กร่อย ในอดีตคลองพันเต มะละกาได้ชื่อว่ามีจระเข้อาศัยชุกชุมมาก สิ่งที่น่าสนใจบริเวณ คลองมะละกานอก จากสภาพภูมิประเทศที่สวย งามแล้ว บริเวณต้นน้ำมีถ้ำดั้นถึง 3 แห่ง เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลลอดออกมาจากภายในสู่ลำคลองถ้ำที่มีชื่อเสียง มากได้แก่ ถ้ำจระเข้ ซึ่งเป็นถ้ำที่ลึกลับวิจิตรสวยงามด้วยหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตา อันเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินภายในถ้ำ ยังมีผู้นำทางให้ความสะดวก การเดินทางสามารถเดินทางได้ โดยติดต่อเรือหางยาวบริเวณหน้าที่ทำการอุทยานฯ หรือนั่งเรือไปตามลำคลองพันเตมะละกา ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดเรือไว้บริการพาชมถ้ำในที่ต่าง ๆ
เกาะไข่ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล หาดทรายขาวละเอียดที่ เกาะไข่ เกาะเล็กๆระหว่างเส้นทาง ตะรุเตา - หลีเป๊ะ และ แทบทุกเกาะในน่านทะเลสตูล
เกาะไข่ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ซุ้มประตูหินธรรมชาติ เกาะไข่ - ที่ ใครต่อใครมาก็ต้องมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก สัญลักษณ์ของที่นี่เลยเชียวครับบ
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล มองเกาะหลีเป๊ะจากมุมสูง - ผาชะโด - เกาะอาดัง ชื่อของเกาะหลีเป๊ะ เป็นภาษาชาวเล มีความหมายว่าแผ่นกระดาษ หรือแบนเรียบ ตามลักษณะ เกาะที่แบนๆไม่มีภูเขาสูงเลย ตัวเกาะมีลักษณะคล้ายกับรูปบูมเมอแรง มีทางเดินเชื่อมจากหน้าเกาะไปยังหลัง เกาะได้ ระยะทางไม่ไกลและสามารถเดินเที่ยวหาดต่างๆรอบเกาะได้
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล บรรยากาศสบายๆบนเกาะหลีเป๊ะ ด้านอ่าวพัทยา
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล พระอาทิตย์ดวงงามกำลังลับเหลี่ยม เขา ความงามเช่นนี้มีได้ที่ หลีเป๊ะครับ
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ชายหาดอีกด้านหนึ่งของ เกาะหลีเป๊ะ ด้านนี้สงบเงียบกว่าด้านหาดพัทยา เกาะฝั่งตรงข้ามคือ เกาะอาดัง ด้านนี้เป็นหาดทรายตรงหัวแหลม หน้า อันดามันรีสอร์ท และ เมาเท่นท์รีสอร์ท
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล อีกภาพความสวยงามของ หลีเป๊ะ - ฉากหลังก็คือ เกาะอาดัง อันยิ่งใหญ่
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล แป้นบาสตั้งอยู่เหงาๆ ณ โรงเรียน บ้านเกาะอาดัง แต่ตั้งอยู่บน เกาะหลีเป๊ะ โรงเรียนนี้มีนักเรียนอยู่ไม่ถึง 100 คนครับ แทบทั้งหมดเป็นชาวเล - อูรักลาโวย
หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล น้องชาวเลน่ารัก เล่นอยู่บนหาดทราย หน้าบ้านเขาคือหาดทรายแห่งนี้แหละครับ ชาวเล” เป็นคำในภาษาปักษ์ใต้ที่ย่นย่อมาจากคำว่า “ชาวทะเล” โดยรวมมีอยู่สองความหมาย อาจหมายถึงคนที่อาศัยอยู่ริมทะเล ประกอบอาชีพประมง หรือหากินอยู่กับทะเล กับอีกความหมายหนึ่ง เป็นคำใช้เรียกขานกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน ซึ่งอาศัยอยู่ตาม ชายฝั่ง หรือเดินทางเร่ร่อนตามเกาะแก่งของาของทะเลอันดามัน ทางตอนใต้ของประเทศไทย ประกอบด้วย สามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมอแกน กลุ่มมอแกลน และกลุ่มอูรักลาโว้ย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา เส้นทางอพยพ และความสัมพันธ์ระหว่างสามกลุ่มทั้งในอดีต และปัจจุบันยังมีอยู่น้อยมาก
ปัจจุบันกลุ่มมอแกน (Moken) หรือสิงทะเล มีถิ่นฐานอยู่ที่เกาะพระทองและหมู่เกาะสุรินทร์ อ.คุระบุรี จ.พังงา นอกจากนี้ยัง พบมอแกนที่เกาะสินไห่และเกาะเหลา จ.ระนอง ในหมู่บ้านของพวกอูรักลาโว้ยที่หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต และเกาะ พีพี จ.กระบี่ กลุ่มมอแกลน (Moklen) หรือพวกสิงบก มีถิ่นฐานอยู่ที่เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา รวม ทั้งตามชายฝั่งทะเล จ.พังงา ตั้งแต่บ้านทุ่งน้ำดำ อ.ตะกั่วป่า, บ้านลำปี อ.ท้ายเหมือง และที่ จ.ภูเก็ต ใน บริเวณแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ส่วนกลุ่มอูรักลาโว้ย (Urak lawoi) เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มีถิ่นฐานบนเกาะ สิเหร่ และที่หาดราไวย์ บ้านสะปำ จ.ภูเก็ต จนถึงทางใต้ของเกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่, เกาะอา ดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จ.สตูล และบางส่วนอยู่ที่เกาะลิบง จ.ตรัง ชาวเลทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกัน หลายด้าน อาทิด้านภาษา แม้จัดอยู่ในตระกูลออสโตรนีเชียนเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มอูรักลาโว้ยมีภาษาที่แตก ต่างกับกลุ่มอื่นมาก
ขณะที่ภาษาของมอแกนและมอแกลนมีส่วนคล้ายคลึงกัน สามารถสื่อสารข้ามกลุ่มได้ พิธีกรรมสำคัญของทั้งสามกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน มอแกนเน้นที่การฉลองวิญญาณบรรพบุรุษ มีสัญลักษณ์ เป็นเสาแกะสลักเรียกว่า “เสาหล่อโบง” มอแกลนเน้นการฉลองวิญญาณบรรพบุรุษ โดยมีสัญลักษณ์เป็นศาล ขนาดย่อม ที่ทางใต้เรียกว่า “หลาทวด” ส่วนอูรักลาโว้ยเน้นการลอยเรือ “ปลาจั๊ก” เพื่อ กำจัดเคราะห์ร้ายออก ไปจากชุมชน ในปัจจุบัน ชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยและมอแกลนตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร หันมาประกอบอาชีพ ประมงชายฝั่ง รับจ้างทำสวน และอาชีพอื่น ๆ ซึมซับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และเรียกขานตัวเองว่า “ไทย ใหม่” ส่วนกลุ่มมอแกนค่อนข้างรักษาเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ไว้ได้มากกว่ากลุ่มอื่น แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลง เพราะรับอิทธิพลจากโลกภายนอกเช่นกัน
(เรียบ เรียงจาก “ความรู้และมายาคติเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลมอแกน” รายงานนำเสนอในการเสวนาระดมความคิดเรื่อง “ความรู้และมายาคติเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์” โครงการ เวทีวิชาการวัฒนธรรม จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 25 มกราคม 2545 โดย นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล น้องๆ อูรักลาโวย เล่น สนุกสนานบนหาดทราย
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ตกซะแล้ว... - อูรักลาโวย - งดงามครับ งดงาม
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ภาพงดงามในดวงตา
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ช่วยกันทำงาน
อูรักลาโวย - หลีเป๊ะ - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล สนุกสนาน
เกาะหินงาม - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล หินควอทซ์กลมมนสีดำสวยงาม ณ เกาะหินงาม
เกาะหินงาม - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล หินงาม
เกาะลอกอย - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล มักจะมาพักเหนื่อยจากการดำ น้ำดูปะการัง ณ เกาะลอกอยแห่งนี้ เกาะเล็กๆ หาดทรายขาวสะอาดน้ำทะเลก็สวยใสเหลือเกิน
เกาะลอกอย - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ใสสงบเหลือเกินครับ
เกาะราวี - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล มุมสวยงาม ณ เกาะราวี เพลิด เพลินกับการดำน้ำที่หน้าแนวหาดทราย ใกล้ เกาะราวี
เกาะราวี - อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา - อันดามันใต้ - สตูล ชิงช้า ทะเล