หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

น้ำแข็งในระบบสุริยะ: แหล่งที่มาของน้ำบนพื้นผิวโลก

โพสท์โดย mata

ภาพตัดขวางของลูกอุกาบาต
เครดิต: Image courtesy of Carnegie Institution

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบน้ำแข็งบนดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งเป็นครั้งที่สอง ซึ่งบอกว่าน้ำแข็งเป็นสิ่งที่พบเป็นปกติบนหินอวกาศในระบบสุริยะของเรา มากกว่าที่เคยคิดกัน
นักวิทยาศาตร์ต่างมีความเชื่อกันมานานแล้วว่าดาวหาง และ /หรือ ชนิดของอุกาบาตในยุคดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า carbonaceous chondrite นั้นเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่ระเหยได้ในโลกยุคต้น  ซึ่งรวมไปถึงธาตุไฮโดรเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน และมีความเป็นไปได้ที่มันจะเป็นแหล่งของสารอินทรีย์อีกด้วย  ความเข้าใจถึงแหล่งที่มาของแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการค้นหาความจริงว่า  อะไรคือแหล่งกำเนิดของน้ำและสิ่งชีวิตต่างๆ บนพื้นโลกของเรา  Carnegie’s Conel Alexander จึงได้เริ่ม ทำงานวิจัยโดยมุ่งเน้นไปที่น้ำแช่แข็งซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงต้น ของระบบสุริยะ แต่มันก็อาจไม่ใช่วัสดุที่รวมตัวกันเพื่อการก่อตัวของโลกใบนี้ขึ้น

 
หลักฐานพิสูจน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำแข็งเหล่านี้ ได้ถูกเก็บไว้ในวัตถุที่สามารถอุ้มน้ำได้อย่างดาวหางและ carbonaceous chondrite  การค้นพบของทีมนักวิจัยทำให้เกิดการโต้เถียงกันเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างดาวหางและ carbonaceous chondrite และมีความเป็นไปได้ว่า อุกาบาตที่เกิดจากดาวเคราะห์น้อยต่างๆ นั้นจะเป็นแหล่งที่มาของน้ำบนพื้นผิวโลก  งานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่อยู่ในนิตยสาร Science Express เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555

ภาพจำลองดาวเคราะห์น้อยทีี่อยู่ในระบบสุริยะ
บางทีอาจก่อตัวขึ้นที่ขอบของระบบสุริยะของเรา  จากนั้นพวกมันจึงเคลื่อนที่เข้ามาภายในระบบสุริยะ  และในที่สุดพวกมันก็นำเอาสสารที่ระเหยได้และสารอินทรีย์ต่างๆ จำนวนมากมายังโลก  ซึ่งสมมติฐานนี้จะถูกต้องก็ต่อเมื่อน้ำแข็งที่พบในดาวหางและเศษ น้ำแข็งที่ถูกเก็บรักษาไว้ใน carbonaceous chondrite ในรูปของ hydrated siligates (ซิลิเกทที่อมน้ำสูง) เช่น ดินเหนียวควรมีองค์ประกอบของไอโซโทปที่คล้ายคลึงกัน 
แต่การตรวจวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำในดาวหางมีองค์ประกอบต่างกับน้ำที่อยุ่บนโลก
 
ผลสรุปใหม่ได้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกรณีที่ดาวเคราะห์น้อยเป็นตัวนำน้ำมาให้กับโลกในช่วงแรก ในช่วงแรกๆ ของระบบสุริยะดาวเคราะห์น้อยน่าจะชนโลกถี่กว่าที่เป็นในปัจจุบัน ถ้าดาวเคราะห์น้อยหลายๆ ดวงแค่มีน้ำแข็งเพียงเล็กน้อยนี้ โลกก็น่าจะได้รับน้ำอย่างล้นหลาม 

จากผลการทดลองทีมนักวิจัยได้แนะนำว่าการก่อตัวของ carbonaceous chondrite เกิดขึ้นในแถบดาวเคราะห์น้อย (asteroid belt) ที่โคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัส  พวกเขาได้เสนอว่าธาตุที่ระเหยได้บนพื้นผิวโลกส่วนใหญ่มาจากอุกาบาตชนิดต่างๆ แต่ไม่ได้มาจากดาวหาง
 
การค้นพบน่าจะส่งผลให้เกิดโครงการสำรวจอวกาศงานใหม่ของนาซ่า ซึ่งตั้งเป้าที่จะส่งนักบินอวกาศเพื่อไปเยี่ยมเยือนดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกในปี 2025 งานวิจัยจะเผยแพร่ในวารสาร Astronomy and Astrophysics 

ขอบคุณข้อมูลจาก  ostc.thaiembdc.org and space.com : water ice common on asteroids, discovery suggests

เรียบเรียงโดย  พรชัย  สังเวียนวงศ์ (mata)
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
104 VOTES (4/5 จาก 26 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่มเครียด! แฟนไปทำศัลยกรรม แล้วหน้าตลกจนไม่มีอารมณ์..ด้วย?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สำนักงานพุทธฯ สั่งตรวจสอบ พ่อแม่ "น้องไนซ์" เชื่อมจิตเอาอีกแล้ว! เขมรก็อปปี้หนังไทย เรื่องเด็กหญิงวัลลี ยอดกตัญญู?
ตั้งกระทู้ใหม่