พระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
พระบาทสมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๑๐) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓๓ และรัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี
เพื่้อไม่ให้สับสนกับผู้อ่านดังนั้นจึงขอเรียนให้ทราบว่าท่านมีหลายพระนามดังนี้
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
- พระเจ้าเอกทัศ (ชื่อที่นิยมเรียกโดยทั่วไป)
- สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต (พระนามเมื่อขึ้นครองราชย์)
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร
- ขุนหลวงขี้เรื้อน (ชื่อติดปาก; เนื่องจากเป็นที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นโรคเรื้อน)
- กรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระนามก่อนครองราชย์
- พระที่นั่งสุริยามรินทร์ เมื่อพระเจ้าอุทุมพรกำลังครองราชย์
- พระบรมราชาที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์
การเสด็จขึ้นครองราชย์
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หนึ่งปีก่อนหน้าการเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทุมพร ผู้เป็นอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ทูลว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา ยังคงอยู่ขอพระราชทานให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลน่าจะสมควรกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงตรัสว่า กรมขุนอนุรักษ์มน...ั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาแลความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานุศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่งนั้น บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย และมีพระราชดำรัสสั่งให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรีออกผนวชเสียเพื่อไม่ให้กีดขวางเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี แสดงพระองค์ว่าต้องการขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ยอมสละราชสมบัติถวายพระเชษฐาและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๑ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต แต่คนส่วนใหญ่มักขานพระนามว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร และพระเจ้าเอกทัศน์ (แปลว่า " ตาเดียว " เพราะเชื่อว่าพระองค์พระเนตรเสียไปข้างหนึ่ง และจึงมีอีกฉายานึงว่า " ขุนหลวงขี้เรื้อน " คู่กับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร คือ " ขุนหลวงหาวัด ")
การรบกับพม่า
ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวช ออกมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง
http://mhmd.rtarf.mi.th/building_pano_drawing_05.htm
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพ ๒๕,๐๐๐ นาย ยกเข้าตีเมืองไทย ๒ ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นของไทยแตกทั้งสองเมือง หุยตองจา เจ้าเมืองหนีไปอยู่ที่เมืองชุมพร พม่าก็ยกทัพตามมาตีเมืองชุมพรแตกแล้วเผาเมืองเสีย และ ทางทิศเหนือเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เมืองกำแพงเพชรจนแตก แล้วตั้งค่ายมั่นต่อเรือสะสมสะเบียงอาหารอยู่ ที่ตั้งค่ายอยู่เหนือตีเมืองกาญจนบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าตี เมืองราชบุรี เพชรบุรีแตกทั้ง ๒ เมือง เอกทัศน์ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงโปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ ให้กองทัพบกไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ตำบลตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ ค่ายบางกุ้ง และให้พระยารัตนาธิเบศยกทัพเมืองนครราชสีมามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่ง แล้วในขณะนั้นพม่าก็ยกทัพยกไปตีเมืองธนบุรี พระยารัตนาธิเบศก็ยกทัพหนี พม่าก็ยกไปตีค่ายเมืองนนทบุรีแตกอีก มาตีบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนาบกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง ปีกับสองเดือน ก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน นับเป็นการเสียกรุงครั้งที่ ๒
การเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส ต้องอดอาหารกว่า ๑๐ วัน และเสด็จสวรรคต เมื่อพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิสามต้น พม่าได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร แต่ทางพงศาวดารพม่าบอกว่า สับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานพระเจ้าตากให้ขุดพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศ เชิญลงพระโกศ เที่ยวหาพระสงฆ์ซึ่งยังมีเหลืออยู่ มารับทักษิณานุปทาน และสดับปกรณ์ตามประเพณี แล้วจึงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพ
และนี่คือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้อีกหนึ่งหน้า ให้เราได้เรียนรุ้ อย่าลืมว่าบรรพบุรุษผู้กล้าทั้งหลาย ไม่ได้มีประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด ณ เวลานั้น เชื่อว่าท่านคิดดีที่สุดแล้ว สำหรับผมเชื่อเช่นนั้น...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์
ขอบคุณภาพจาก http://mhmd.rtarf.mi.th/building_pano_drawing_05.htm, http://heritage.mod.go.th/king/taksin/taksin.htm
ขอบคณข้อมูล