เนบิวลา มหัศจรรย์ที่น่าค้นหา
สวัสดีครับเพื่อนๆ หวังว่าเพื่อนในบอร์ดทุกคนสบายดีนะครับ ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวแล้ว เคยสังเกตุหรือเปล่าครับ ช่วงฤดูหนาวเราจะเห็นดาวบนท้องฟ้าได้มากกว่าทุกฤดูถ้าเป็นปกติท้องฟ้าก็จะเริ่มโปร่งใสเพราะ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำทำให้ท้องฟ้าโปร่ง ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับดูดาวเป็นอย่างดี สำหรับวันนี้จะนำเสนอเรื่องเนบิวลาวันมันคืออะไร เนื่องจากในบทความก่อนหน้านี้มีเพื่อนได้คอมเม้นท์ไว้ว่าอยากให้นำเรื่องเนบิวลามาฝากหน่อย วันนี้ก็เลยจะแนะนำแบบกว้างๆ ให้เข้าใจง่ายสำหรับทุกคน ก็เหมือนเช่นเคย สำหรับเพื่อนๆ ที่มีความรู้เรื่องนี้ดีก็เข้ามาคอมเม้นท์เพิ่มเติมช่วยกันแบ่งปันความรู้ได้เลยนะครับ
เนบิวลา (NEBULA)หรือกลุ่มหมอกเพลิง คือ กลุ่มก๊าซและฝุ่นที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองรวมกันอยู่หนาแน่นมากเป็นปริมาณมหาศาล อยู่ระหว่างดาวฤกษ์ในระบบกาแล็กซี่ ลักษณะของเนบิวลาจะปรากฏเป็นฝ้ามัวๆ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ต่างๆ และเนบิวลาบางส่วนอาจเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์กลายเป็นซากก๊าซและฝุ่น แต่เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา)
เนบิวลามี 2 ลักษณะ คือ เนบิวลาสว่าง และ เนบิวลามืด
เนบิวลาสว่าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เนบิวลาประเภทสะท้อนแสง เช่น เนบิวลาสว่างใหญ่ในกระจุกดาวลูกไก่ จะสะท้อนแสงสีน้ำเงิน และ เนบิวลาประเภทเรืองแสง โดยวัตถุที่สะท้อนแสงคือ ฝุ่นอวกาศ เช่น เนบิวลา M-42 ในกลุ่มดาวนายพราน เนบิวลาวงแหวน M-52 ในกลุ่มดาวพิณ เนบิวลาปูในกลุ่มดาววัว สำหรับเนบิวลาสว่างใหญ่ที่มีทั้งสะท้อนแสงและเรืองแสง เช่น เนบิวลาสามแฉก M-20 ในกลุ่มดาวคนยิงธนู
เนบิวลาสว่างใหญ่ คือ เนบิวลาประเภทเรืองแสงที่เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และ ฮีเลียม
เนบิวลาสว่างประเภทเรืองแสงที่ใหม่ที่สุด คือ เนบิวลารูปวงกลม เป็นซากของซุปเปอร์โนวา 1987 A อยู่ในกาแล็กซีแม็กเจลแลนใหญ่ ห่างจากโลก 170000 ปีแสง
เนบิวลามืด เป็นก๊าซและฝุ่นท้องฟ้าที่บังและดูดกลืนแสงดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง จึงทำให้มองเห็นเป็นบริเวณดำ เช่นเนบิวลามืดรูปหัวม้าในกลุ่มดาวนายพราน และ เนบิวลารูปถุงถ่านหิน ในกลุ่มดาวกางเขนใต้
เนบิวลานอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์แล้ว ยังพบว่าในช่วงสุดท้ายแห่งการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เปลือกนอกซึ่งเป็นฝุ่นและก๊าซจะถูกดันแตกกระจาย กลับกลายเป็นเนบิวลาอีกครั้งหนึ่ง เช่น เนบิวลาวงแหวน ในกลุ่มดาวพิณ
ตัวอย่างเนบิวลา
เอ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม
อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสงเนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่
เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง
ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา
สำหรับวันนี้ก็คงนำเรื่องของเนบิวลาแบบกว้างๆ ให้พอเข้าใจกันได้ รายละเอียดของเนบิวลายังมีอีกพอสมควรไว้เราค่อยศึกษากันต่อ ว่าไปแล้วโลกเราก็เป็นเพียงเศษซากของเนบิวลาในอดีตนั่นแหละครับ หวังว่าเพื่อนที่อยากอ่านเรื่องนี้คงได้เข้ามาอ่านและทำความเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
ที่มา: th.wikipedia.org, http://www.rayongwit.ac.th