ปลาตกเบ็ด (Anglerfish) คันเบ็ดที่หัวเรืองแสงได้อย่างไร ต้องอ่าน
สวัสดีครับเพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับว่า ทำปลาทะเลน้ำลึกที่รู้จักกันในชื่อปลาตกเบ็ด ที่มีร่างกายยื่นออกมาเหมือนคันเบ็ด หน้ำซ้ำยังเรืองแสงได้อีก ใช้เป็นการส่องสว่าง หรือล่อเหยื่อ หรือทั้งสองอย่าง แสงที่สว่างอยู่นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาติดตามหาคำตอบกันครับ
แน่นอนว่า คงไม่มีชีวิตใดที่มืดมิดไปกว่าชีวิตของปลาตกเบ็ดอีกแล้ว ในท้องทะเลลึกลงไป 3.2 กิโลเมตรสู่ความมืดมิดอย่างไร้ที่สิ้นสุด พวกมันเป็นก้อนเนื้อมืดมัวไร้ความเคลื่อนไหวซึ่งประกอบขึ้นจากกระดูกพรุนๆ กล้ามเนื้อเหี่ยวๆ และผิวหนังสีดำที่บางเหมือนกระดาษพวกมันมีแค่แบคทีเรียเรืองแสงเป็นเพื่อน มีชีวิตผ่านไปวันๆ โดยไม่ต้องทำอะไรนอกจากรอคอย บ่อยครั้งที่ต้องรอนานเป็นเดือนๆ คอยเปิดปิดไฟในตัวด้วยความหวังว่า แสงไฟจะดึงดูดสิ่งมีชีวิตสักตัวที่อยู่นอกเขตอันมืดมิดให้พลัดหลงเข้ามอยู่ในรัศมีของปากขนาดมหึมาได้นานพอ
anglerfish เป็นคำที่ใช้เรียกสัตว์ประมาณ 300 ชนิดในทะเล ไม่ว่าจะเป็นคางคกทะเล (sea toad) ปลากบ ปลาค้างคาว หรือปลายักษ์ (monkfish) ทุกชนิดล้วนแล้วแต่ดึงดูดเหยื่อด้วยอวัยวะที่มีความยืดหยุ่นซึ่งยื่นออกไปจากร่างกายคล้ายกับเบ็ดตกปลา โดยปรกติ อวัยวะนี้จะงอกออกมาจากกลางหัวของพวกมัน แต่แทนที่จะเป็นหนอนห้อยอยู่ที่ปลายเบ็ด ส่วนปลายของอวัยวะนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า เอสคา (ในภาษาละตินหมายถึงอาหาร)
เอสคาเรื่องแสงได้อย่างไร เอสคาสามารถแกว่งไกวไปมาได้เหมือนเหยื่อที่มีชีวิต เอสคาของปลาตกเบ็ดในทะเลลึกสามารถเรืองแสงได้ ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับกระบวนการทางเคมีที่ควบคุมโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนเอสคา ปลาตกเบ็ดจะคอยส่งอาหารให้พวกแบคทีเรียเพื่อแลกเปลี่ยนกับแสงดังกล่าว รูปทรงของเอสคาในปลาตกเบ็ดแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่า เอสคาแต่ละแบบมีไว้เพื่อดึงดูดเหยื่อประเภทต่างๆ แต่ในตอนนี้เชื่อกันว่า ทุกชนิดกินอาหารแบบเดียวกัน บางทีการมีสายเบ็ดขนาดใหญ่ที่สามารถส่องแสงและโค้งงอได้งอกออกมาจากหัวอาจเป็นการแสดงออกทางเพศอีกรูปแบบหนึ่งก็เป็นได้
จะเห็นว่าปากกว้างมาก
ปลาตกเบ็ดในทะเลลึกเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่น่าเกลียดและแปลกประหลาดที่สุดบนโลกนี้ พวกมันมีกระเพาะอาหารที่ยืดหยุ่นซึ่งช่วยให้สามารถกลืนกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่มากกว่าตัวเอง 2 เท่า (พวกมันยังมีแม้กระทั่งเยื่อกรองแสงในกรณีที่กลืนกินปลาเรืองแสงเข้าไป) นอกจากนี้ ปลาตกเบ็ดมีฟันหน้าที่แทงกลับหลังเข้าไปภายในปากและยังมีฟันอีกชุดหนึ่งอยู่ในลำคอ เพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อหลบหนี
ปลาตกเบ็ดพันธุ์อลูมิเนเทด เน็ตเดวิล (Illuminated netdevil ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Linophryne arborifer) เพศเมียมีรูปลักษณ์เหมือนกับหัวผักที่ส่องแสงได้ ลำตัวของมันจะเป็นกระเปาะกลมสีดำและมีสายล่อเหยื่อสองเส้นคอยส่องประกายออกมาคล้ายกับลวดลายที่ชวนให้มึนงง ส่วนครีบที่เหมือนหนามขนาดใหญ่ของพันธุ์แฮรี่ ซีเดวิล (Hairy seadevil ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Caulophryne polynemaX ก็มีรูปลักษณ์เหมือนของที่เน่าเปื่อย ร่างกายของมันปกคลุมด้วยขนอันซีดเซียวไม่น่าพิสมัย ส่วนสายล่อเหยื่อก็ดูคล้ายกับก้านของต้นชะเอมที่แตกออกเป็นฝอย มันเป็นเส้นประสาทข้างลำตัวที่มีสัมผัสไวที่สุดในบรรดาปลาด้วยกัน การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยสามารถกระตุ้นให้ขากรรไกรของมันเปิดและปิดได้ปลาตกเบ็ดพันธุ์เอลส์แมนส์ วิปโนส (Elsman’s whipnose ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Gigantactis elsmani) จะพลิกตัวว่ายน้ำตามสายเบ็ดของมันไปตามพื้นทะเล ส่วนพันธุ์วูลฟ์แทรป ซีเดวิส (Wolftrap seadevil ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Lasiognathus saccostoma) มีตะขอส่องแสงสามชุดที่ตอนปลายของสายล่อเหยื่อซึ่งพุ่งตรงไปข้างหน้าคล้ายกับคันเบ็ดของชาวประมง และพันธุ์พรินซ์ แอกเซล วอนเดอฟิช (Prince Axel’s wonderfish ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Thaumatichthys axeli) จะมีสายล่อเหยื่อออกมาจากเพดานปลาเหมือนต่อมทอมซิลเรืองแสงหนึ่งคู่
ภาพปลาตกเบ็ด (Anglerfish) สายพันธุ์ต่างๆ
ปลาตกเบ็ดเพศผู้ในทะเลลึกมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียและไม่มีสายล่อเหยื่อ สิ่งที่พวกมันสนใจมีเพียงแค่การหาคู่ ไม่ใช่การล่าเหยื่อ พวกมันจะใช้ตาคู่โตมองหาที่เหมาะสมและใช้รูจมูกขนาดใหญ่ตามกลิ่นฟีโรโมนของตัวเมีย เมื่อเจอตัวเมียแล้ว พวกมันจะใช้ฟันกัดตัวเมียก่อนเกาะติดอย่างแนบแน่นแล้วจึงเริ่มสลายหายไปทีละน้อย ทั้งร่าง กระดู และหลอดเลือดทุกอย่างในตัวมันจะผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมีย หลังจากผ่านไปสองสามสัปดาห์ ส่วนที่เหลืออยู่ของตัวผู้ก็คือถุงอัณฑะของพวกมันที่คอยส่งน้ำเชื้อให้ ถุงนี้จะแขวนไว้ข้างลำตัวของตัวเมีย มีการพบปลาตกเบ็ดตัวเมียหลายตัวมีถุงอัณฑะแขวนอยู่ข้างลำตัวถึง 8 ใบ
เปรียบเทียบขนาดตัวผู้ที่เล็กกว่าตัวเมียมาก
ภาพขยายตัวผู้ที่เกาตัวเมียไปจนตาย
สำหรับปลาตกเบ็ดบางชนิด ถ้าตัวผู้หาตัวเมียไม่เจอ พวกมันจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นตัวเมียแทน และเริ่มขยายขนาดร่างกายให้ใหญ่โตมหึมา ดังนั้น พฤติกรรมที่ปลาตกเบ็ดแสดงให้เห็นเช่นนี้ จึงสรุปได้ว่า สิ่งเดียวที่แย่ยิ่งกว่าการเป็นปลาตกเบ็ดก็คือ การเกิดมาเป็นปลาตกเบ็ดตัวผู้นั่นเอง
นับว่าเป็นมหัศจรรย์แห่งปลาจริงๆ ครับ เป็นยังไงครับได้อ่านกันไปแล้ว คงได้รับความรู้เรื่องของการเรืองแสงที่คันเบ็ดที่ยื่นออกมาจากบริเวณหัวของปลา เป็นการพึ่งพิงของธรรมชาติที่น่ารักดีนะครับ คิดๆ ไปก็อดสงสารเจ้าปลาตกเบ็ดนี้ไม่ได้ ชีวิตที่ต้องอยู่กับความมืด หนำซ้ำตัวผู้ยังใช้ประโยชน์ไม่ได้อีก แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ขอบคุณภาพจาก
http://inglestic.wikispaces.com/Anglerfish
http://shanahan1.pbworks.com/w/page/16014003/deep%20sea%20angler%20fish
http://www.freerepublic.com/focus/f-news/2500359/posts
http://www.cgarena.com/gallery/3d/details/scenes/anglerfishaym102010.html
http://animals.nationalgeographic.com/animals/fish/anglerfish/
http://news.mongabay.com/2006/0130-uw.html
http://maryanningsrevenge.blogspot.com/2013/02/14-days-of-genitals-day-7-no-scrubs.html
ขอบคุณแหล่งข้อมูล