ยาคูลท์... เรื่องที่หลายคนยังไม่รู้
ปัจจุบัน มีเครื่องดื่มน้ำสีส้มขวดขาวขุ่นออกมาวางแข่งกับยาคูลท์หลายยี่ห้อ ดิฉันก็เคยซื้อกินเหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่ว่ามันถูกดี กินทีอิ่มไปหลายชั่วโมง หลอดก็ใหญ่กว่าดูดได้สะใจ หรือจะยกซดก็ไม่เลว แต่จะว่าไปแม้จะพยายามเลียนแบบอย่างไร (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเจ้าอื่นเขาจงใจเลียนแบบหรือแค่บังเอิญ) ยาคูลท์ก็ยังไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้
มีข้อน่าสังเกตคือ ยาคูลท์ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ขวด เนื่องจากแท้จริงแล้วยาคูลท์นั้นมิใช่ขนม แต่เป็นนมที่ผ่านการหมักบ่มกับน้ำตาลและน้ำ และผสมกับเชื้อแบคทีเรียฝ่ายธรรมะ ที่ชื่อว่า Lactobacillus casei shirota strain ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นั่นเอง ดังนั้นถ้ามีไอ้ เลคโตบาสิลัสมากไป มันอาจจะแย่งที่อยู่ ทีนี้ละก็บ้านที่มันอาศัย หรือก็คือท้องของเราเองก็จะถูกแลคโตบาสิลัสพันธุ์นักการเมืองปู้ยี่ปู้ยำ ผลสุดท้ายเป็นอย่างไรคงไม่ต้องบอก
Lactobacillus casei shirota
ยาคูลท์ทำงานอย่างไร
หากมองลงไปในพุงกะทิของเราเองจะเห็นว่าลำไส้เล็กนั้น จะบีบขย้ำกดขี่ข่มเหงและแปลงอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อรอการดูดซึมแต่ในขณะเดียวกันก็จะมีสารที่เป็นโทษหลุดรอดออกมาด้วย เมื่อร่างกายก่อเกิดความสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ระบบย่อยอาหารของเราก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เฉลี่ยแล้ว แลคโตบาซิลัสมีมูลค่าตัวละ 0.00000000075 บาท
แต่ถ้าสมดุลเสียไป สารพิษและสารอันตราย อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย ดังนั้นไอ้เจ้าแลคโตบาสิลัสก็เลยคิดใหม่ทำใหม่กลายเป็นพระเอกม้าขาว(ออกสี นวลๆส้มๆหน่อย) เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการปรับสมดุลของลำไส้ ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของช่องท้องให้ สม่ำเสมอ ลดสารที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ถูกผลิตโดยแบคทีเรียฝ่ายค้าน(ฝ่ายย่อย สลาย)
จุดเริ่มต้น
หากใครคิดว่ายาคุลท์มีแค่เมืองไทยละก็ผิดถนัด เพราะยาคูลท์มีสัญชาติญี่ปุ่นเต็มตัว นับว่าเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับโกโบริก็น่าจะได้ เพราะเมื่อ 70 กว่าปีก่อนหรือปี คศ.1930 ดร.มิโนรุ ชิโรตะ (คศ.1899-1982) จากคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเกียวโตประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มต้นวิจัยพัฒนายาคูลท์ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุที่ว่าในช่วงเวลานั้น ชาวญี่ปุ่นประสบกับปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากขาดสารอาหาร การสาธารณะสุขและสภาพเศรษกิจ และในระหว่างปี คศ. 1930-1935 ดร.ชิโรตะสามารถจำแนกแยกแบคทีเรียจากลำไส้คนได้ถึง 300 ชนิด
เป้าหมายหลักคือจำแนกแบคทีเรียที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทาง ของมันผ่านช่องท้องและน้ำดีที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไปสู่ลำไส้เล็ก ที่ๆมันสามารถทำงานได้ในระบบย่อย แบคทีเรียแต่ละชนิดถูกทดสอบความทนทานต่อกรดและน้ำดี และแบคทีเรียตัวที่หนังเหนียวที่สุดก็คือ Lactobacillus casei และถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่าShirota strain
ยาคูลท์ถูกผลิตในห้องแลบของดอกเตอร์ชิโรตะและแจกจ่ายสู่ผู้ป่วยและผู้ที่ ต้องการในเกียวโต จนกระทั่งในปี 1935-1955 ยาคูลท์ถูกผลิตเพื่อขายทั่วทั้งญี่ปุ่นโดยผู้จำหน่ายอิสระ
ใน ปี1955 ดร. ชิโรตะ ก่อตั้งบริษัท Yakult Honsha เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และควบคุมผู้จำหน่ายตั้งแต่นั้นมากลุ่มบริษัทยาคูลท์ได้ขยายตลาดสู่สากล กว่า 200 บริษัทใน 17 ประเทศ ในขณะเดียวกัน บริษัทแม่ Yakult Honsha ก็มีส่วนเกี่ยวของกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนนผสมของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ หลายชนิด จนกระทั้งปี 1967 สถาบันวิจัยที่มีชื่อว่า Yakult Central Institute for Microbiological Research ก็ถูกก่อตั้งขึ้นในโตเกียว
ทางบริษัท กล่าวว่าเวลานี้ ทุกๆวัน ยาคูลท์ถูก ดื่ม จิบ ดูด ซด กรอก เท หรือ กระทำการใดๆ โดยกว่า 25 ล้านคนทั่วโลก (ผมว่าอย่างน้อย โดยเฉลี่ยคนละ 2 ขวดต่อวัน) ถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง ยาคูลท์ก็น่าจะมียอดจำหน่ายเกินกว่า 50 ล้านขวดแน่นอน เพราะผมเชื่อว่ายังมีเด็กอีกมากที่ซดยาคูลท์ เหมือนผู้ใหญ่ซดเหล้า โดยเฉพาะประเทศไทย นอกจากเด็กเล็กเด็กโตเด็กโข่ง ก็ยังมีผู้บริโภคที่สามเช่นนางกวัก ศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ต้นไม้ อีกด้วย
นอกจากนั้น ยาคูลท์ก็ยังเป็นธุรกิจขายตรงที่ไม่ใช่ MLM ที่ยืนยงมาถึงทุกวันนี้อีกต่างหาก สมัยเด็กๆมีสาวยาคูลท์ขี่จักรยานมาขายยาคูลท์ที่บ้านทุกวัน เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี เธอก็ยังเป็นสาวยาคูลท์ปั่นจักรยานอยู่เช่นเคย (แต่ไม่รู้ว่าคันที่เท่าไรแล้ว)...
สาวยาคูลท์เค้าฝากบอกมา...
ถ้าท้องผูก เพราะพฤติการการทานอาหาร ช่วงแรก ๆ ที่ทานยาคูลท์ อาจไม่เห็นผล แต่ให้ทานทุกวันต่อเนื่อง เพื่อให้จุลินทรีย์ไปปรับสภาพในลำใส้ จะดีขึ้น แล้วจะเห็นผลในที่สุด...ไม่เชื่อลองดู
สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย หลังการทานอาหารพวกส้มตำ ให้ทานยาคูลท์ตาม 2 ขวด รับรองเห็นผล ถ้าเป็นบิด ก็ให้ทานสัก 5 ขวด และหากลามไปถึง อหิวา ก็ให้ทานมากขึ้นตามลำดับ (จำไม่ได้แล้วว่ากี่ขวด เธอพูดเร็วมาก) แต่ยังไม่หยุดถ่าย หรือ ถ่ายเป็นน้ำเป็นปี๊ปๆ เธอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะยาคูลท์คงช่วยท่านไม่ได้แล้ว...ฮี่ๆ
1 ขวดเก็บได้ 7 วัน ถ้าเกินจากนี้ให้เก็บในตู้เย็นจะอยู่ได้อีก 21 วัน แต่ที่กำหนดให้อายุยาคูลท์สั้น จะได้สั่งกินกันทุกวัน ไม่งั้นคนจะซื้อตุน เค้าก็ขายไม่ได้...อะคริ อะคริ (แต่ก็จริงเค้ามาส่งทุกวัน จะซื้อตุนทำไม ชิมิ)
ถ้า เก็บที่อุณหภูมิ 10 องศา จุลินทรีย์จะหลับ แล้วช่วงที่เราเอาออกมาดื่ม ณ อุณหภูมิห้อง 37-38 องศา มันจะตื่นก็พร้อมจะทำงานให้ร่างกายเราทันที
ถ้าตู้เก็บความเย็นไม่พอ หรือวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จุลินทรีย์อาจมีปริมาณมากกว่าที่ระบุไว้ข้างขวด เพราะมันเติบโตขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ แต่ตัวพ่อตัวแม่จะเริ่มอ่อนแอลง เพราะออกลูกออกหลานจนเหนื่อย ....ฉะนั้นให้รีบๆ กินซะ
แต่ถ้าคุณปล่อยให้ยาคูลท์ตากแดด จุลินทรีย์จะตาย ยังกินได้อยู่นะ แต่ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว ...
ซ้ำ ขออภัยค่ะ
:: มีคนเอามาลงหรือยังก็ไม่รู้ แต่เราชอบ อยากลง::
..........