วิธีแก้อาการเมาค้างแบบง่ายๆ
วิธีการดูแลบรรเทาอาการเมาค้างเบื้องต้น
• เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็นและประคบด้วยผ้าเย็นบริเวณใบหน้าและศีรษะ
• ดื่มน้ำเปล่ามากๆ ทั้งวัน เพื่อให้ความเป็นพิษหมดไปโดยเร็ว
• ดื่มน้ำหวาน เช่น น้ำส้ม (น้ำอัดลม) เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำหวานต่างๆ เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป และช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น
• ดื่มน้ำผลไม้คั้นที่มีรสเปรี้ยวจัด แก้ไขการอาเจียน เช่น น้ำส้ม หรือน้ำมะนาว
• ดื่มน้ำผลไม้สดๆ หรือผลไม้สดแช่เย็นฉ่ำ ช่วยล้างพาและแก้อาการ เพื่อชดเชยวิตามินซี เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด ชดเชยพลังงานที่ร่างกายต้องการ อันจะทำให้ร่างกายสดชื่น (ควรใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้แยกกากยกเว้นบางชนิดที่ควรใช้เครื่องปั่น)
• สูดกลิ่นหอม โดยใช้น้ำมันหอมระเหย
• ดื่มนมอุ่นๆ ทีเดียวให้หมดแก้ว แต่ไม่ควรดื่มมากอาจจะอาเจียนหนักขึ้นได้
• ค่อยจิบเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น น้ำชา ชามะนาว ส่วนกาแฟอย่าดื่ม ขณะเมาค้าง เนื่องมาจากกาแฟมีคาเฟอีน เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น
• อย่าปล่อยให้ท้องว่าง พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมัน หรือมีรสจัดมากเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียนมากขึ้น
• ไม่ควรนอนจมอยู่บนเตียงทั้งวัน ควรจะลุกขึ้นมา สูดอากาศบริสุทธิ์ เพราะออกซิเจนจะช่วยให้เกิดกระบวนการเมตะบอลิซึมมากขึ้น ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงจนรู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า มากขึ้น
• ถ้าไม่ดีขึ้น แน่นอนต้องพึ่งพายาหอมผสมน้ำอุ่น ยาดม หรือยาธาตุ และยาสมุนไพรขมิ้นชัน ซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารมีสภาพเป้นกลาง หรือเป็นปกติมีความสมดุลขึ้น
• ควรนอนหลับ นอนพักผ่อนให้ได้อีกสักระยะหนึ่ง ก่อนไปทำงานประเภทขับรถหรือทำงานเครื่องจักรกล
• หากปวดศีรษะมาก รับประทานยาบรรเทาอาการ คือ แอสไพริน ควรกินยานี้ตอนเช้า ห้ากินก่อนเข้านอน หรือเวลาที่แอลกอฮอล์ยังสะสมอยู่ในร่างกายมาก หรือ หากคลื่นไส้อาเจียนก็ต้องใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนและข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานพาราเซมอล เพราะทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลมีอันตรายต่อตับ
หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตลดลง ห้องร่วงรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และอ่อนเพลีย เมาค้างเป็นนานกว่า 1 วัน ให้รีบไปพบแพทย์
วิธีป้องกันอาการ “เมาค้าง”
ก่อนดื่ม
• ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง เพราะอาหารในกระเพาะ จะช่วยป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม หมูทอด เค้ก ขนมหวาน เนย หรืออื่นๆ จะได้ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ไม่ให้แอลกอฮอล์ซึมผ่านสู่อวัยวะต่างๆ ได้เร็วนักแล้วก็จงตบท้ายด้วยอาหารประเภทโปรตีน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา ไก่ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น
• ไม่ควรรับประทานพาราเซตามอลโดยไม่จำเป็นขณะดื่ม หรือก่อนนอนหลังจากดื่ม เพราะทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลมีอันตรายต่อตับ เมื่อรับประทานพร้อมกันจะอันตรายมากขึ้น
• ปัจจุบันนี้มีเครื่องดื่มป้องกันอาการเมาค้างที่ดื่มก่อนไปดื่มแอลกอฮอล์ด้วยก็พอจะช่วยได้ มักขายตามร้านสะดวกซื้อ
ระหว่างขณะดื่ม
• ควรทานอาหาร/กับแกล้มของขบเคี้ยวสลับกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยชะลอการเมาได้มาก แต่ก็ควรดื่มให้น้อยด้วย
• เลี่ยงอาหารประเภทไขมัน ขณะดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อาเจียนได้ง่าย
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชนิดที่ผสมเข้าด้วยกัน
• เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำตามด้วย เพื่อจะได้จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์เข้าสู่เส้นเลือด และป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
• การป้องกันในระหว่างดื่ม ถ้ามีโอกาสได้ถือเหล้าติดมือไปฝากในวงเหล้า ถือว่าท่านเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในการดื่มได้ ดังนั้นควรเลือกเหล้าชนิดที่มีดีกรีอ่อนหน่อย จะได้ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้ดี แล้วยิ่งถ้าได้ดื่มเหล้าที่แช่เย็นเจี๊ยบแบบที่เพิ่งออกมาจากช่องฟรีซในตู้ เย็นได้ นอกจากจะทำให้ดื่มได้ไม่บาดคอแล้วยังช่วยให้ดื่มได้นานโดยไม่เมาเร็วเกินไป ด้วย
หลังดื่ม
• ก่อนกลับบ้านถ้าเมาต้องไม่ขับรถ ควรจะดื่มน้ำส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยเร่งการเผาผลาญอาหาร หรือจะดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่พวกนักกีฬาดื่มกันก็ไม่เลว
• ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนเข้านอนด้วย เพื่อช่วยให้การขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย และลดการกระตุ้นให้ร่างกายดึงน้ำจากสมองมาใช้มีผลให้สมองเกิดการหดตัว
• ควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่ก่อนเข้านอน เนื่องจากแอลกอฮอล์เข้าไปแทนที่น้ำตาลในตับระดับน้ำตาลในร่างกายจึงลดลง ทำให้คุณเกิดอาการเวียนศีรษะและอ่อนเพลีย
คำแนะนำทั่วไป
• หลีกเลี่ยงการผสมเครื่องดื่มต่างชนิดเข้าด้วยกัน
• หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง อาหารในกระเพาะจะช่วยป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตเร็ว เกินไป การกินอาหารยิ่งมากระหว่างดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งลดผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อระบบ ร่างกาย
• ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
• ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อบรรเทาอาการเมาค้าง เพราะกาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจะยิ่งทำให้การเสียดุลของของเหลวในร่างกายแย่ลง
• อย่าขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เมื่อมีอาการเมาค้าง
• รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการและหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
• เดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องดื่มบรรเทาอาการเมาค้างที่ดื่มหลังจากไปดื่มแอลกอฮอล์มาก ซึ่งก็พอจะช่วยได้มักขายตามร้านสะดวกซื้อ
สูตรลับดับอาการเมาค้าง
• สูตรดื่มน้ำส้มเย็นเชี้ยบที่แช่ค้างคืน โดยผสมกับไข่ดิบเข้าด้วยกัน
• สูตรจิบน้ำมันดอกคำฝอยผสมน้ำมันงา
• สูตรจิบน้ำมันขิง ผสมโซดา น้ำ น้ำมะนาวหรือน้ำส้ม
• สูตรกินปลาทูน่าที่ผสมน้ำมะนาว มะเขือเทศ กระเทียม พริก แตงกวา
• สูตรกินซุปไก่ผสมหอมใหญ่ แครอต แป้งข้าวโพด เกลือ กระเทียม
• สูตรกินน้ำกะหล่ำปลีดอง ผสมน้ำมันมะกอกเข้าด้วยกัน
• สูตรฝานมะนาวเป็นแว่นแล้วนำมาถูรักแร้
• สูตรทิ่มเข็มบนจุกก๊อกตามจำนวนดริ๊งที่ดื่ม(ยิ่งแปลกกว่าดื่ม) แต่ควรระวังอาจจะหยิบเข็มผิดๆ ถูกๆ หรือหยิบเข็มได้ก็อาจจะจิ้มพลาดไปถูกเพื่อนข้างๆ เข้า
• สูตรอบไอน้ำ แต่จะต้องไปตรวจสุขภาพก่อนว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บอะไร มิฉะนั้นแทนที่จะหายเมาค้าง ท่านอาจะจะพับดับชีพได้เหมือนกัน
• สูตรทานแปะก๊วย นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นผู้พบว่าเมล็ดแปะก๊วยมีเอนไซม์ซึ่งจะช่วยให้ร่าง กายขจัด แอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้น การกินเมล็ดแปะก๊วยจึงช่วยรักษาอาการเมาค้างได้ ในญี่ปุ่นมักจะเสิร์ฟเมล็ดแปะก๊วยในเวลามีปาร์ตี้โดยเชื่อกันว่าจะป้องกัน การเมาและเมาค้าง