สกุลยศ ในสุภาพบุรุษจุฑาเทพ
สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
· 1.เจ้าฟ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
· เจ้าฟ้าชั้นเอก ต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นพระอัครมเหสี (บรมราชินีนาถ, บรมราชินี, บรมราชเทวี, พระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศโดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง,พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใดๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้ว) เรียกลำลองว่า "ทูลกระหม่อม" บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่
· เจ้าฟ้าชั้นโท มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมา (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระวรวงศ์เธอ, หม่อมเจ้า) แรกประสูติของพระราชบุตรธิดา ยังไม่ได้รับ "สมเด็จ" เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นหรือน้อยกว่านั้น จะได้รับสมเด็จ หรือเรียกลำลองว่า "สมเด็จ" อาทิ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชบุตรธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระราชอิสริยยศสกุลยศ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน แต่ตำแหน่งพระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นเท่านั้น และรัชกาลแผ่นดินที่ 7 สถาปนาพระองค์เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา พระภคินี พระอนุชาและพระขนิฐา ร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงค์สกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงตามลำดับมาก่อน
· เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง "พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ " โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้มีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่1 เท่านั้น (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย) เรียกลำลองว่า "เจ้าฟ้าหรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า"
หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้า ในเบื้องต้นเจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์
· 2.พระองค์เจ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
· พระองค์เจ้าชั้นเอก เป็นพระราชบุตรหรือพระราชธิดาอันเกิดด้วยพระสนม(เจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า "พระเยาวราช" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ "พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระบรมวงศ์เธอ ไม่มีคำว่า "สมเด็จ" นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทานอิสริยยศเพิ่มเป็น สมเด็จกรมพระยา" เรียกลำลองว่า"เสด็จ" และ "สมเด็จกรมพระยาฯ"อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย), สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สมเด็จในกรมฯ) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดา สกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล) และในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา)อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้หาก พระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น(ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์
· พระองค์เจ้าชั้นโท เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าและพระมารดาเป็นเจ้า (ที่มีศักดิ์พระอัครชายาของเจ้าฟ้าเสมอเป็นเจ้าเป็นพิเศษอาทิ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฯ พระวรชายาฯ) หรือเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของพระมหาอุปราชใช้คำนำสกุลยศ"พระเจ้าวรวงศ์เธอ,พระเจ้าหลานเธอ"หรือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเป็นพิเศษ เรียกลำลองว่า "พระองค์" อาทิ พระองค์ภา,พระองค์สิริวัณฯ,พระองค์หริภาฯ เป็นต้น ยกเว้นในกรณีที่ดำรงค์พระยศเป็นพระองค์เจ้าชั้นพิเศษที่มีศักดิ์ด้วยเป็นอัครชายาในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาอุปราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เรียกลำลองเพิ่ม เป็น เสด็จพระองค์หญิง เป็นกาลพิเศษ
· พระองค์เจ้าชั้นตรี เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบิดาและพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าด้วยกัน หรือพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก แต่พระมารดามิได้เป็นเจ้า (หม่อม) ใช้คำนำสกุลยศ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ซึ่งแตกต่างจากชั้นโทที่ใช้อิสริยยศ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" แต่เรียกลำลองว่า พระองค์เหมือนกัน แต่หากเป็นพระองค์เจ้าตั้ง (กลุ่มเจ้านายที่ถือสกุลยศเดิมชั้นหม่อมเจ้ามาก่อน) เรียกลำลองว่า ท่านพระองค์" (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์) อนึ่งกล่าวเพิ่มเติม พระองค์เจ้าในชั้นนี้มีอย่างทางการและบรรทัดฐานในสกุลยศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 7) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตรากฎหมายในเรื่องการสืบสันดรว่าด้วย พระโอรสธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นลูกหลวง ประสูติแด่หม่อมห้าม (หญิงสามัญชน) โดยหม่อมเป็นที่ยอมรับ เนื่องด้วยสมัยรัชกาลก่อนๆ หากพระมารดาเป็นเพียงสามัญชน (หม่อม) พระโอรสธิดาจะดำรงสกุลยศเพียงหม่อมเจ้าเท่านั้น และการตรากฎหมายขึ้นนี้ยังผลให้เจ้านายในชั้น หม่อมเจ้าสมัยนั้นทรงได้รับการสถาปนาและถือประสูติเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทุกพระองค์ ดังในราชสกุล มหิดล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลฯ (ร.8) ทรงได้รับสถาปนาจากสกุลยศ หม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯ (ร.9) ทรงได้รับกฎหมายนี้โดยประสูติทันที เพิ่มเติมจากรัชกาลที่ 6 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (สกุลยศเดิม หม่อมเจ้า) พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ เจ้าฟ้าชั้นเอกโอรสในรัชกาลที่ 5 ประสูติแด่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ แต่ด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ทรงเสกสมรสกับหม่อมคัทริน (หญิงสามัญชนชาวรัสเซีย) ทำให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อแรกประสูติ ได้รับสกุลยศ หม่อมเจ้า (เพราะยังไม่ได้ตรากฎหมายในสมัยนั้น) และในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาขึ้นให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) เป็นพระองค์เจ้า และให้เป็นชั้นโทเป็นกาลพิเศษ แต่พระองค์ก็มีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะทรงมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์หญิงนริศรา จักรพงษ์ ซึ่งเป็นมารดาของคุณจุลจักร จักรพงษ์ ณ อยุธยา (ฮิวโก้)
· 3.หม่อมเจ้า เป็นพระโอรสและพระธิดาของเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าโดยสกุลยศ (เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของพระมหาอุปราช แต่มารดามิได้เป็นเจ้า (หม่อม) จะเป็นเพียงแค่หม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าอาทิตย์ ในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เรียกว่า "ท่าน" (นับได้ว่าเป็นพระยศชั้นพระบรมวงศ์ชั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์) อาทิ ท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นต้น อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดรสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดาเพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าที่มีพระบิดาดำรงสกุลยศเจ้าฟ้า ก็จะได้สกุลยศเป็นพระองค์เจ้า ชั้นตรีในแรกประสูติ หรือสถาปนา
· มจ.วรรณรสา(ท่านหญิงรสา) และ มรว.ปวรรุจ (คุณชายรุจ)
4.หม่อมราชวงศ์ เป็นโอรสและธิดาของพระองค์เจ้า และโอรสธิดาของหม่อมเจ้า เรียกว่า "คุณชาย , คุณหญิง"
· 5.หม่อมหลวง เป็นบุตรและธิดาของหม่อมราชวงศ์ เรียกว่า "คุณ"
สกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ
ที่มา