"มิดะ"....มีจริงหรือไม่?
มีคนหลายคนเคยได้ยินคำว่า "มิดะ" และรู้จักผ่านบทเพลง มิดะของคุณจรัล มโนเพ็ชร แล้วความเป็นจริงล่ะ มิดะจะมีตัวตนจริงๆหรือเปล่า?
สุนทรี เวชานนท์ ได้แสดงความคิดเห็นที่ผู้มีซักถามผ่านเว็บไซต์ ไว้ว่า....เรื่อง มิดะ ถกเถียงกันมานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งคุณจรัลยังมีชีวิตอยู่ จวบจนบัดนี้ได้ตามลิงค์ เข้าไปอ่านแล้ว ด้วยความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง ผู้รู้ของชนเผ่า ได้เล่าความเป็นมาและอธิบายด้วยความอ่อนโยน ทำให้เราได้เรียนรู้อีกซอกหลืบหนึ่งในวิถีชีวิตของคนชนเผ่า ที่พวกเราคนเมืองได้สัมผัสอย่างคุ้นเคย แต่บางอย่างก็ไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ความเป็นมาของบทเพลงมิดะ คนที่จะให้ความกระจ่างได้ถึงที่มาที่ไป และรวมทั้งแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงคือ คุณจรัล ขอย้ำว่าเป็นเพียงคุณจรัลแต่เพียงผู้เดียวเจ้า เพราะคุณจรัลคือผู้หาวัตถุดิบ และคือผู้ถ่ายทอดบทเพลง หากเป็นบทเพลงอื่นๆที่พี่สุนทรีเกี่ยวข้องด้วย เราจะนั่งคุยกันถึงที่มาที่ไป และความหมายของเพลง เพื่อที่นักร้องจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ อีกนัยหนึ่ง ก็เพื่อที่จะสื่อสารกับคนฟังถึงความหมายของบทเพลง ความเป็นมาของคำว่า "มิดะ" พี่สุนทรีอับจนด้วยปัญญา เพราะไม่เคยศึกษาชีวิตของชนเผ่าอาข่า แต่ชีวิตจริงๆจะคลุกคลีกับเผ่าปกาเกอญอมากๆ เพราะเราต้องทำงานร่วมกัน สิ่งไหนไม่รู้พี่สุนทรีจะถามเขา แต่ก็ในสัดส่วนที่ค่อนข้างจำกัดอยู่เหมือนกันเจ้า แล้วเราจะช่วยทำให้ผู้คนในสังคมได้เข้าใจคำว่า "มิดะ" อย่างกระจ่างชัดได้อย่างไร คงต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำนะเจ้า
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ค้นหาต้นตอการปรากฎของคำว่ามิดะ ได้ข้อมูลมาว่า....เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 ในหนังสือ 30 ชาติในเชียงราย ผู้เขียนชื่อบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ และหลังจากนั้นปี พ.ศ. 2496 ได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ ชาวเขาในประเทศไทย การเขียนหนังสือมีการใช้คำว่า เข้าใจว่า อาจจะ น่าจะเป็น หรือการกล่าวอ้างถึงรัฐฉาน ซึ่งหมายถึงพี่น้องไทยใหญ่ในปัจจุบันว่ามีการเรียกเช่นนี้ ต่อมามีหนังสือมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้น แต่ก็มีสังเกตุดังนี้
1 ทำไมนักเขียนร่วมสมัยเดียวกับคุณบุญช่วย จึงไม่กล่าวถึงเรื่องมิดะ ทั้งที่เป็นนักเผยแผ่ศาสนาและนักเขียน และนักศึกษาแต่คุณบุญช่วยเจอเรื่องนี้เพียงคนเดียว
2 มีนักมานุษยวิทยา หลายท่านที่เข้ามาทำงานสมัยเดียวกับคุณบุญช่วย แต่ไม่ได้กล่าวถึงคนอ่าข่าในมิดะทำนองเดียวกับคุณบุญช่วย นักมานุษยวิทยากล่าวถึงมิดะ หมายถึงสาว หรือหมายถึงนางสาวเท่านั้น
3 คนอ่าข่าในปัจจุบันมีหลายประเทศ เช่น จีน พม่า ลาว ไทย เวียตนาม แต่ตำราที่กล่าวถึงมิดะมีเฉพาะในเมืองไทย และผู้เขียนถึงคนแรกก็คือคุณบุญช่วย หากมองมิติระหว่างประเทศ หากคนอ่าข่าเป็นจริงดังที่เขียนถึง แล้วทำไมประเทศเพื่อนบ้านเราถึงไม่เขียนมิดะบ้าง
4. คนอ่าข่าทั่วไปยอมรับว่ามิดะ มีจริง มีดะหมายถึงสาว หรือนางสาว แต่ไม่มีมิดะในเชิงแบบที่คุณบุญช่วยอธิบายไว้ การพิสูจน์จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของอนุชนปฏิเสธการมีอยู่ของมิดะ คนอนุชนและคนอ่าข่ายอมรับว่ามิดะมีจริง แต่ไม่ได้เป็นอย่างในเนื้อหาดังหนังสือและเพลงของคุณจรัญ
5. หากสงสัยประการใดก็ศึกษาเพิ่มเดิมได้จากที่นี้ http://www.hilltribe.org/thai/article/30-essay-thai-lansaokod.php
จากการประมวลความทำให้ทราบว่า มิดะ หรือ หมี่ดะ ในชนเผ่าอาข่า นั้นมีจริง ซื่งแปลว่า สาว หรือ นางสาว แต่ไม่ได้เป็นผู้มีหน้าที่สอนเรื่องกามวิธีให้กับหนุ่มอาข่าที่จะแต่งงานแต่อย่างใด