ทุ่งน้ำแข็ง นักบวชขาว (Penitentes) เกิดขึ้นได้อย่างไร
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้จะพามารู้จักกับทุ่งน้ำแข็งหน้าตาแปลก อาจไม่สวยอะไรมากมาย แต่ก็ซ่อนไปด้วยเรื่องราวและความรุ้จึงเก็บมาฝากกัน ลองอ่านดูนะครับ
Penitentes ซี่งส่วนใหญ่เรียกว่า ทุ่งน้ำแข็งนักบวชขาว ที่มาก็คงมาจากลักษณะรูปทรงที่คล้ายหมวกที่นักบวชชาวยุโรปสวมใส่ในสมัยก่อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากรูปแบบการก่อตัวของหิมะ ที่พบได้ในบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ อย่างเทือกเขาแอนดิส ที่ระดับความสูง 4000 เมตร หรือ 13,120 ฟุต โดยมีรูปแบบเป็นแท่งสามเหลี่ยม เรียวยาวสูง จะเหมือนใบมีด มีขนาดที่แตกต่างกันไปวางอยู่ใกล้ๆ กัน ขนาดความสูงประมาณ 1.5 – 2 เมตร หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง ส่วนแบนด้านหนึ่งหันหน้าทำมุมเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้น และสันอีกด้านทำมุมเดียวกับพระอาทิตย์ตก เนื่องจากการทำละลายจากความร้อนของดวงอาทิตย์ ซึ่งในแหล่งข้อมุลนี้ไม่ได้เขียนไว้ละเอียด อันนี้ผมก็พยายามซูมภาพเพื่อดูเงาน่ะครับ
Penitentes มีการอธิบายอยู่ในบันทึกของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ในปี 1839 โดยในวันที่ 22 มีนาคม 1835 ในระหว่างการเดินทางเขาได้พบกับทุ่งน้ำแข็งที่มีรูปร่างแปลกประหลาด และเขาได้อธิบายกับปรากฏการณ์นี้ไว้ว่ามันเกิดจากกระแสลมแรงที่พัดในเทือกเขาแอลดีส ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้เหมือนกันนะครับ แต่...
ต่อมา Louis Lliboutry ได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ เขาพบว่าหลักการสำคัญที่จะทำให้เกิด Penitentes ได้นั่นคือการระเหย ที่น้ำเกิดการกลั่นตัว ภายใต้จุดเยือกแข็ง จึงทำให้น้ำมีความบริสุทธิ์มาก และน้ำที่บริสุทธิ์มากก็ต้องการพลังงานที่สูงกว่าในการละลายตัว ทำให้เกิดบริเวณที่น้ำแข็งไม่บริสุทธิ์ เกิดการระเหยตัวเป็นแอ่งน้ำ เล็กๆ กระจายตัวไปทั่วพื้นน้ำแข็ง และละลายลึกลงเรื่อยๆ จนเกิดเป็น Penitentes
ทำไมจึงจึงเรียกว่า ทุ่งน้ำแข็งนักบวชขาว ที่มาก็คงมาจากลักษณะรูปทรงที่คล้ายหมวกที่นักบวช พวกนี้สวมใส่อยู่ ซี่งภาพนี้ก็ดูเหมือนมากเลยครับ
จากภาพที่เพื่อนๆ เห็นเป็นใบมีดน้ำแข็งตั้งสูงอยู่ ส่วนนั้นคือน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากๆ ส่วนน้ำที่มีความบริสุทธิ์น้อยกว่าก็ละลายยุบตัวลง เป็นธรรมชาติที่สวยและแปลกตาดีนะครับ และจากเรื่องราววันนี้ถ้าจับใจความได้เราก็จะได้ความรู้เรื่องการละเหยของน้ำว่า ยิ่งถ้าน้ำมีความบริสุทธิ์มากเท่าใด ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานในการทำละลายสูงกว่าน้ำที่มีความบริสุทธิ์น้อยกว่า หวังว่าเพื่อนๆ และน้องๆ คงได้ประโยชน์บ้าง แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
แปลและเรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ขอบคุณภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Penitentes
http://humanunderconstruction.blogspot.com/2012/04/penitentes.html
ขอบคุณแหล่งที่มา