หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

Share แชร์โพสท์โดย ~...No NamE...~

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

 

โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548

 

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ??

คำตอบอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์

 

กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมากว่า 100 ปี มีคำถามมากมายว่าการดื่มกาแฟไม่ดีกับสุขภาพจริงหรือไม่ มีหลายคนพยายามค้นหาคำตอบของเรื่องนี้มานาน โรงพยาบาลบางแห่งที่มีโครงการ HPH ถึงกับมีนโยบายงดดื่มกาแฟในโรงพยาบาลเลยทีเดียว

 

เมื่อพูดถึงผลจากการดื่มกาแฟดูเหมือนเป็นการพูดถึงผลของกาเฟอีนไปโดยปริยาย ทั้งที่กาเฟอีนเป็นอัลคาลอยด์ที่พบในพืชกว่า 60 ชนิด ในเครื่องดื่มประเภทชา ในเครื่องดื่มประเภทโคลา และขนมช็อกโกแลตก็มีกาเฟอีนในปริมาณหนึ่ง

 

งานวิจัยเกี่ยวกับผลของกาเฟอีน มีมากมายในห้วง 20 ปีที่ผ่านมา นับแต่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองในปี พ.ศ. 2501 ว่ากาเฟอีนเป็นอาหารกลุ่มค่อนข้างปลอดภัย แม้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องผลดีผลเสียของสารกาเฟอีนต่อสุขภาพ แต่ โดยรวมมีความเห็นร่วมกันว่าไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ หากดื่มกาแฟไม่เกินระดับปกติ คือ ประมาณ 300 มก/วัน หรือเท่ากับกาแฟถ้วยมาตรฐาน 8 ออนซ์ 3 ถ้วยหรือชาชง 6 ถ้วยต่อวัน ทุกวันนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับกาเฟอีนใหม่ๆ ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลผู้ป่วยรวมทั้งหาความจริงในความเชื่อที่ถกเถียงกัน ผู้เขียนจึงพยายามรวบรวมหลักฐานงานวิจัยที่ค่อนข้างใหม่ และวิเคราะห์วิจารณ์ รวมทั้งสรุปเป็นแนวทางที่ “น่าจะ” เหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น

 

ความรู้ทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับกาเฟอีน

กาเฟอีน หรือ 1,3,7 trimethyI-xanthine มีคุณสมบัติถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วภายใน 45 นาที หลังดื่มและระดับกาเฟอีนในเลือดเริ่มขึ้นตั้งแต่ 15-120 นาทีหลังดื่ม กาเฟอีนถูกขจัดออกจากเลือดโดยขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ระยะเวลาที่ใช้ในการขจัดสำหรับคนหนุ่มสาวประมาณ 2.5-4.5 ชั่วโมง แต่ในคนชราและเด็กเล็กอาจมีนานถึง 80-100 ชั่วโมง เลยทีเดียว ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดกลับทำให้กาเฟอีนในเลือดถูกขจัดเร็วขึ้น นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีของกาเฟอีนมีความจำเพาะต่อเผ่าพันธุ์หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ดังนั้นการศึกษาผลของกาเฟอีนในสัตว์ทดลองจึงนำมาใช้อธิบายผลในมนุษย์ไม่ดีนัก

 

เชื่อว่า ผลของกาเฟอีนต่อร่างกาย ออกฤทธิ์ยับยั้ง adenosine receptor การที่แต่ละคนมีปฏิกิริยาไวต่อกาเฟอีนแตกต่างกันเชื่อว่าเป็นผลจากจำนวนและลักษณะของ adenosine receptor มากกว่าความแตกต่างในเรื่องการดูดซึมหรือกำจัดกาเฟอีนจากกระแสเลือด เชื่อว่าการยับยั้ง A2a receptor ลดการหลั่ง GABA จึงออกฤทธิ์ตรงข้ามกับยาคลายกังวล (anxiolytic drugs) กลุ่ม benzodiazepine หรืออาจช่วยการทำงานของ dopaminergic neuron นอกจากนี้ กลไกการออกฤทธิ์อื่นที่เป็นไปได้คือ การเพิ่มระดับสาร cathecholamine ในกระแสเลือด 

 

กาเฟอีนกับสุขภาพหัวใจ

การเต้นของหัวใจผิดปกติ

กาเฟอีนขนาดไม่เกิน 500 มก./วัน ไม่ได้เพิ่มความถี่หรือความรุนแรงต่อการเกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน ทั้งในคนปกติและในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเคยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะมาก่อน

 

สำหรับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน มีการศึกษาทดลองหลังจากให้อาสาสมัคร 10 คน รับกาเฟอีน 400 มก. ปรากฏว่า ไม่มีความเปลี่ยนแปลงลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ล่าสุดในการศึกษาติดตามในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่กว่า 40,000 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคสารกาเฟอีนกับโอกาสเกิดหัวใจผิดจังหวะในคนทั่วไป

 

แม้จากงานศึกษาวิจัยไม่มีหลักฐานว่ากาเฟอีนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยตรงหลักการที่ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดควรมีการเต้นหัวใจไม่เร็วเกินไปนัก ร่วมกับผลของกาเฟอีนที่อาจจะเพิ่มระดับ homocysteine ที่กำลังสนใจว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งให้เกิดหัวใจขาดเลือด ดังนั้น ในผู้สูงอายุหรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด จึงควรแนะให้ลดการดื่มกาแฟลงถ้าเป็นไปได้

 

กาแฟกับความดันเลือดสูง

นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่เดิม หรือมีแนวโน้มจะความดันเลือดสูง เมื่อดื่มกาแฟเข้าไปแล้วจะมีความดันเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าคนทั่วไป และมีผลลดประสิทธิภาพของยารักษาความดันกลุ่ม beta-blocker

 

การศึกษาล่าสุด โดยการให้อาสาสมัครกินแคปซูลที่มีกาเฟอีน 100 มก./วัน เช่นเดียวกับการดื่มกาแฟในระดับทั่วไปเป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะทดสอบปฏิกิริยาการดื้อยาด้วยการวัดความดัน 18 ชั่วโมงหลังรับประทานกาเฟอีน 250 มก. จากการศึกษาพบว่า มีการเพิ่มของความดัน และเกิดอาการดื้อยาขึ้นทั้งในผู้ที่ไวและไม่ไวต่อกาเฟอีน แต่ในกลุ่มคนที่ไวต่อกาเฟอีนจะมีรับความดันเลือดสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ไวและความดันที่สูงอยู่นานกว่า

 

โดยสรุปการแนะนำผู้ป่วยให้ลดกาแฟไม่ให้เกิน 3 แก้วต่อวัน หรืองดถ้าเป็นไปได้ในผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง จึงน่าจะมีประโยชน์ทั้งในแง่การควบคุมความดันเอง และในแง่ส่วนผสมครีม น้ำตาลในกาแฟที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนด้วย

 

อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยต่างๆ ยังไม่มีหลักฐานว่าการดื่มกาเฟอีนเป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นความดันเลือดสูงในอนาคต และใน JNC7 ซึ่งเป็น แนวปฏิบัติในการป้องกันรักษาความดันเลือดสูงฉบับล่าสุดก็ระบุถึง life-style modification ที่ช่วยลดความดันได้ผลอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การลดน้ำหนัก, การออกกำลังกาย, การลดอาหารเค็ม, การเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม และการดื่มสุราให้ปริมาณพอเหมาะซึ่งไม่ได้กล่าวถึงกาเฟอีนแต่ประการใด

 

กาเฟอีนกับระบบประสาทส่วนกลาง

ดื่มกาแฟแล้วติดจริงหรือไม่

รายงานการวิจัยส่วนมากต่างยอมรับว่ากาเฟอีนกระตุ้นให้ตื่นตัว และลดอารมณ์หงุดหงิดจากการพักผ่อนน้อยได้จริง โดยปริมาณกาเฟอีนในการดื่มแต่ละครั้งไม่ว่าจะมากหรือน้อย ให้ผลไม่ต่างกันมากนัก ขณะการดื่มในคราวเดียวเกิน 150 มก. ทำให้มีอาการใจสั่นและวิตกกังวลได้ในบางคน

 

อาการจากการหยุดดื่มกาแฟ จัดเป็น ภาวะขาดยาได้ โดยพบอาการปวดศีรษะร้อยละ 50 ในขณะที่อาการหงุดหงิดอย่างมากมีประมาณร้อยละ 13 อาการต่างๆ เหล่านี้มักเกิด 12-24 ชั่วโมงหลังหยุดกาแฟ และมีอาการอยู่ประมาณ 2-9 วัน โดยระดับความบ่อย และความรุนแรงของอาการเพิ่มตามปริมาณกาแฟที่ดื่มแต่ละวัน

 

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยนักดื่มว่าเป็นการติดสารกาเฟอีน (cafeine dependence) ดูจะรุนแรงเกินเหตุ เมื่อพิจารณาว่าอาการเหล่านี้มักไม่ถึงทำให้เสียการทำงาน ของร่างกายและสังคม หรือถ้ามีก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ 

 

โดยสรุป แม้กาแฟไม่จัดเป็นสารเสพติดแต่ควรแนะนำให้ผู้ที่ต้องการเลิกกาแฟให้ค่อยๆ ลดปริมาณกาแฟเพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดยาและควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟทีละหลายๆ ถ้วย เนื่องจากไม่ช่วยให้ตื่นตัวดีขึ้นมากนักขณะที่กลับมีผลให้เกิดอาการใจสั่นได้

 

ดื่มกาแฟแล้วทำให้สมองเสื่อมหรือไม่

บางคนกังวลว่าการดื่มกาแฟนานๆ มีผลให้สมองเสื่อมหรือไม่ จากงานวิจัยทางระบาดวิทยากลับพบอุบัติการณ์ของพาร์กินสันลดลงในผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ โดยมีข้อสันนิษฐานถึงกลไกว่า จากการที่กาเฟอีนไปจับกับ adenosine receptor ชนิด A2a ในสมองส่วน striatrum ช่วยป้องกัน excitotoxic และ ischemic injury ของ dopaminergic neuron ต้นเหตุการณ์เสื่อมของสมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและ GABA nergic neuron ต้นเหตุของHuntington’s disease นอกจากนี้ การศึกษาแบบ case-control ในยุโรป ยังพบว่าการดื่มกาเฟอีนเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงเป็นความจำเสื่อมด้วย

 

โดยสรุป จากงานวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟกลับยิ่งช่วยลดการสลายของเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม ผลยังอยู่ในขั้นการทดลองในสัตว์ มีความเป็นไปไดที่อนาคตจะมียาที่ออกฤทธิ์กระตุ้น A2a receptor เพื่อชะลอการเสื่อมของสมอง แต่การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนเพื่อหวังผลนี้คงไม่เหมาะสม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงระดับสารที่ได้ผลดีต่อสมองกับผลข้างเคียงต่อระบบอื่นๆ 

 

กาเฟอีนกับสุขภาพหญิง 

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การศึกษาติดตามหญิงที่ดื่มกาแฟในระหว่างการตั้งครรภ์ 15,000 คน พบว่าการดื่มกาแฟในปริมาณปกติคือ 1-2 แก้วต่อวัน ไม่มีผลต่อทั้งน้ำหนักแรกเกิดและความเฉลียวฉลาด ของเด็กเมื่อเจริญวัยขึ้น สำหรับการดื่มในปริมาณมากเกิน 400 มก./วัน หรือ 4 ถ้วย ต่อวันขึ้นไป การศึกษาแบบ case-control พบว่าหญิงที่แท้งมีประวัติการดื่มกาแฟปริมาณสูงกว่าหญิงที่ไม่แท้ง อย่างไรก็ตามมีประเด็นน่าสนใจว่าญาติที่มีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียนมีความเสี่ยงแท้งน้อยกว่าหญิงที่ไม่มีอาการแพ้ท้อง ซึ่งอธิบายด้วยการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของรกที่ควรเป็น แล้วอาการแพ้ท้องนี่เอง ที่ทำให้ดื่มกาแฟปริมาณน้อยกว่า ดังนั้น การระบุว่ากาเฟอีนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งจึงยังไม่เป็นที่ยุติ มีทั้งที่คิดว่ากาเฟอีนเป็น confounding factor และทั้งที่ยืนยันว่ากาเฟอีนเป็น independent risk factor เนื่องจากยิ่งดื่มปริมาณมากโอกาสแท้งยิ่งสูง

 

ในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เนื่องจากกาแฟสามารถผ่านนมมารดาไปสู่เด็กได้ การที่มารดาดื่มกาแฟเกินวันละ 3 ถ้วย อาจทำให้ทารกที่ดื่มน้ำนมของมารดานั้น นอนหลับได้น้อยและดื่มนมได้น้อยลง

 

โดยสรุป ในหญิงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร จึงควรแนะนำดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 3 ถ้วย และควรเน้นการกินอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์มากกว่า

 

กาแฟกับเนื้องอกและมะเร็งเต้านม

แม้มีข้อสันนิษฐานว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิด fibrocystic breast disease ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งเต้านมได้ ผู้ป่วยมักกลัวอาการเจ็บเต้านมและคลำก้อนได้เป็นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 7 ของก้อนที่คลำเจ็บเป็นเนื้อร้าย มีงานวิจัย ทางระบาดวิทยาทั้งที่สนับสนุน แต่ส่วนมากจะคัดค้าน ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเนื้องอกเต้านมกับการดื่มกาแฟ

 

ส่วนมะเร็งเต้านมนั้น มีการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และจาก แนวปฏิบัติการกินอาหารเพื่อป้องกันมะเร็ง โดยสถาบันวิทยาศาสตร์มะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปว่าไม่มีหลักฐานใดว่า กาเฟอีนเป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่นๆ

 

โดยสรุป ถึงแม้ไม่มีงานวิจัยทางคลินิกใดระบุว่ากาเฟอีนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดก้อนเนื้อในเต้านมแต่งานวิจัยทางห้องปฏิบัติการ พบว่า การลดสารกาเฟอีนช่วยลดความไวต่อการกระตุ้นของเนื้อเยื่อเต้านมต่อ cathecholamine ดังนั้นจึงอาจมีประโยชน์ช่วยลดอาการเจ็บตึงเต้านมได้บ้าง ดังในแนวปฏิบัติต่อสตรีที่คัดตึงเต้านม หนึ่งในการรักษาเบื้องต้นก่อนใช้ยาคือแนะนำผู้ป่วยให้ลดอาหารไขมันสูง และลดการดื่มกาแฟด้วย

 

กาแฟทำให้กระดูกพรุนหรือไม่

ในห้องปี พ.ศ. 2537 มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาสรุปจากการศึกษาซักประวัติย้อนหลังในหญิงวัยหมดประจำเดือน พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟยิ่งดื่มปริมาณมากและนานยิ่งจะมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ไม่พบความแตกต่างนี้ในผู้ที่ดื่มกาแฟแต่ดื่มนมเป็นประจำ

 

อย่างไรก็ตามการศึกษาแบบ cohort study ในระยะหลัง กลับไม่พบว่าการดื่มกาแฟเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนแต่อย่างใด รวมทั้งใน The Framingham Osteoporosis Study ถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการสูญเสียมวลกระดูก ก็ได้สรุปว่าปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง การสูบบุหรี่ การมีน้ำหนักน้อยผอมบาง ในขณะที่กาเฟอีนและการกินแคลเซียมเสริมไม่มีผลต่อมวลกระดูกอย่างมีนัยสำคัญ การที่ผลสรุปงานวิจัยยังไม่แน่ชัดว่ากาเฟอีนทำให้กระดูกพรุนหรือไม่เช่นนี้ อาจเนื่องจากกลไกที่กาเฟอีนอาจมีผลต่อมวลกระดูกคือ ทำให้มีการขับแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น การจะเกิดภาวะกระดูกพรุนหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับทั้งปริมาณกาเฟอีนที่ได้รับต่อวัน รวมทั้งประสิทธิภาพการดูดซึมจากอาหาร ซึ่งขึ้นกับปัจจัยทางอายุ และพันธุกรรมด้วย ดังในงานวิจัยหนึ่งได้ผลว่า มวลกระดูกลดลงรวดเร็วในผู้ที่ดื่มกาแฟเกิน 300 มก. หรือกาแฟ 1-2 ถ้วยต่อวัน ร่วมกับมี vitamin D receptor genotype ที่แตกต่างจากอีกกลุ่ม

 

โดยสรุป การแนะนำให้งดดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 1-2 ถ้วย ในหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือมีประวัติโรคกระดูกพรุน น่าจะเป็นประโยชน์ เนื่องจากวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทยส่วนมากไม่สามารถดื่มนมได้วันละแก้ว.

 

*******************************************

 

ที่มาของข้อมูล: โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
~...No NamE...~'s profile


โพสท์โดย: ~...No NamE...~
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สารก่อมะเร็ง 4 อย่าง ที่ลูกคุณอาจจะได้รับทุกวันลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!สาวสั่งอาหารผ่านแอพฯ แต่ไรเดอร์แชทบอกเธอให้เปลี่ยนร้าน เพราะร้านนี้สกปรกมาก 😌มหาวิทยาลัย ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มากที่สุดในประเทศ!CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทจดไว้เลย!! 2ตัวล่าง 78ให้มาตรงๆ 1 เมษายน 2567เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีโรคฮิตสาวโรงงานรพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้าประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีมูลค่าการส่งออกทองคำมากที่สุด
ตั้งกระทู้ใหม่